แนวทางป้องกันและบำบัด

วัสริน นาถประชา

 น้ำเน่าเสียในสถานศึกษานั้น ส่วนมากจะเป็นเพียงบริเวณสระน้ำเล็กๆบริเวณโรงเรียน ซึ่งวิธีการที่จะบำบัดน้ำเสียนั้นก็ต้องทำให้เหมาะสม อาจทำได้โดยการปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยเครื่องกลเติมอากาศ และบ่อปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืชแช่น้ำหรือลอยน้ำ ที่เรียกกันว่า”ออกซิเดชัน”โดยทำได้ดังนี้ 



1. กำจัดของแข็งขนาดใหญ่ออกเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดการอุดตันของท่อน้ำเสีย หรือทำความเสียหายให้กับเครื่องสูบน้ำ ทำได้โดย 
ก) การใช้ตะแกรงดัก โดยมี 2ประเภท คือ ตะแกรงหยาบกับตะแกรงละเอียด 
ข) ถ้าเป็นสิ่งที่เน่าเปื่อยได้ต้องใช้เครื่องบดตัดให้มีขนาดเล็กลง แล้วแยกออกด้วยการตกตะกอน 
ค) การดักกรวดทราย โดยทำให้ตกตะกอนในรางดักกรวดทราย ด้วยการลดความเร็วน้ำลง 

2.จากนั้นให้ปล่อยน้ำเสียไหลผ่านบ่อดักไขมันที่ปนมากับน้ำ ให้ไขมันลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ แล้วใช้เครื่องตักหรือกวาดออกจากบ่อ 

3. แล้วไหลลงสู่บ่อเติมอากาศ โดยติดตั้งเครื่องกลเติมอากาศและชุดจับเกาะจุลินทรีย์ไว้ โดยขุดคลองสระน้ำให้ลึกประมาณ2-3เมตร ติดตั้งกังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องกลเติมอากาศ 

4. จากนั้นให้ไหลสู่บ่อรวมน้ำทิ้ง ซึ่งจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ซึ่งจะสูบเข้าบ่อปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยพืช โดยใช้หลักการที่ว่าความหนาแน่นของพืชจะช่วยกรองน้ำเสีย และพวกตะกอนต่างๆก็จะตกตะกอนลงสู่พื้นดิน ส่วนแร่ธาตุต่างๆที่ปนมากับน้ำก็จะถูกรากพืชดูดไปใช้ในการเจริญเติบโต โดยชนิดของพืชที่จะนำมาใช้นั้น เราก็ต้องดูให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สถานที่นั้นๆ รวมทั้งความสามารถในการทนต่อน้ำสีย รวมทั้งประโยชน์ที่เราจะได้รับจากพืชนั้นๆ เช่น การนำไปทำเป็นปุ๋ย การนำไปสานเป็นกระเป๋า เป็นต้น แต่ทว่าเราจะแก้เพียงอย่างเดียวหรือ ไม่ใช่แน่ นอกจากการแก้ไขปัญหา เรายังจะต้องช่วยกันป้องกันปัญหาอีกด้วย 
การป้องกันน้ำเสียนั้นทำได้หลายวิธี ถ้าทุกคนช่วยกัน รับรองว่าน้ำในประเทศไทยนั้น จะต้องกลับมาใสดังเดิมอย่างแน่นอน อย่างแรกเลย เป็นอะไรที่ง่ายๆใครๆก็สามารถทำได้ นั่นก็คือ 
1. การทิ้งขยะให้ถูกที่ถูกทาง ไม่ทิ้งลงไปในแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะขยะบางชิ้นที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อีก เราก็ควรจะทำ เพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยให้เราประหยัดขึ้นอีกด้วย 
2. น้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมาจากกระบวนการต่างๆ เช่นน้ำจากการหล่อเย็น ซึ่งจะมีผลต่อสัตว์น้ำ และโรงงานบางแห่งน้ำเสียที่ปล่อยออกมานั้น ก็ถูกปลอมปนไป 
ด้วยสารเคมี ซึ่งทำให้น้ำเน่าเสีย และก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ และผู้คนที่ใช้น้ำในการดำรงชีวิต จึงต้องมีการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 
3. น้ำเสียจากการเกษตรกรรม ซึ่งมีสารเคมีปะปนอยู่ เราจึงควรลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง หรือถ้าไม่ใช้เลยก็จะดี ดีทังต่อแหล่งน้ำ ต่อผู้ใช้ และต่อผู้บริโภคอีกด้วย 
4. น้ำจากการซักล้างก็ไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งลงแม่น้ำลำคลองเลยทีเดียว น้ำนั้นยังสามารถที่จะนำมารดน้ำต้นไม้ได้อีก 
5. ตามอาคารบ้านเรือนและรวมไปถึงร้านอาหารด้วยนั้น ก็ควรมีการใช้ถังดักไขมัน เพื่อไม่ให้ไขมันนั้นไปปิดผิวน้ำ ซึ่งจะทำให้อากาศไม่สามารถซึมผ่านเข้าได้ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ก่อให้เกิดน้ำเสียในที่สุด 
นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างแนวทางในการป้องกันเท่านั้น วิธีการป้องกันยังมีอีกมากมาย แต่ที่สำคัญก็คือ เพียงแค่ฟัง เพียงแค่รับรู้แต่ไม่ปฏิบัติตามก็คงจะช่วยอะไรๆให้ดีขึ้นไม่ได้ หรือจะทำเพียงแค่คนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นก็คงจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก ทั้งนี้พวกเราทุกคน ผู้คนทั้งโลกต้องช่วยกัน ร่วมมือกันทำให้น้ำจากน้ำที่เน่าเสียให้กลับกลายมาเป็นน้ำที่ดีให้ได้ค่ะ

โพสต์เมื่อวัน อาทิตย์ ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เวลา 12.45 น.