ใยอาหารอันทรงคุณค่า

บทนำ

คำจำกัดความของใยอาหารแต่ก่อน คือส่วนที่เหลือของเซลล์พืช หลังจากการย่อยโดยเอ็นไซม์ของระบบทางเดินอาหารในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นคำจำกัดความทางสรีรวิทยาพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของกระบวนการย่อยภายในทางเดินอาหาร ซึ่งจะรวมทั้งผนังเซลล์พืช เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส เพคทิน ลิกนิน รวมทั้ง กัม และมิวซิเลจ ส่วนคำจำกัดความทางเคมี อธิบายได้ว่า ใยอาหารเป็น plant non starch polusaccharides และลิกนิน แหล่งของใยอาหาร

ใยอาหารแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ใยอาหารที่ละลายน้ำ และใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ

1. ใยอาหารที่ละลายน้ำ พบใน ถั่วบางชนิด ผลไม้ และธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ใยอาหารชนิดนี้ ถึงแม้จะละลายน้ำได้โดยอยู่ในรูปเจล แต่จะไม่ถูกยอ่ยโดยเอ็นไซม์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์กระเพาะเดี่ยว ได้แก่

      ก. กัม เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลของน้ำตาลจำนวนมาก และในหมู่โมเลกุลน้ำตาล บางหมู่มีกลุ่มกรดยูโรนิค ไม่มีโครงสร้างทางเคมีที่แน่นอนสำหรับกัม และกัมบางชนิดก็ไม่ละลายน้ำ

      ข. เพคทิน เป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลของน้ำตาลจำนวนมาก และในหมู่โมเลกุลของน้ำตาลจำนวนมาก และในหมู่โมเลกุลของน้ำตาล บางหมู่ที่มีกลุ่มเมทิล และกลุ่มกรดยูโรนิค เพคทินบางชริดไม่ละลายน้ำ ถ้ากลุ่มไฮดรอกซิลในกรดถูกอทนที่ด้วยกลุ่มเมทิล สารประกอบเพคทินนั้นก็จะละลายได้ในสารละลายด่าง เพคทินพบมากในผนังเซลล์พืช ทำหน้าที่ยึดเซลล์ให้เชื่อมติดต่อกัน

      ค. มิวซิเลจ ถูกหลั่งใน endosperm ของเซลล์พืช เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการเกิด dehydration มากเกินไป

2. ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่

      ก. เซลลูโลส เป็นสว่นประกอบสำคัญของผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคสเป็นจำนวน 1,000 โมเลกุล คล้ายกับแป้ง (starch) แต่ไม่ถูกยอ่ยโดยเอ็นไซม์ ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์กระเพาะเดี่ยว

      ข. เฮมิเซลลูโลส เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลเชิงเดี่ยว (monosaccharide) ชนิดต่างๆ ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปเป็นจำนวน 100 โมเลกุลที่มีคุณสมบัติในการละลายเหมือนกันคือ ละลายได้ในสารละลายด่าง น้ำตาลเชิงเดี่ยวนี้แบางได้เป็น 2 ชนิดคือ เพนโทแซนส์ (pentosans) และ เฮกโซแชนส์ที่ไม่ใช่เซลลูโลส (non cellulose hexosans) น้ำตาลเชิงเดี่ยวที่พบมากในเฮมิเซลลูโลสคือ ดี-ไซแลนส์ (D-xylans)และ ดี-กลูโค-ดีแมนแนนส์ (D-gluco-D-mannans) และมีไซด์เซนส์เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยวชนิดอื่นๆ เช่น แอล-อะราบิโนส์ (L-arabinoses)

      ค. ลิกนิน เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของแอลกอฮอล์ที่พืชผลิตเมื่อแก่ขึ้น ทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชมีโครงสร้างที่แข็งแรง เช่น เปลือกนอกของธัญพืช ซึ่งถูกทำลายในกระบวนการขัดสี
ส่วนประกอบของใยอาหารในอาหาร จะขึ้นอยู่กับ อายุ พันธุ์พืช และส่วนต่างๆ ของพืช

