มาตรฐานในการตรวจสอบการตีเทนนิส (Standard Checkpoints)

           มาตรการในการตรวจสอบอย่าง่ายๆนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณในการแก้ไขข้อบกพร่องเมื่อคุณมีปัญหาในสโตรคนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วง คือในขณะแข่งขันและในขณะฝึกซ้อม

           1. วิธีการตรวจสอบในขณะแข่งขัน (Standard Checkpoints Through a Match) ในขณะที่แข่งขันนั้น หากมีปัญหาเกี่ยวกับสโตรคหรือ ตี ไม่ได้ ก็จะสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้ทันที ในการเป็นโค้ชให้กับตัวเองนี้จะต้องเป็นวิธีที่ง่ายๆเพื่อที่จะไม่ทำให้ตัวเอง สอบสน ตัวอย่างเช่น ไม่ควรที่จะเรียนรู้วิธีการตีลูกวอลเล่ย์แบคแฮนด์ว่าทำอย่างไรในขณะที่แข่งขันจริง ที่ถูกต้องแล้วควรจะ เรียนรู้ในขณะที่ฝึกซ้อม มากกว่า ในขณะแข่งขันนั้นควรที่จะมีวิธีการที่ง่ายๆ และสั้นๆ ในการตรวจสอบเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ

วิธีการตรวจสอบแต่ละสโตรคนั้น        

           ทำได้โดยในขณะฝึกซ้อมคุณควรจะหาจุดหลักที่จะให้จำได้อย่าง่ายๆในการนำไปใช้เพื่อเป็นวิธีการตรวจสอบแก้ไขปัญหา สำหรับนักเทนนิส ควรจะสามารถหาจุดหลักๆสักหนึ่งหรือสองจุดซึ่งเป็นวิธีการที่คุณสามารถจะนำมาใช้แก้ไขในแต่ละสโตรคได้อย่างจำเพาะเจาะจงเมื่อคุณเจอปัญหานั้นๆ ในขณะแข่งขัน ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละสโตรคมักจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกและส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่คุณมีความกดดัน เหตุการณ์เช่นนี้ แหละที่คุณสามารถจะนำเอาวิธีการตรวจสอบอย่าง่ายๆมาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้อย่างได้ผลดียิ่ง มีบางตัวอย่างในวิธีการตรวจสอบอย่าง่ายๆ ของ ปีเตอร์ เบอร์วอช ซึ่งสามารถช่วยให้เขาผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆได้ เช่นปีเตอร์จะนึกถึง"การบีบนิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยให้แน่น"เพื่อป้องกันท่าการตี ลูกบอลในลักษณะตบลูกอย่างสั้นๆที่บริเวณปะทะบอล ในด้านแบคแฮนด์เขาจะนึกถึง"มือซ้าย"ในการเสิร์ฟเขาจะนึกถึง "การตีไม้ขึ้นสูง" เพราะเขา ไม่ได้เป็นคนที่สูง และมักจะเสิร์ฟลูกบอลติดตาข่ายในขณะที่เขามีความกดดัน หรือในการตีลูกผ่านคู่ต่อสู้ เขาจะนึกถึง "การทำใจให้สบาย" เนื่องจาก เขากำลังตกอยู่ในสภาวะของความกดดัน ในขณะที่คุณแข่งขันนั้นคุณไม่ควรที่จะสนใจในท่าทางให้มากนัก เพราะท่าทางการตีในแต่ละสโตรคนั้น คุณ ควรที่จะฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในขณะที่คุณฝึกซ้อมก่อนแล้ว เช่น การตีแบคแฮนด์ด้วยวิธีท็อปสปิน จะต้องอาศัยระยะเวลาการฝึกซ้อมเป็นปีๆ และต้องเป็นคนที่มีทักษะความสามารถที่ดีด้วยจึงจะทำได้ ฉะนั้นในการแข่งขันคุณควรที่จะตีลูกบอลที่คุณสามารถตีได้ในขณะนั้น และคำนึงถึงวิธีการ ตรวจสอบอย่าง่ายๆที่ใช้ได้ผลกับตัวคุณ และมีความเกี่ยวข้องกับพื้นฐานสามประการของการตีที่ถูกต้องคือบริเวณปะทะบอล การทรงตัว และการใช้ มือซ้าย

