การใช้และบำรุงรักษาโทรทัศน์

การใช้และบำรุงรักษาโทรทัศน์
1.อย่าตั้งเครื่องให้หลอดภาพโดนแดดหรือแสงสว่างถูกโดยตรง
2.เครื่องรับโทรทัศน์จะมีช่องระบายอากาศอยู่ทางด้านหลัง ด้านข้างและด้านล่าง จึงไม่ควรให้สิ่งใดไปอุดตันช่องระบายเหล่านี้
3.อย่างตั้งในที่ที่มีฝุ่นมาก เพราะฝุ่นจะเกาะติดบนหน้าจอภาพ ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ควรทำความสะอาดหน้าจอภาพเป็นครั้งคราวด้วยผ้าชุบน้ำหมาด ๆ
4.อย่าตั้งไว้ใกล้กับตัวแผ่ความร้อน หรือแหล่งกำเนิดความร้อนใด ๆ เพราะหากเครื่องโดนความร้อนจัดจะทำให้เครื่องรับทำงานผิดปกติไป
5.โดยปกติอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าจะต้องติดตั้งห่างจากบริเวณชื้นแฉะ ฉะนั้นเครื่องรับโทรทัศน์ก็ไม่มีการยกเว้น และควรจะระลึกไว้เสมอด้วยว่าภายในเครื่องรับโทรทัศน์นี้เป็นตัวกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงด้วย
6.ห้ามนำเอาวัตถุใด ๆ สอดใส่เข้าไปในภายในเครื่องทางช่องระบายอากาศ เช่น ตัวตุ๊กตา เศษกระดาษ ดินสอ หากเป็นไปได้ควรตั้งให้สูงพอที่เด็กจะเล่นไม่ถึง
7.ห้ามถอดแก้ฝาหลังของเครื่องออกเป็นอันขาด เพราะการถอดแก้ฝาหลังออกเป็นช่องเปิดให้เห็นชิ้นส่วนภายในของเครื่อง และถ้าผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปจับถูกต้องเข้าก็จะถูกไฟฟ้าดูดหรือไหม้ได้
8.อย่าปล่อยให้เครื่องรับโทรทัศน์ของท่านไปกระทบกับวัตถุใด ๆ เป็นอันขาด โดยเฉพาะผิวหน้าหลอดจอ ควรต้องระวังเป็นกรณีพิเศษ
9.ในขณะที่ฟ้าแลบ หรือระหว่างฝนฟ้าคะนอง ถ้าจะให้ปลอดภัยควรจะต้องดึงปลั๊กไฟของเครื่องออกจากปลั๊กไฟบ้านและควรปลดสายอากาศออกด้วย เพื่อป้องกันเครื่องจะเสีย
10.ถ้าหากเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเสียงหรือมีกลิ่นผิดปกติในขณะที่เปิดดูอยู่ก็ให้รีบปิดเครื่องพร้อมกับดึงปลั๊กออกก่อนที่ท่านจะแจ้งช่างบริการ หรือผู้แทนจำหน่ายให้ท่านมาแก้ไข
11.ในกรณีที่เครื่องรับไม่ทำงาน ถ้าหากว่าท่านได้พยายามทำทุกอย่างตาม “แนวทางตรวจเช็คเครื่องรับโทรทัศน์ด้วยตนเอง” ที่ได้บอกไว้ในคู่มือนี้แล้วยังไม่สามารถช่วยให้เครื่องรับใช้งานได้ก็ให้ปิดเครื่องรับ และโทรติดต่อผู้จำหน่วยให้ท่าน หรือช่างบริการทันที
12.การทำความสะอาด ห้ามใช้เบนซิน ทินเนอร์ หรือสารละลายเคมีภัณฑ์ใดมาเช็ดตู้เครื่องรับเป็นอันขาด ควรใช้ผ้านิ่มเช็ดก็เพียงพอ และควรจำไว้ด้วยว่า อย่าวางวัตถุที่เป็นยางหรือพลาสติกไว้บนตู้รับเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้มีรอยคราบรูปวัตถุนั้น ๆ ติดอยู่บนตู้รับ
13.ไฟฟ้าสถิตบนหน้าจอภาพ เมื่อท่านเอามือไปสัมผัสหน้าหลอดจะรู้สึกเหมือนว่ามีไฟฟ้าตกค้างอยู่ นี้เป็นสาเหตุเนื่องจากไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นที่หน้าหลอดจอ แต่ไฟฟ้าสถิตนี้ไม่ทำอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ มันเหมือนกับไฟฟ้าสถิตที่ท่านมีความรู้สึกในบางขณะที่ท่านถอดเสื้อ
14.ในวันที่ไปพักผ่อนนอกบ้าน เมื่อท่านไม่ได้ใช้เครื่องรับของท่านเป็นเวลานาน ในขณะที่ท่านออกไปพักผ่อนนอกบ้านหลายวันก็ควรถอดปลั๊กของเครื่องรับออกจากปลั๊กไฟบ้าน


แนวทางตรวจเช็คเครื่องรับโทรทัศน์ด้วยตนเอง
ถ้าหากว่าเครื่องรับโทรทัศน์ของท่านไม่สามารถใช้งานได้ ขอให้ตรวจเช็คตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ก่อนจะเรียกช่างบริการมาตรวจซ่อม