คุณสมบัติของใยอาหารต่อร่างกาย

ใยอาหารมีผลต่อระบบสรีรวิทยาของร่างกายหลายด้าน เช่น ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดมีผลต่อระดับน้ำตาล ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง ปรับปรุงหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ และลดระดับการนำไปใช้ประโยชน์ของสารอาหาร ดังกล่าวรายละเอียดต่อไปนี้

1. ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

มีการศึกษามากมายทั้งในคนและสัตว์ทดลองเพื่อทดสอบความสำคัญของใยอาหารชนิดต่างๆ ต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ผลัการศึกษาพบว่า ใยอาหารที่ละลายน้ำสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของมนุษย์ และคอเลสเตอรอลในเลือดและตับของสัตว์ทดลองใยอาหารที่ให้ผลนี้คือ เพคทิน psyllium ชนิดต่างๆ เช่น guar gum bean gum บริโภคใยอาหารที่เป็นแหล่งของใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เช่น รำข้าวโอ๊ต หรือบาร์เลย์ ถั่ว และซึ่งมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่สามรร ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอยู่ในช่วง 5-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลได้สูงสุดถึง 25% ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำไม่พบการเปลี่ยแปลงระดับคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น เซลลูโลส ลิกนิน รำข้าวโพด และรำข้าวสาลี การลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดของใยอาหารที่ละลายน้ำเป็นการลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ สมมุติฐานหนึ่งในการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลอืดของใยอาหารที่ละลายน้ำคือ ใยอาหารจะทำให้การขับถ่ายกรดน้ำดีเพิ่มขึ้น ถ้าอัตราการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นไม่พอเพียงที่จะทดแทนการลดลงของโคเลสเตอรอลไปเป็นกรดน้ำดี ดังนั้นความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในเลือดจะลดลง

2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด

การบริโภคในอาการที่ละลายน้ำจะลดระดับน้ำตาล และอินสุลิน ในเลือดหลังการบริโภคอาหาร ผลการศึกษานี้เกิดขึ้นเมื่อใยอาหารถูก บริโภคพร้อมน้ำตาลกลูโคสสูงหรือบางส่วนของมื้ออาหารทั้งในคนปกติและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

3. ช่วยทำให้ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

อาหารที่มีใยอาหารมีผลให้ลำไส้ใหญ่ลด transit time เพิ่มน้ำหนักอุจจาระ และระบายบ่อยขึ้น ช่วยเจือจางปริมาณสารพิษในลำไส้ใหญ่และทำให้การเตรียมสารสำหรับถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่เป็นไปโดยปกติ ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น รำข้าวสาลี ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระอย่างมากอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร ผักและผลไม้ กัม และมิวซิเลจเพิ่มปริมาณอุจจาระปานกลาง ขณะที่ถั่วและเพคทินเพิ่มน้อยที่สุด

4. ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้และการเกิดถุงตันที่ลำไส้ใหญ่

