ช็อค

ช็อค ( Shock )
ช็อค เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระบบหัวใจ และความหมุนเวียนของโลหิต ตั้งต้นจากหลอดโลหิต ซึ่งมีธรรมชาติยืดได้ ย่นได้ เหนียว และมีอาการรัดตัวอยู่เสมอ ถ้าหลอดโลหิตคลายตัว หลอดโลหิตก็กว้างออก โลหิตก็ไหลช้า เมื่อโลหิตไหลช้า หัวใจก็เต้นเร็วขึ้น เพื่อให้โลหิตไหลเป็นปกติ ในเวลานั้นเอง อาการช็อคก็เกิดขึ้นทันที
อาการช็อค เป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายได้รับอันตรายบาดเจ็บอย่างร้ายแรง และในกรณีเช่นนี้ถ้าไม่มีการแก้ไขโดยวิธีที่ถูกต้อง คนไข้ก็อาจถึงแก่ความตายได้ ถึงแม้บาดเจ็บที่ร่างกายได้รับนั้น มิใช่สิ่งที่จะทำให้คนไข้ตายได้
ช็อคเกิดขึ้นได้เพราะเหตุหลายประการ
- ช็อคเพราะได้รับอันตราย Traumatic Shock มีสองอย่างคือ
ช็อคเพราะตกเลือด Hemorrhagic Shock
ช็อคเพราะไฟลวก น้ำร้อนลวก Burn Shock
- ช็อคเพราะไฟฟ้า Electric Shock
- ช็อคเพราะแพ้ยาฉีด Anaphylactic Shock
อาการ
ช็อคที่เกิดขึ้นเพราะได้รับอันตรายนั้น มีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ตาค้าง
- ตาไม่มีแววอย่างตาธรรมดา
- หน้าซีด
- ถ้าได้รับอันตรายร้ายแรงมาก หน้าเขียวก็มี
- ผิวหนังเย็นทั่วไป
- เหงื่อออกมาก
- อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าธรรมดา
- ถ้าคนไข้มีความรู้สึกตัวเป็นปกติ จะบอกว่าเวียนศรีษะ หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม
วิธีการรักษาพยาบาล
เมื่อท่านแน่ใจว่าคนผู้นั้นช็อคแน่แล้วประการที่ท่านควรกระทำ ก็คือ จะต้องให้คนผู้นั้นนอนในท่าซึ่งเท้าสูงกว่าศรีษะประมาณหนึ่งฟุต ถ้าคนผู้นั้นอยู่บนพื้น ก็ต้องหาอะไรมารองให้เท้าสูงกว่าศรีษะ หรือถ้าคนผู้นั้นนอนอยู่บนเตียง ก็ควรอะไรมารองขาปลายเตียงให้ปลายเตียงสูงกว่าหัวเตียง คนช็อคถ้ามิได้สิ้นสติ ก็ควรให้น้ำดื่ม ถ้าคนไข้ไม่ค่อยยอมดื่มน้ำ ก็ต้องพูดให้ดื่มให้ได้ น้ำส้มดีกว่าน้ำอย่างอื่น น้ำอัดลมต่าง ๆ ให้คนไข้ดื่มดีสำหรับคนช็อค เพราะน้ำอัดลมมีโซเดียม ถ้าไม่มีน้ำอัดลม ก็ให้ดื่มน้ำเกลือ ( น้ำหนึ่งแก้วผสมกับเกลือหนึ่งช้อนชา )

ช็อคเพราะไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปในร่างกาย ถ้าเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังมาก ๆ ก็ทำให้ช็อคได้
กระแสไฟฟ้าทำให้ :-
- ศูนย์กลางของการหายใจในสมองกลายเป็นอัมพาต
- การสูบฉีดโลหิตเป็นไปอย่างไร้ผล
- หัวใจหยุดเต้น
อาการ
คนไข้ช็อคเพราะไฟฟ้า มีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ :-
- สิ้นสติ
- ชีพจรอ่อน
- ตรงบริเวณที่กระแสไฟฟ้าเข้าร่างกาย และตรงบริเวณที่กระแสไฟฟ้าออกจากร่างกายมีรอยไหม้ แต่บางทีก็ไม่ได้เป็นรอยเช่นนั้น
วิธีช่วยคนถูกกระแสไฟฟ้า
- ช่วยคนผู้นั้นให้หลุดพ้นจากกระแสไฟฟ้าโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้
- ผู้ที่ช่วยอย่าสัมผัสคนช็อค ถ้าสัมผัสคนช็อคผู้ที่ช่วยจะต้องช็อคอีกคนหนึ่ง
- ก่อนอื่นผู้ช่วยต้องปิดสวิทซ์ไฟฟ้า
- ถ้าปิดสวิทซ์ไฟฟ้าไม่ได้ เพราะเหตุใดก็ตามผู้ช่วยต้อง :-
สวมรองเท้าพื้นยางแห้ง หรือยืนบนกระดานแห้ง เมื่อยืนอยู่บรสิ่งที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเช่นนั้นแล้วก็ใช้สิ่งที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้ารองมือ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ซ้อนกันจนหนา หรือผ้าแห้ง ใช้มือข้างที่มีของรองแล้วนั้น จับคนช็อคลากไปให้พ้นไฟฟ้า

ว. อายุรเวชวิวัฒน์ แพทย์ประจำบ้าน. สำนักพิมพ์แพร่วิทยา. กรุงเทพฯ, 2519



โดย : นางสาว ราตรี อิ่งมั่น, ripw.klongluang pathumthanee 13180, วันที่ 20 เมษายน 2545