หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
โอ้อาลัยใจหายไม่วายห่วง
ดังศรสักปักช้ำระกำทรวง เสียดายดวงจันทราพงางาม
เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ แต่เดือนยี่จนย่างเข้าเดือนสาม
จนพระหน่อสุริยวงศ์ทรงพระนาม
จากอารามแรมร้างทางกันดาร
ด้วยเรียมรองมุลิกาเป็นข้าบาท
จำนิราศร้างนุชสุดสงสาร
ตามเสด็จโดยแดนแสนกันดาร
นมัสการรอยบาทพระศาสดา
วันจะจรจากน้องสิบสองค่ำ พอจวนย่ำรุ่งเร่งออกจากท่า
 
 

เนื้อเรื่องในนิราศพระบาท กล่าวถึงการเดินทางตามเสด็จครั้งนั้นซึ่งต้องใช้เรือในการเดินทางไปทางน้ำ
และใช้ช้างในการเดินทางทางบก สุนทรภู่ลงเรือที่คลองขวาง แล้วล่องเรือไปตามแม่น้ำจ้าพระยาผ่านสถานที่ต่าง ๆ เช่น คลองขวาง บางจาก สามเสน บางซื่อ ตลาดแก้ว-ตลาดขวัญ บ้านใหม่ บางหลวง สามโคก เกาะราชคราม สีกุก เกาะบางอออิน (บางปะอิน) วัดธารมา กรุงศรีอยุธยา บางระกำ นครหลวง อรัญญิก จนถึงท่าเรือก็ขึ้นบก ต่อจากนั้นก็ใช้ช้างเป็นพาหนะเดินทางผ่านสถานที่สำคัญ เช่น บางโขมด บ่อโศก บางคณฑี จนกระทั่งถึงพระพุทธบาท ณ เขาสุวรรณบรรพต

ณ ที่ซึ่งประดิษฐ์ฐานพระพุทธบาทนั้น ตามประวัติกล่าวว่า เดิมที่ตรงนั้นเป็นป่าใหญ่ มีสัตว์ป่า
ชุกชุม พรานบุญซึ่งเป็นโรคเรื้อนออกล่าสัตว์และขึ้นไปจนถึงเขาสุวรรณบรรพต เมื่อเห็นเนื้อวิ่งผ่านหน้าก็เอาหน้าไม้ยิงไปถูกเนื้อจนบาดเจ็บเลือดอาบ พอตามเนื้อตัวนั้นไปถึงบริเวณป่าแห่งหนึ่ง ก็เห็นเนื้อ ตัวนั้นเดินออกมา บาดแผลตามตัวหายเป็นปกติ ยิ่งกว่านั้นแผลโรคเรื้อนตามตัวของพรานบุญเอง ก็หายสนิทด้วย ณ ที่นั้นเองพรานบุญได้พบรอยพระพุทธบาท

หลังจากนั้นกิตติศัพท์เรื่องพระพุทธบาทก็เลื่องลือไปทั่ว จนความทราบไปถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมที่กรุงศรีอยุธยา พระองค์ก็ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ต่อมาทางการก็ได้จัดสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท และ พระพุทธบาทก็ได้เป็นปูชนียสถานที่พุทธศาสนิกชนพากันไปเคารพสักการะสืบมา ในฐานะที่เป็นเจดียสถานอันน้อมนำใจให้ระลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีงานสมโภชพระพุทธบาทกันเป็นประจำทุกปี

รอยพระพุทธบาท ณ เชิงเขาสุวรรณบรรพ แขวงเมืองสระบุรี คือปูชนียสถานอันสำคัญยิ่ง นับตั้งแต่พรานบุญได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้เมื่อ พ.ศ. 2167 ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระมหากษัตริย์และเจ้านายองค์ต่าง ๆ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาชั้นหลังลงมาถึง รัตนโกสินทร์ ได้เสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธบาทแห่งนี้มาโดยตลอด

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อถือกันว่าใครได้ไปไหว้พระพุทธบาทครบ 7 ครั้ง ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์
ที่ถือกันอย่างนี้เพราะสมัยก่อนการเดินทางไปไหว้พระพุทธบาทยากลำบากมาก

สำหรับการเดินทางของสุนทรภู่ในนิราศพระบาทครั้งนี้แม้จะยากลำบากเพียงใดก็ดี แต่ก็ สนุกสนานยิ่งนัก เพราะคราวนี้สุนทรภู่ไปกับขบวนหลวง มีทั้งมหาดเล็กและนางใน ทั้งสาวทั้งแก่ ไปกันมาก ต้องเดินทางทั้งทางน้ำและทางบก กว่าจะไปถึงรอยพระพุทธบาทใช้เวลาไปถึง 3 วัน ตลอดเวลา 3 วัน สุนทรภู่ได้บันทึกเรื่องราวสถานที่ เส้นทางการเดินทางในประวัติศาสตร์ไว้ดังนี้

 
 


Disclaimer