บทบาทที่สำคัญของใยอาหารคือการบริโภคใยอาหารมากเท่าใด จะยิ่งช่วดลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และโรคถุงตันที่ลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้น มะเร็งในลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งเป็นเป็นดับที่ 2 คนอเมริกันตายจากฏรคนี้ถึง 52,000 คนต่อปี สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer) คือการบริโภคใยอาหารน้อยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในระบบย่อยอาหาร ลดการรวมตัวของกรดน้ำดี เพิ่มเวลาของอาหารที่ตกค้างในลำไส้ใหญ่ ลดน้ำหนักและปริมาณอุจจาระตลอดจนลดวามถี่ของการขัยถ่ายอุจจาระ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า จุลินทรีย์จะถูกกระตุ้นโดยอาหารที่ใยอาหารต่ำ ทำให้เกิดการรวมตัวของสารก่อมะเร็ง (carcinogens) จุลินทรีย์เหล่นี้อาจจะช่วยป้องกัน หรือทำลายสารก่อมะเร็งได้ ถ้ามีใยอาหารอยู่มากพอในอาหารบางทฤษฎีแนะนำว่า ประโยชน์ของใยอาหารในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือทำให้อุจจาระผ่านออกจากลำไส้ใหญ่เร็วขึ้น จนทำให้สารก่อมะเร็งเจือจางไม่อยู่ในระดับที่เป็นพิษต่อร่างกาย ส่วนโรคถุงตันนี้มีความสัมพันธ์กับความอ่อนแอของผนังลำไส้เกิดจากแรงดังของอุจจาระแข็ง จนทำให้เกิดการอักเสบของผนังลำไส้ เริ่มระคายเคืองและติดเชื้อ

5. ช่วยป้องกันโรคอ้วน

จากการศึกษาผู้ป่วยโรคอ้วนเพศหญิงจำนวน 22 คน เป็นเวลา 12 เดือน โดยผู้ป่วยโรคอ้วนมีดัชนีความหนาของร่างกาย (body mass index : BMI) มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยให้ผู้ป่วยโรคอ้วนรับประทานเมล็ดแมงลักผงสกัดวันละ 4 กรัม ก่อนอาหารเช้าหรือกลางวัน และมื้อเย็น 2 กรัม ก่อนอาหารโดยนำเมล็ดแมงลักผลสกัด 2 กรัมละลายน้ำประมาณ 200 มิลลิลิตรจนพองเต็มที่จึงดื่มแมงลักสกัด โดยน้ำหนักตัวลดลง 1-4 กิโลกรัม ในระยะเวลา 12 เดือน ส่วนผู้ป่วยโรคอ้วนที่เหลือ 11 คน ไม่ตอบสนองต่อเมล็ดแมงลักสกัด ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองนี้ยอมรับว่าบริโภคอาหารหลังจากดื่มเมล็ดแมงลักแล้ว แม้ว่าจะรู้สึกอิ่ม แต่ก็ยังต้องการบริโภคต่อ ทำให้น้ำหนักตัวไม่ลดลง ส่วนผู้ป่วยโรคอ้วนที่ตอบสนองต่อการทดลอง เป็นเพราะเมล็ดแมงลักสกัดที่ดื่มก่อนอาหารทั้ง 2 มื้อทำให้เกิด bulky ในกระเพาะอาหาร จึงมีที่ว่างในกระเพาะอาหารน้อยลงที่จะบริโภึอาหารตามปกติ เพราะเมล็ดแมงลักสกัดเข้าไปพองในกระเพาะอาหารจึงรับประทานอาหารได้น้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหนักตัวลดลง

6. ลดการนำไปใช้ประโยชน์ของสารอาหาร

ภายในลำไส้เล็กส่วนประกอบของอาหารจะถูกย่อยและสารอาหารจะถูกดูดซึมผ่าน mucosal cells ข้อมูลจาก invitro ชี้ให้เห็นว่า ใยอาหารชนิดต่างๆ สามารถ ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์จากตับอ่อนที่ใช้ย่อยคาร์โอไฮเดรท ไขามัน และ โปรตีน มีหลักฐานหลายอย่างที่ชี้ให้เป็นว่า ใยอาหารอาจจะละการนำไปใช้ประโยชน์ของเอ็นไซม์สำหรับการย่อยไตรกลีเซอไรด์ แป้ง และโปรตีนภายในลำไส้ ใยอาหารตามธรรมชาติ เช่น ธัญพืช ผลไม้ โดยทั่วไปมีผลลดการดูดซึมของเกลือแร่ เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และทองแดง อย่างไรก็ตาม ผลของการลดการดูดซึมของเกลือแร่ บางส่วนอาจมาจาก phytic acid ในอาหารเหล่านั้น