1.ไม่มีภาพไม่มีเสีย ให้ตรวจสอบดูว่า ได้เสียบปลั๊กไฟ และเปิดสวิทช์ของเครื่องรับหรือยัง
2.มีเสียงแต่ไม่มีภาพ ให้กดปุ่มเลือกช่องอย่างระมัดระวัง พร้อมกับตรวจดูว่า ความสว่างความเข้ม ปรับไว้ถูกต้องหรือไม่
3.การใช้เครื่องเล่นวีดีโอเทป เมื่อปรากฏสัญญาณ TEST ของสัญญาณ วีดีโอ เส้นของสัญญาณ TEST บิดงอบริเวณตอนล่าง นั่นไม่ใช่การเสียของเครื่องรับ และอาการนี้จะไม่มีผลเสียต่อการดูภาพจากเครื่องเล่นวีดีโอแต่อย่างใด
4.ภาพเป็นเงา (ภาพซ้อน) ให้เปลี่ยนทิศทาง หรือระดับความสูงหรือตำแหน่งของเสาอากาศ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดจากสัญญาณทางภาคเครื่องส่งกระทบกับตัวตึกอาคารหรือภูเขา แล้วสะท้อนกลับมาเข้าเครื่องรับอีกระลอกหนึ่ง การปรับทิศทางระดับความสูงของเสาอากาศก็อาจจะช่วยให้การรับภาพให้ดีขึ้นได้บ้าง
5.ภาพเป็นหิมะ จะเห็นมีจุดเล็ก ๆ ปรากฏลายไปทั่วบนภาพ เมื่อมีอาการเช่นนี้ให้ตรวจดูการต่อสายของสายอากาศ หรือทิศทางของเสาอากาศ
6.มีเสียงหึ่ง แต่ไม่มีภาพ ให้กดปุ่มเลือกช่อง และให้ตรวจดูสายอากาศว่าต่อเข้ากับเครื่องหรือเปล่า
7.ภาพไม่มีสีทั้ง ๆ ที่รับสัญญาณสีอยู่ ให้หมุนปุ่มปรับความชัดเจนของภาพเล็กน้อย และปรับปุ่มปรับความเข้มของสี
8.มีสัญญาณรบกวน หรือแทรกปรากฏบนจอภาพ การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ จะทำให้เกิดจุดขาว ๆ หรือเส้นทางด้านแนวนอนบนจอภาพ
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรบกวนของเครื่องยนต์ ไฟนีออน สว่านไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน ทางแก้ควรติดตั้งเสาอากาศให้ห่างจากแหล่งกำเนิดสิ่ง รบกวนเหล่านี้
9.การรบกวนของเครื่องวิทยุ ผลของการรบกวนนี้จะทำให้เกิดมีการไหลเป็นระลอก ๆ ของเส้นหรือแถบเส้นทะแยงมุมสาเหตุนี้มิใช่เกิดจากการผิดปกติของเครื่องรับ แต่เกิดจากการรบกวนของสัญญาณภายนอก หรือเครื่องจักรที่ใช้ความถี่ของวิทยุรบกวน


การติดตั้งเสาอากาศ
การติดตั้งเสาอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการจะช่วยให้การรับภาพสีและเสียงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากเครื่องรับอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณอ่อน ควรใช้เสาอากาศนอกที่มีคุณภาพและติดตั้งเสาอากาศอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งท่านสามารถปรึกษาได้จากร้านค้าตัวแทนจำหน่าย โทรทัศน์ใกล้บ้านท่าน ในการใช้เสาอากาศภายนอก ท่านสามารถเลือกใช้สายอากาศชนิดแบน (300 โอห์ม) โดยผ่านอะแดปเตอร์เป็น 75 โอห์ม หรือใช้สายอากาศชนิดสายกลม ( 75 โอห์ม ) ก็ได้ ช่องเสียบสายอากาศจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่อง

ข้อควรรู้สำหรับการติดตั้งเสาอากาศ

1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้ห่างจากถนนและห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อหลีกเลี่ยงจากการรบกวนสัญญาณ และเพื่อเป็นการป้องกันไฟฟ้าช้อตในกรณีที่เสาอากาศล้มไปโดนสายไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้เครื่องรับโทรทัศน์เสียหายได้
2.ควรติดตั้งเสาอากาศภายนอกอย่างถาวรไม่ควรขยับหรือต่อเสาอากาศโดยไม่จำเป็น และจัดเสาอากาศให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการแกว่างของสายอากาศ
3.ตรวจเช็คและเปลี่ยนเสาอากาศเมื่อพบว่าเสาอากาศหมดอายุ เนื่องจากการตากแดดตากลมและฝนของสายอากาศเป็นเวลานาน ระยะการใช้งานของเสาอากาศจะสั้นลงถ้าเสาอากาศอยู่ในบริเวณที่มีควัน หรือบริเวณชายทะเล จุดนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้การรับภาพมีความคมชัดอยู่ตลอดเวลา


ที่มา. คู่มือการใช้โทรทัศน์ RTA



โดย : นาย สิทธิพล ชลธี, เดชอุดม, วันที่ 30 มิถุนายน 2545