โรคพิษตะกั่ว

โรคพิษตะกั่ว

สารตะกั่วที่ปนอยู่ในผิวเคลือบภาชนะนั้น สามารถที่จะละลายออกมาด้วยสารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ การกะเทาะของสี หรือผิวภาชนะเคลือบดินเผาหลุกปะปนมากับอาหาร เมื่อเรากินอาหารนั้นเข้าไป น้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดจะละลายสารตะกั่วออกมาและดูดซึมเข้าสู่
ร่างกายพร้อมสารอาหาร
สารตะกั่วสามารถจะละลายด้วยกรดน้ำส้ม ฉะนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังไม่นำภาชนะเคลือบดินเผามาใส่อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
พิษของตะกั่วที่มีต่อร่างกาย
เมื่อได้รับสารตะกั่ว และสะสมจนมีปริมาณมากพอที่จะแสดงอาการออกมาทางร่างกาย อาการที่มักจะพบบ่อย ๆ คือ พิษจากตะกั่วจะไปทำลายระบบเลือด ทำให้เกิดอาการซีด เลือกจาง อาจทำลายปลายประสาท ทำให้ปลายมือปลายเท้าอ่อนแรงเป็นอัมพาต เดินขาปัด
อาการที่ร้ายแรงก็คือ พิษตะกั่วทำลายสมอง (ซึ่งมักเกิดกับเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่) ทำให้เกิดอาการเดินเซ อาเจียน ซีม เพ้อ ถ้ารุนแรงก็จะทำให้ชัก หมดสติ และอาจถึงตายได้ ถ้าไม่ตายก็ทำให้สมองพิการ ปัญญาอ่อน
ในรายที่ได้รับสารตะกั่วเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หวุดหวิด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ขาเป็นตะคริว
วิธีการป้องกัน
1. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะเคลือบที่มีสีสันลวดลายฉูดฉาด หรือสีเข้ม ๆ
2. ไม่ควรใช้ภาชนะเคลือบบรรจุอาหารหมักดอง น้ำส้มสายชู อาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็น
กรด
3. ไม่ควรใช้ภาชนะเคลื่อบบรรจุอาหารทิ้งค้างไว้เป็นระยะเวลาหลายวัน เพราะอาจเกิดปฎิกิริยา
เคมี ทำให้ตะกั่วถูกละลายออกมาปนกับอาหารได้

จักรพันธุ์ ปัญจะสุวรรณ. พิษภัยในอาหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2542



โดย : นาง chalinee klumkloumjit, ripw klongluang ni 13180, วันที่ 22 เมษายน 2545