วงจรชีวิตและส่วนประกอบของเห็ดฟาง

  

            

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดฟาง

        เห็ดฟางเป็นเชื้อราชั้นสูงชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะดอกโตปานกลาง สีของปลอกหุ้มรวมทั้งหมวกดอกมีสีขาวเทา จนกระทั่ง ถึงสีเทาดำขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อม   เส้นผ่าศูนย์กลางขอกหมวกดอกเห็ดเมื่อบานเต็มที่ มีตั้งแต่ 4-12 ซม.  เราสามารถ แบ่งลักษณะรูปทางสันฐานวิทยาแตกต่างกันไป ได้ 6 ขั้นตอน คือ     

1. จุดเริ่มแรกของการกำเนิดดอก   เกิดหลังจากโรยเชื้อเห็ดแล้วในวันที่ 4-6                                                                                    

2. ระยะดอกเห็ดรูปกระดุมเล็ก   คือระยะสืบต่อจากระยะแรกประมาณ 15-30 ชั่วโมง มีลักษณะกลมยกตัวขึ้นจากวัสดุเพาะ

3.  ระยะรูปกระดุม  คือระยะที่ดอกเห็ดมีการขยายตัวทางด้านความกว้างของดอกอย่างเต็มที่ มีลักษณะกลมหรือวงรี มีฐานที่โตกว่าส่วนปลาย       ระยะนี้ต่อเนื่องจากระยะที่ 2 ประมาณ 12-20 ชั่วโมง

4.  ระยะรูปไข่ เป็นระยะที่ดอกเห็ดเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความยาวของก้านดอก และความกว้างของหมวกดอก      ปลอกหุ้มดอก จะยึดไปตามความยาว       ของก้าน เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 3    ผู้เพาะปลูกจะเริ่มทำการเก็บเกี่ยว เพราะเป็นระยะที่ทำให้น้ำหนักสูงสุด ผู้บริโภคนิยมรับประทาน

5.  ระยะปริดอก  เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 4 เพียง 3-6 ชั่วโมง ระยะนี้เป็นการเจริญเติบโตของก้านและหมวกดอกเป็นไปอย่างรวดเร็ว      ทำให้ส่วนบนสุดของ ปลอกหุ้มดอกแตกออก โดยเป็นการแตกแบบไม่เป็นระเบียบ ส่วนสีของผิวหมวกดอก เมื่อสัมผัสกับบรรยากาศ      หรือถูกแสงมากก็จะเป็นสีคล้ำ

6.  ระยะแก่เต็มที่ คือ ช่วงที่ส่วนของก้านดอกและหมวกมีการขยายตัวอย่างเต็มที่ ส่วนครีบของดอกเห็ดจะสร้างสปอร์และปล่อยให้ตกลง      หรือปลิวตามลมสีของครีบจะเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นสีน้ำตาลคล้ำ ก้านดอกจะเหนียว หมวกจะอ่อนนุ่ม แตกหัก หลุดง่าย

        

ภาพแสดงลักษณะของดอกเห็ดในระยะต่าง ๆ ของการเจริญเติบโต

ส่วนประกอบของเห็ดฟาง

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเห็ดฟางเมื่อเจริญเต็มที่ มีดังนี้

 1. หมวกดอก   เมื่อดอกเห็ดเจริญเต็มที่ ลักษณะดอกเห็ดจะคล้ายรูปร่ม นูนโค้ง ผิวของหมวกเรียบ มีขนาดต่างกันตั้งแต่ 4-14 ซม. ขึ้นอยู่กันสายพันธุ์       และความแข็งแรงของดอกเห็ดและสภาพแวดล้อม

 2. ครีบ  คือส่วนที่อยู่ใต้หมวกดอก มีลักษณะเป็นแผ่นเล็ก ๆ วางเรียงกันเป็นรัศมีจากจุดใต้ก้านดอก ดอกเห็ดที่สมบูรณ์จะมีครีบประมาณ 300-400 ครีบ       การวางตัวของครีบดอกเห็ดนั้น เป็นการวางแบบสลับกันไป