ในประเทศซีกโลกตะวันตก ได้มีการศึกษาเรื่องใยอาหารกันมากทั้งในด้านโภชนาการ โภชนบำบัด รวมทั้งวิธีวิเคราะห์ปริมาณใยอาหารในตัวอย่างอาหารชนิดต่งๆ ความตื่นตัวและการยอมรับความสำคัญของใยอาหารเป็นผลให้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับใยอาหารใน Nutrition Labeling and Education Act (NLEA) ซึ่งเป็นกฎหมายอาหารของประเทศสหรัฐอเมริการ ที่ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2536 กำหนดให้แสดงค่าใยอาหารในฉลาก โดยให้คำนิยามของใยอาหารว่า เป็นสารประกอบพอลิแซ็กคาไรด์ และลิกนินที่ไม่ถูกย่อยด้วยน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ นั่นคือ รวมถึงพอลิแซ็กคาร์ไรค์ที่ไม่ใช่แป้ง (non-starch polysaccharide หรือ NSP) แป้งที่ต้านทางต่อการย่อย (resistance starch) และลิกนิน และให้คำนิยามของใยอาหารที่ละลายได้ (soluble dietary fiber หรือ SDF) หมายถึง ส่วนของใยอาหารที่ไม่ละลายในสารละลายบัฟเฟอร์ร้อน ส่วนใยอาหรทั้งหมด (total dietary fiber หรือ TDE) หมายถึง ผลรวมของใยอาหารที่ละลายได้และใยอาหารที่ไม่ละลาย

ข้อกำหนดของ NLEA เกี่ยวกับฉลากแสดงปริมาณใยอาหารของ NLEA กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

1. ต้องแจ้งปริมาณของใยอาหารทั้งหมดมีหน่วยเป็นกรัมต่อการบริโภค 1 ครั้ง

2. กรณีที่ปริมาณของใยอาหารทั้งหมดมีน้อยกว่า 1 กรัมต่อการบริโภค 1 ครั้งไม่จำเป็นต้องแจ้งที่ฉลาก หรืออาจแจ้งโดยใช้ข้อความว่า "น้อยกว่า 1 กรัม" หากมีน้อยว่า 0.5 กรัมอาจแจ้งว่า "0" และถ้าไม่มีเลยให้ใช้ข้อความว่า "ไม่ใช่แหล่งของใยอาหาร" (not a significant source of dietary fiber)

3. สำหรับการแจ้งประมาณใยอาหารที่ละลายได้ และปริมาณใยอาหารที่ไม่ละลาย ให้เป็นไปตามความสมัครใจ แต่ถ้ามีการระบุที่ฉลากต้องแจ้งปริมาณด้วย โดยที่ถ้าน้อยกว่า 1 กรัมต่อการบริโภค 1 ครั้ง อาจจะแจ้งโดยใช้ข้อความว่า "น้อยกว่า 1 กรัม" และหากมีน้อยกว่า 05. กรัม อาจแจ้งว่า "0"

วิธีวิเคราะห์ปริมาณใยอาหาร

การวิเคราะห์ปริมาณใยอาหารได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีการพัฒนาอีกต่อไป เนื่องจากวิเคราะห์โดยวิธีใดวิธีหนึ่งไม่สมารถให้ผลการวิเคราะห์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้ทั้งหมด ดังนั้นการเลือกใช้วิธีวิเคราะห์จะขึ้นอยู่กับความต้องการของนักเคมีแต่ละคน นักเคมีต้องเป็นผู้ประเมินวิธีวิเคราะห์ที่จะใช้โดยดูจากวิธีที่เลือกนั้นสามารถให้ข้อมูลที่ตนสนใจได้หรือไม่ ความแม่นยำ (accuracy) ความเที่ยงตรง (precision) ประสิทธิภาพค่าใช้จ่าย บุคลากร รวมทั้งพิจารณาจากข้อกำหนดต่างๆ ของกฎหมายอาหารด้วย