         2. วิธีการตรวจสอบในขณะฝึกซ้อม (Standard Checkpoints While Practicing) อยากจะแนะนำในสิ่งที่สำคัญเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ในการตีสโตรคแต่ละสโตรคนั้น "ไม่มีวิธีการใดที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบในการตีลูกบอล" ทำไมผมจึงกล่าวอย่างนั้น? ลองดูอากัสซี่ (Agassi) เซเลส (Seles) หรือแมคเอ็นโร (Mcenroe) เขาทั้งสามคนไม่ได้มีท่าทางในการตีสโตรคที่เหมือนกันเลย ในแต่ละสโตรคจะมีลักษณะพิเศษเด่นเฉพาะตัวซึ่ง จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบอย่างง่ายๆเพื่อพัฒนาสโตรคของเราได้ การเป็นโค้ชให้กับตัวเองนี้ควรจะทำก็ต่อเมื่อยังไม่ชอบผล ของลูกบอลที่คุณตีไปหรือยังมีอะไรบางอย่างที่คุณควรจะแก้ไข แต่ถ้าสโตรคของคุณดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องโค้ชให้กับตัวเองหรือแก้ไขสโตรคนั้น นักเทนนิสส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในขณะที่เขาเล่นอยู่ เขาเพียงแต่จะรู้สึกว่าพอใจหรือไม่ก็สับสนในผลการตีแต่เขาจะไม่วิเคราะห์ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากในขณะที่เขาฝึกซ้อมนั้นเขาจะมองเฉพาะจุดที่ลูกบอลตกครั้งแรกเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ นั้นคือจุดที่ ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สอง เพราะคู่ต่อสู้จะต้องยืนอยู่ในตำแหน่งระหว่างจุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งแรกแลจุดที่ลูกบอลตกครั้งที่สอง ซึ่งถ้าสามารถที่จะบังคับ จุดที่ลูกบอลตกครั้งที่สองได้ นั่นก็หมายความว่าสามารถบังคับคู่ต่อสู้ได้อีกด้วย

         3. ทฤษฏีการกระดอนสองครั้ง (The Two Bounces Theory) ทฤษฏีการกระดอนสองครั้งมีประโยชน์มากต่อการฝึกหัดในการที่จะตีลูกชนิดต่างๆ เช่นการตีลูกบอลไปที่มุมด้านข้างที่เส้นเสิร์ฟ (Side-T) ลูกหยอดและลูกเสิร์ฟ การที่ตีลูกบอลทแยงสั้นไปที่มุมด้านข้างที่เส้นเสิร์ฟนั้น จุดที่ลูกบอล ตกพื้นครั้งที่สองนั้นควรจะอยู่เลยเส้นข้างของประเภทคู่ จุดประสงค์ที่ตีลูกบอลไปที่มุมด้านข้างเส้นเสิร์ฟก็เพื่อที่จะดึงคู่ต่อสู้ให้ออกไปนอกคอร์ต สำหรับ การตีลูกอัดแรง (Drive) ยิงไปที่เส้นหลัง จุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สองนั้นควรจะอยู่เลยเส้นท้ายคอร์ตไปมากๆเพราะเป็น การยันคู่ต่อสู้ให้ยืนอยู่ท้าย คอร์ต ในการตีลูกหยอดอย่างน้อยที่สุดจุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สองนั้นไม่ควรจะเลยเส้นเสิร์ฟ ซึ่งถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกจุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สามก็ ไม่ควรจะ เลนเส้นเสิร์ฟเช่นกัน สิ่งที่สำคัญในการตรวจสอบลูกหยอดที่ดือ พยายามตีลูกบอลให้จุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สองนั้นใกล้กับจุดที่ลูกบอล ตกพื้นครั้งที่หนึ่งให้มากที่สุด ซึ่งก็ต้องอาศัยการตีโดยวิธีการอันเดอร์สปิน จงจำไว้ให้ดีนะครับว่าอย่าหยอดลูกด้วยวิธีการท็อปสปิน ความสูงเหนือ ตาข่ายของการหยอดควรจะอยู่ระหว่าง 2-4 ฟุต ถ้าสูงกว่านั้นลูกบอลจะลอยช้าไปทำให้คู่ต่อสู้มีเวลาวิ่งมาตีลูกบอลได้ง่าย และถ้าคุณตีลูกบอลเลียด ตาข่ายมากไป จุดที่ลูกบอลตกพื้นครั้งที่สองจะพุ่งไปไกลขึ้นทำให้คู่ต่อสู้วิ่งเข้ามาตีได้ง่ายขึ้น ถ้าตำแหน่งที่คุณยืนอยู่ชิดตาข่ายมากเท่าไหร่ ก็สามารถที่ จะตี ลูกบอลให้มุมโค้งเลียดตาข่ายได้มากขึ้นเท่านั้น ในการเสิร์ฟสำหรับคนถนัดขวา เมื่อเสิร์ฟสไลซ์ลงที่มุมด้านข้างเส้นเสิร์ฟ (คอร์ตขวา)จุดที่ลูกบอล ตกพื้นครั้งที่สองจะเลยเส้นข้างของประเภทคู่ และในการเสิร์ฟท็อปสปินลูกบอลควรจะชนรั้วด้านหลัง ก่อนที่ลูกบอลจะตกพื้นครั้งที่สอง

         4. ทฤษฏีการตีลูกบอลผิดตำแหน่งและทิศทาง (The Foul-Ball Hitting Theory) การตีลูกบอลผิดพลาดมี 4 แบบหลักๆ คือ

ก. การตีลูกบอลออกข้างสนามด้านซ้ายหรือ
ข. การตีลูกบอลออกด้านขวาของสนาม
ค. การตีลูกบอลออกเส้นท้ายคอร์ตและ 
ง. การตีลูกบอลติดตาข่าย

