Bench Mark ดรรชนีชี้วัดประส

Bench Mark ดรรชนีชี้วัดประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์
หากจะกล่าวถึงคำว่า Bench Mark ในความเข้าใจโดยทั่วไป ความหมายคือ เครื่องมือสำหรับชี้วัด หรือดรรชนีชี้วัดประสิทธิภาพการทำงาน หรือระบบการทำงานที่ได้ผลลัพธ์ โดยให้ผลการวัดออกมาเป็นค่าเชิง
ปริมาณได้หรือรับรู้ได้ในเชิงรูปธรรม
การวัดประสิทธิภาพเชิงระบบ เป็นการวัดประสิทธิภาพการทำงานเชิงสังเคราะห์ของระบบ โดยผลที่ได้จากการทอสอบจะเป็นการวัดประสิทธิภาพในส่วนของการทำงานของโพรเซสเซอร์ เช่น การทำงานระบบประมวลผล เชิงเลขจำนวนเต็ม การทำงานระบบเชิงทศนิยม การทำงานของระบบอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น การทดสอบระบบแสดงผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ระบบเสียง
การวัดประสิทธิภาพเชิงโปรแกรม เป็นการวัดประสิทธิภาพในการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้กันอย่างแพรหลาย เช่น โปรแกรมชุดออฟฟิศ โปรแกรมชุดอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ ..โปรแกรมชุดกราฟฟิกโดยจำลองสภาพแวดล้อมการทำงานในการทดสอบ.


มาตรฐาน Bench Mark
ในปัจจุบันเน้นโปรแกรมสำหรับทดสอบประสิทธิภาพ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ใน 2 ฟังก์ชัน แต่ละโปรแกรมมีพื้นฐานที่มาจากการทดสอบบนระบบ Unix ต่างค่ายในท้องตลาด ปัจจุบันมีมากมายหลายค่ายผู้ผลิต และมาจากหลายกลุ่มทำงาน
โดยแนวคิดของโปรแกรมประเภทสำหรับทดสอบประสิทธิภาพ สำหรับ PC ได้มีแนวทางมาจากแนวความคิดในการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบงานใหญ่ๆ ไปจนถึงซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ การทดสอบทำได้โดยการนำเอาข้อมูลทดสอบ เช่นหากต้องการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบทศนิยมของโพรเซสเซอร์ข้อมูลทุกอย่างก็จะเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีการคำนวณทศนิยม ผลที่ได้จากการทดสอบมีความน่าเชื่อถือได้เพียงใด เนื่องจากการทดสอบนั้นแต่ละครั้งจะมีค่าแปรร่วม การทดสอบโดยใช้โปรแกรม Bench Mark กับเครื่องทดสอบเครื่องเดียวกัน ครั้งแรกทดสอบโดยไม่มีการปรับแต่งระบบ และครั้งที่สองทดสอบโดยการแต่งระบบเพียงเล็กน้อย การเปรียบเทียบผลได้จากการทดสอบที่ถูกต้องและสื่อถึง
ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบในประเด็นที่ทำการทดสอบคือการงาน Bench Mark ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะการทดสอบเท่านั้น
สรุป
Bench Mark ที่ใช้สำหรับทดสอบระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน เป็นผลสะท้อนที่ได้รับจาการตอบสนองของระบบโดยตรงผลที่ได้จากการทดสอบอาจไม่สามารถอธิบายได้ ดังนั้นความเข้าในพฤติกรรม ของโปรแกรมระบบพื้นฐานทางฮาดร์แวร์ที่ทำการทดสอบจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และพิจารณาผลที่ได้จากการทดสอบ จนเกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน

บรรณานุกรม NECTEC ปีที่ 8 ฉบับที่ 41 กรกฎาคม – สิงหาคม 2544 ISSN 0858-2556




โดย : อื่นๆ บุญธรรม ตันทา, กรมแพทย์ทหารอากาศ, วันที่ 28 เมษายน 2545