ปัจจุบันวิธีวิเคราะห์ใยอาหารมี 3 วิธีคือ

1. วิธีเอ็นไซม์เมติก-กราวิเมตริก (enzymatic-gravimetric method) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่ใช้เอ็นไซม์ในการย่อยตัวอย่าง แล้วชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่เหลือจากการย่อย โดยนำค่าแบลงก์ปริมาณโปรตีน และปริมาณเถ้าของสิ่งที่เหลือจากการย่อยมใช้ในการคำนวณปริมาณใยอาหาร

2. วิธีนอนเอ็นไซเมติก-กราวิตริก (non-enzymatic-gracimetic method) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่ใช้สารละลายเคมีในการย่อย แล้วชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่เหลือจากการย่อย

3. วิธีเอ็นไซเมติก-เคมิคัล (enzymatic chemical method) เป็นวิธีวิเคราะห์ที่ใช้เอ็นไซม์ในการย่อยตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์สิ่งที่เหลือโดยวิธีเคมีคือ ย่อยพอลิกแซ็กคาไรด์นั้นด้วยกรดอีกครั้งได้เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว และวิเคราะห์น้ำตาลโดยแก๊ส ลิควิด โครมาโตกราฟฟี (gas liquid chromatography หรือ GLC) หรือ โดยวิธีไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ ลิควิด โครมา-โตกราฟฟี (high performance liquid chromatography หรือ HPLC) ส่วนกรดยูโรนิกวิเคราะห์โดยใช้วิธีวัดสี (colorimetric method)

สำนักงานคณะกรรมการการอาหารและยาและกระทรวงเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกาผู้ประกาศใช้กฏหมาย NLEA ให้ใช้วิธีวิเคราะห์ปริมาณใยอาหารแบบวิธีเอ็นไซเมติก-กราวิเมตริกโดยวิธี official nethods of analysis ของ The Association of Official Analytical Chemists (AOAC) โดยใช้เหตุผลว่า เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ ที่เป็นงานประจำเพื่อใช้ผลการวิเคราะห์นั้นแสดงคุณค่าทางโภชนาการที่ฉลาก และวิจัยเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ

หลักการวิเคราะห์ปริมาณใยอาหารทั้งหมด

ใช้ตัวอย่างที่ทำให้แห้งแล้ว (กำจัดไขมันออกถ้าตัวอย่างมีไขมันเกิน 10%) ทีละ กรัม 2 ที นำมาย่อยด้วยอัลฟา-อะมิเลส ที่ทนความร้อน (heat stable a - amylase) โปรติเอส (protease) และอะมิโลกลูโคซิเดส (amylo glucosidase) เพื่อกำจัดแป้งและโปรตีนเติมเอทานอลความเข้มข้น 95% จำนวน 4 เท่า ของปริมาตรของสารที่ย่อยแล้ว เพื่อตกตะกอนใยอาหารที่ละลายได้ (ความเข้มข้นของเอทานอลรวมคือ 70%) กรองแล้วล้างส่วนที่กรองได้ด้วยเอทานอลที่มีความเข้มข้น 78% ทำให้แห้ง ชั่งน้ำหนัก

วิเคราะห์ปริมาณโปรตีน และเถ้าของสิ่งที่กรองได้ รวมทั้งทำแบลงก์ เพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณใยอาหารทั้งหมด ซึ่งเท่ากับน้ำหนักส่วนที่กรองได้ ลบด้วยปริมาณโปรตีนและเถ้าที่เหลือจาการย่อย

ปริมาณใยอาหารและความชื้นในผักและผลไม้ไทยชนิดต่างๆ ใยอาหารเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2

