มาตรฐานของแม่น้ำลำคลองและคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ |
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงานได้กำหนดมาตรฐานของแม่น้ำลำคลองออกเป็น 5 ประเภท
พร้อมทั้งได้กำหนดคุณภาพของน้ำในแหล่งน้ำประเภทต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอยไว้ด้วยดังนี้
1. แหล่งน้ำที่น้ำมีสภาพตามธรรมชาติปราศจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมทุกประเภท และสามารถใช้ประโยชน์เพื่อ
(1) การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน
(2) การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตระดับพื้นฐาน และ
(3) ระบบนิเวศของแหล่งน้ำ
คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทนี้ ต้องมีสภาพตามธรรมชาติ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามที่กำหนดไว้

2. แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภทและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อ
(1) การ อุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน
(2) การอนุรักษ์สัตว์น้ำ
(3) การประมง และ
(4) การว่ายน้ำและกีฬาทางน้ำ
คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำประเภทนี้ต้องมาตรฐานดังฐานดังนี้
(1) ต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งของที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งทำให้สี กลิ่น และรสของ
น้ำ เปลี่ยนไปจากธรรมชาติ
(2) อุณหภูมิของน้ำต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิของน้ำตามธรรมชาติเกิน 3 องศาเซลเซียส
(3) ความเป็นกรด-เบสของน้ำ (pH) ต้องมีค่าระหว่าง 5.0-9.0
(4) ออกซิเจนละลายในน้ำ (dissolved oxygen ; DO) ต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
(5) ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีหรือบีโอดี (biochemical oxygen demand; BOD)
ในน้ำ ต้องมีค่าไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
(6) บัคเตรีชนิดโคลิฟอร์ม (coliform bacteria) ในน้ำ ต้องมีค่ารวมไม่เกิน 5,000 เอ็มพีเอ็น
(most probable number; mpn) ต่อ 100 มิลลิลิตร
(7) บัคเตรีชนิดฟีคอลโคลิฟอร์ม (feacal coliform bacteria) ในน้ำ ต้องมีค่าไม่เกิน 1,000
เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร
(8) ไนเทรต (NO3) ในน้ำในหน่วยไนโตรเจน ต้องมีค่าไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
(9) แอมโมเนีย (NH3) ในน้ำในหน่วยไนโตรเจน ต้องมีค่าไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร
(10) ฟีนอล (phenol) ในน้ำ ต้องมีค่าไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อลิตร