สวนอนุรักษ์พลังงาน
สวนอนุรักษ์พลังงาน
        สวนอนุรักษ์พลังงาน ป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการรวมพลังหารสอง ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน สำนักนโยบายพลังงานแห่งชาติ  สวนอนุรักษ์พลังงาน ตั้งอยู่ใน จ.อุบลราชธานี ทิศตะวันออกสุดที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย กำลังจะมี "สวนอนุรักษ์พลังงาน" เกิดขึ้น เป้นแห่งแรกของไทยและเป็นสิ่งใหม่ในอุบล ซึ่งเป็นนิทรรศการกลางแจ้งอย่างถาวรแนวใหม่ที่เรียกว่า "Edutainment Museum"  และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบได้ความรู้สำหรับประชาชนทุกวัย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานไปสู่เยาวชนและประชาชนทั่วไป
 
       สวนอนุรักษ์พลังงานมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษานอกห้องเรียนแก่เยาวชนและประชาชน ในแนวทางของการมีส่วนร่วมอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนเป็นต้นแบบการนำเสนอนิทรรศการมีการแบ่งเนื้อหาแก่ผู้เข้าชมเป็นลำดับ และเน้นการให้เนื้อหาทางวิชาการที่มีสาระเชิงสนุกสนาน ("Edutainment Museum")  เพื่อสร้างความน่าสนใจน่าติดตาม โดยที่ผู้เข้าชมสามารถมีกิจกรรมร่วม (Interactive) กับนิทรรศการได้ทุกสถานี นอกจากนี้ยังสอกแทรกกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลินในเชิงวิทยาศาสตร์เบื้องต้น โดยเน้นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และการใช้พลังงานของผู้ชม แปลงเป็นพลังงานกลในการสร้างกิจกรรมในการชมนิทรรศการ เพื่อหลีกเลี่ยงวัสดุสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

        "สวนอนุรักษ์พลังงาน"  จัดสร้างขึ้นบนพื้นที่กลางแจ้งหว่า 2,800 ตารางเมตร ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จ.อุบลราชธานี มีการออกแบบให้มีส่วนประกอบของการแสดงนิทรรศการ สวนสนุกและสวนสาธารณะ เพื่อเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ที่สนุกสนานโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น  8  ส่วน

        ส่วนที่  1   "สวนเตรียมชม
                เป็นส่วนต้อนรับและการอธิบายแผนผังรวมของนิทรรศการเพื่อเตรียมการเข้าชม
 
        ส่วนที่  2  "โลกพลังงาน"
                เป็นส่วนที่แสดงถึงพลังงานชนิดต่าง ๆ และประโยชน์ของพลังงาน อาทิเช่น วัฏจักรของพลังงาน พลังงานที่ใช้แล้วสูญสิ้น ซึ่งได้แก่ พลังงานจากเชื้อเพลิง น้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน พลังงานหมุนเวียนแบบต่าง ๆ

        ส่วนที่  3  "พลังงานที่ใช้ในปัจจุบัน"
                แสดงถึงพลังงานที่มนุษย์ใช้ในปัจจุบันว่ามาจากแหล่งใดบ้างและนำไปใช้ในปัจจุบันและนำไปใช้ในทางใด ในปริมาณเท่าใด

        ส่วนที่ 4  "ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากพลังงาน"
                โดยจะแสดงถึงผลกระทบของการใช้พลังงานต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่นปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์ฝนกรดและอากาศเป็นพิษ

        ส่วนที่ 5  "วิกฤตพลังงาน"
                วิกฤตการณ์ของปริมาณพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดและแหล่งพลังงานที่สำคัญในประเทศไทย
 
        ส่วนที่ 6  "พลังงานทดแทน"
                แสดงถึงพลังงานทดแทนในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ พลังงานจากแสงอาทิตย์  พลังงานน้ำ  พลังงานลม  พลังงานคลื่น  พลังงานชีวมลว  พลังงานความร้อนใต้พิภพ

        ส่วนที่ 7   "ฉลาดใช้พลังงาน"
                เป็นการชี้ให้เห็นถึงกิจกรรมที่ใช้พลังงาน และแนวทางการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ และสิ่งประดิษฐ์ที่ประหยัดพลังงานต่าง ๆ

        ส่วนที่ 8   "1A3R"
                แสดงถึงพฤติกรรมการประหยัดพลังงานที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอแนวคิดในการ เลี่ยง - งด (A - Avoid) ลดการใช้ (R - Reduce)  ใช้ซ้ำให้คุ้ม (R - Reuse) และแปรรูปใช้ใหม่ (R - Recycle)         


ที่มา : รวบรวมจาก     วารสารโลกพลังงาน