ตารางที่ 1 ปริมาณใยอาหารและความชื้นของผักชนิดต่างๆ

ผัก ความชื้น
กรัม/100 กรัม
ใยอาหาร
กรัม/100 กรัม
มะเขือพวง 78 13.6
สะเดา 92 11.6
พริกขี้หนู 82 9.9
เห็ดหูหนู 93 7.9
ใบชะพู 85 6.9
พริกชี้ฟ้า 89 5.5
ผักกระเฉด 90 5.3
กระเทียม 69 4.7
หัวปลี 91 4.6

ตารางที่ 2 ปริมาณใยอาหารและความชื้นของผลไม้ชนิดต่างๆ

ผัก ความชื้น
กรัม/100 กรัม
ใยอาหาร
กรัม/100 กรัม
ละมุด 76 8.1
ทุเรียน (ชะนี) 64 4.1
ฝรั่งเวียตนาม 89 3.7
มะม่วงแรด (ดิบ) 79 3.6
ทุเรียน (หมอนทอง) 63 3.1
มะม่วงเขียวเสวย (ดิบ) 79 2.7
มะม่วงแก้ว (ดิบ) 82 2.7
กล้วยน้ำว้า 68 2.5
กล้วยไข่ 67 2.5

ในปัจจุบันพฤติกรรมการกินของคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากหันมานิยมวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตามประเทศซีกโลกตะวันตกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจำบันทางตะวันตกเขารณรงค์หันมาบริโภคใยอาหารมากขึ้นเนื่องจากอาหารที่มีใยอาหารต่ำทำให้เกิดโรคต่างๆ ดังกล่าวมากมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่า ถ้าเรายังไม่รณรงค์ให้มีการบริโภคใยอาหารให้มากขึ้นกลุ่มทีเสี่ยงต่อโรคต่างๆ จากาการบริโภคใยอาหารต่ำคือ กลุ่มวัยรุ่น ซึ่งจะเป็นทรัพยาการบุคคลของประเทศชาติในอนาคตจะมีเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก

ประเทศไทยมีผัก และผลไม้สดตลอดปีอันเป็นโชคดีของคนไทย เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องซื้อใยอาหารอัดเม็ด หรือแคปซูลมาบริโภคให้เสียเงิน เพราะนอกจากจะมีราคาสูงแล้ว ยังได้แต่ใยอาหารอย่างเดียว ในขณะที่ผัก ผลไม้สดนอกจากมีราคาต่ำกว่า ยังให้ทั้งวิตามิน และเกลือแร่ด้วย แทนที่จะได้ใยอาหารแต่เพียงอย่างเดียว ปริมาณใยอาหารที่ควรบริโภคคือ 30-35 กรัมต่อวัน
โดยประภาศรี ภูวเสถียร, อุรุวรรณ วลัยพัชรา และ รัชนี คงคาฉุยฉาย 2533. ใยอาหารใน อาหารไทย วารสารโชนการสร้าง 24 (2) : 43-53.
ประทุม พุทธิวนิช และพิมพาภรณ์ ไตรณรงค์สกุล 2540 ใยอาหาร สารที่ไม่มีคุณค่า แต่น่าสนใจ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ 45 (145) : 26-32.
Kay, R.M. 1982. Dietary fiber. J. Lip. Res. 23 : 221 - 242.
Gallaher, D.D. and Schneeman, B.O. 1996. Dietary fiber. In Ziegler, E.E. and Fiber. L.J. (ed.), Present Knowledge in nutrition 7th ed. pp. 87-89. llsi Press, Wassington, DC.
Guthrie, H.A. and Picciano, M.F. 1995. Human nutrition. pp. 88-89.
Tietyen, J.L. and Klopfendtein, C.F. 1995. Soluble, insoluble, and total dietary fibers. In Jeon, I.J. ans Ikins, W.G. (ed.) Analyzing food for nutrition labeling and hazardous Contaminats, pp. 109-139 Marcel Dekker, Inc. New York.
Mesomyam W. 1995. Effect of sweet basil seed extract treatment in obese woman. Thesis of Doctor of Science (Nutrition) in Faculty of graduate studies, Mahidol University