                    4.1 การแก้ไขทิศทาง (Adjusting the Direction) นักเทนนิสส่วนใหญ่เวลาที่ตีลูกบอลทิศทางผิดพลาดไปมักจะแก้ไขโดยการปรับ ตำแหน่งทิศทางการยืนของลำตัวและยังคงตีลูกบอลด้วยท่าทางเหมือนเดิม ซึ่งก็ไม่ผิดแต่คู่ต่อสู้ของคุณจะรู้ได้ง่ายขึ้นว่าคุณจะตีลูกบอลไปทางไหน วิธีการที่ถูกต้องนั้นควรจะแก้ไขที่จุดปะทะบอลให้ ้"เร็วขึ้น" หรือ "ช้าลง" การที่คุณตีลูกบอลเร็วนั้นให้เปรียบเทียบกับเท้านำที่ก้าวไปข้างหน้า(เท้าซ้าย สำหรับคนที่ถนัดมือขวาในการตีด้านโฟร์แฮนด์) คือจุดปะทะบอลจะเลยเท้าซ้ายไปข้างหน้าทางตาข่าย ลูกบอลจะพุ่งไปในทิศทางทแยงมุม การที่ตี ลูกบอลโดยที่จุดปะทะบอลอยู่ระดับเดียวกับเท้าซ้ายหรือเลยมาทางด้านหลังตัวเล็กน้อยหน้าไม้ขนานกับตาข่าย ลูกบอลจะพุ่งไปในทิศทางขนานกับ เส้นข้าง และการที่คุณตีลูกบอลช้าโดยที่จุดปะทะบอลอยู่หลังเท้าซ้ายเลยมาทางด้านหลังตัวมากขึ้น ลูกบอลจะพุ่งไปในทิศทางออกไปทางด้านขวามือ ทั้งนี้และทั้งนั้นควรที่จะทดลองเปลี่ยนจุดปะทะไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบว่าจุดใดเหมาะสมที่สุดสำหรับตัวคุณเอง 

                   4.2 การแก้ไขระยะทางโดยใช้มือซ้าย (Adjusting the Distance by Using the Free Hand กุญแจสำคัญในการแก้ไขลูกบอลที่ตก  ไกลไปหรือตกสั้นไป คือการใช้มือซ้าย (สำหรับคนที่ถนัดมือขวา) สังเกตโดยดูหน้าไม้ที่จุดปะทะ ถ้าหน้าไม้หงายก็แสดงว่า ลูกบอลจะลอยสูงขึ้นไป บนฟ้าและถ้าหน้าไม้คว่ำก็แสดงว่าลูกบอลจะลอยต่ำลงไปทางพื้นสนาม จุดที่หน้าไม้ปะทะบอลที่เหมาะสมในการตีแฟลตหรือท็อปสปินนั้น หน้าไม้จะ ขนานกับตาข่ายลูกบอลจะพุ่งไปขนานกับพื้นและข้ามตาข่าย ทั้งสามวิธีการนี้ผมหมายถึงการที่คุณพยายามที่จะดันหน้าไม้ไปข้างหน้า โดยให้บริเวณ จุดปะทะบอลนั้นเคลื่อนที่สูงขึ้นไปทางข้างบนสักเล็กน้อย ในการที่จะแก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้องนั้นคุณจะต้องผ่านการทดลองหลายๆแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าคุณตีลูกบอลผิดพลาดไป เช่นตีลูกบอลติดตาข่าย ลูกบอลที่ผิดพลาดลูกต่อไปนั้นไม่ควรที่จะเป็นการตีลูกบอลติดตาข่ายซ้ำอีกหน การที่ตีลูกบอลติด ตาข่ายนั้น หมายความว่าหน้าไม้คุณคว่ำมากไปที่จุดปะทะบอล วิธีการแก้ไขที่ถูกต้องก็คือ ให้ใช้มือซ้ายบิดไม้ให้หงายขึ้นสักเล็กน้อย โดยพยายามให้ หน้าไม้ขนานกับตาข่าย(ข้อสังเกตจากการใช้มือซ้ายปรับหน้าไม้นี้ มือขวาจะจับด้ามจับในลักษณะหลวมๆ เพื่อที่ด้ามจับจะเคลื่อนที่เปลี่ยนกริปได้ สะดวก และการที่คุณตีลูกบอลออกไปทางเส้นท้ายคอร์ตนั้น หมายความว่าหน้าไม้คุณหงายมากไปที่จุดปะทะบอล วิธีการแก้ไขที่ถูกต้องก็คือ ให้ใช้ มือซ้ายบิดไม้ให้คว่ำลงสักเล็กน้อย โดยพยายามให้หน้าไม้ขนานกับตาข่าย โปรดระลึกเสมอว่า การที่คุณตีลูกบอลผิดพลาดไปไม่ว่าจะเป็นการตีลูกที่ ตกไกลไปหรือตกสั้นไปนั้นเกิดมาจากหน้าไม้ที่จุดปะทะบอล ซึ่งมีผลมาจากการใช้ "มือซ้าย" ของคุณผิดพลาดไปนั่นเอง