โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ
15 กิโลเมตร
ชั้นของบรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละออง ไอน้ำและจุลินทรีย์ต่าง
ๆ
ในจำนวนก๊าซเหล่านี้
ก๊าซที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ คือ ก๊าซออกซิเจน
และชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตนั้นมีความหนาแน่นเพียง
5–6 กิโลเมตร
เท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบค่อนข้างคงที่คือ ก๊าซไนโตรเจน
78.09% ออกซิเจน
20.94%
อาร์กอน
0.93% คาร์บอนไดออกไซด์
0.03% และก๊าซอื่นๆ 0.01% ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้
เราถือว่าเป็นอากาศที่บริสุทธิ์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ส่วนประกอบของ
อากาศเปลี่ยนแปลงไปมีปริมาณฝุ่นละออง กลิ่นก๊าซ หมอกควัน
ไอน้ำ เขม่า และกัมมันตภาพรังสี
เช่น
ออกไซด์ของคาร์บอน ออกไซด์ของกำมะถัน ออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรคาร์บอน สารปรอท
ตะกั่ว
ละอองกัมมันตภาพรังสี เจือปนอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนก่อให้เกิดอันตราย
ต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
สัตว์ พืช ตลอดจนทรัพย์สิน เราเรียกสภาวะ นั้นว่าอากาศเสีย