  3. ก้านดอก  คือส่วนที่ชูของหมวกดอก เชื่อมอยู่ระหว่างส่วนฐานและตรงกลางหมวกของดอกเห็ด มีการเรียงตัวของเส้นใยเป็นแบบขนาน      กับความยาวของก้านดอก มีสีขาว ก้านดอกจะมีลักษณะเรียวตรง หรือส่วนฐานโตกว่าเล็กน้อย ขนาดของก้านจะโตอยู่ระหว่าง 0.5-1.5 ซม.      ไม่มีวงแหวนหุ้ม

 4. ปลอกหุ้ม   คือ ส่วนของเนื้อเยื่อด้านนอกสุดของดอกเห็ด มีหน้าที่หุ้มดอกเห็ดทั้งหมด ปลอกของดอกจะปริแตกในระยะที่ 5 ของการเจริญเติบโต

 5. สปอร์ คืออวัยวะสืบพันธุ์ของเห็ดฟาง ทำหน้าที่คล้ายเมล็ดพันธุ์ มีขนาดเล็กมาก มีลักษณะเป็นวงรีคล้ายไข่ โดยมีด้านหนึ่งโตและเรียวเล็กไปอีกด้านหนึ่ง       ด้านกว้างที่สุดจะกว้างประมาณ 3-4 ไมครอน ยาวประมาณ 7-9 ไมครอน ผิวของสปอร์เรียบ มีสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่

  6. เส้นใย คือ เส้นใยที่เกิดจากการสร้างสปอร์ของเห็ด เมื่อแรกงอกขึ้นมาจะมีลักษณะคล้ายปุยฝ้ายสีขาว เรียกว่า เส้นใยขั้นแรก มีลักษณะเป็นอวัยวะ            สืบพันธุ์อยู่ มี นิวเคลียส อยู่ 1 อัน ต่อมาจะรวมกันเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วกว่า เมื่อมีเส้นใยขั้นที่ 2 จำนวนมากขึ้น      เส้นใยนั้นจะรวมตัวกันเป็นดอกเห็ดในระยะต่อมา

  7. คลามิโดสปอร์ คือ อวัยวะสำหรับขยายพันธุ์อีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากเส้นใยของเห็ด ในกรณีที่เส้นใยเริ่มแก่ตัว มีลักษณะค่อนข้างกลม ส่วนใหญ่      มักถูกสร้างขึ้นในตรงส่วนปลายของเซล มีสีน้ำตาลไหม้ทนทานต่อสภาพแวดล้อม

 

วงจรชีวิตของเห็ดฟาง

          รูปวงจรชีวิตของเห็ดฟาง เรียงตามหมายเลข

          1. ดอกเห็ดที่เจริญเติบโตแล้ว                                                                                                                                                               

       2. แบสิเดียม ที่อยู่บนผิวเซลของครีบ

       3.  สปอร์ที่หลุดจากแบสิเดียมและปลิวไปตามบรรยากาศ

       4.  การงอกของสปอร์เมื่อสปอร์ตกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

       5.  เส้นใยที่งอกออกจากสปอร์ หรือเส้นใยขั้นที่ 1 นี้ จะถูกแบ่งออกเป็นเซล ๆ หรือเป็นกิ่งก้าน แต่ละเซลจะมีนิวเคลียสอยู่ตั้งแต่ 2-30 อัน

       6.  เส้นใยขั้นที่ 1 ที่สามารถเข้ากันหรือผสมกันได้ จะมารวมตัวกันเป็นเส้นใยขั้นที่ 2

       7.  เส้นใยขั้นที่ 2 จะมีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านยาว และแตกกิ่งก้านสาขาออกใหม่ เรียกว่า Swollen cell

       8.  จาก Swollen cell บางอัน  จะมีผนังหนา และเป็นวงกลมมีสีน้ำตาลเข้ม สามารถอยู่ข้ามปีได้ เรียกว่า คลามิโดสปอร์

       9.  เมื่อคลามิโดสปอร์ กลับมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมอีกครั้ง ก็จะงอกกลับมาเป็นเส้นใยขั้นที่ 2 ตามเดิม

      10. จุดเริ่มต้นของเห็ด โดยการรวมตัวของเส้นใยขั้นที่ 2 ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วเป็นจำนวนมาก

       11. ดอกเห็ดตูมรูปไข่ ในระยะ Elongation

         ที่มา :  อานนท์   เอื้อตระกูล. การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือน