มาตรการในการตรวจสอบสำหรับลูกเสิร์ฟ (Sorvico Chockpoints)

          1. การเสิร์ฟลูกที่สองนั้นถือเป็นการแสดงฝีมือที่แท้จริง  สังเกตดูนักเทนนิสส่วนใหญ่มักจะเสิร์ฟอัดลูกที่หนึ่งแรงมากๆ อาจจะ มีความเร็ว ถึง 100 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งยากที่จะบังคับลูกบอลได้ แต่พอเสิร์ฟลูกที่สองก็แปะพอให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไปเท่านั้น ทำไมไม่เสิร์ฟลูกที่หนึ่งให้มีความเร็ว สูงสุด เท่าที่จะสามารถบังคับลูกบอลได้ เพื่อลดความกดดันในการเสิร์ฟลูกที่สอง และในทางด้านจิตวิทยาคู่ต่อสู้ก็จะมีความกดดันในการรับ ลูกเสิร์ฟ ลุกที่หนึ่งมากกว่าในการรับลูกเสิร์ฟลูกที่สอง ผู้เล่นหัดใหม่มักจะเสิร์ฟโดยการให้แรงโน้มถ่วงของโลกดึงลูกบอลให้ลงสู่พื้นช่องเสิร์ฟสำหรับนักเทนนิส แล้วจะใช้การหมุน(Spin)ในการเสิร์ฟ เพราะการหมุนจะทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าลง(ลูกบอลจะมีแรงเสียดทานกับอากาศมากขึ้น ทำให้สามารถบังคับ ลูกบอลได้ดีขึ้น) ในสถานการณ์ที่ตกอยู่ในสภาวะของความกดดัน การตีด้วยลูกหมุนจะทำให้คุณสามารถรักษาจังหวะในการเสิร์ฟได้ดี สามารถ ควบคุม ความเร็วในการเคลื่อนที่ของแขนจากการเสิร์ฟได้ทุกๆครั้ง คุณยังสามารถที่จะตีลูกบอลให้พุ่งและตกลงในช่องเสิร์ฟได้เมื่อคุณต้องการ

          ผู้เสิร์ฟที่ดีนั้น จะต้องรู้ว่าคู่ต่อสู้ของคุณชอบหรือไม่ชอบการรับลูกเสิร์ฟแบบไหน เช่น

              (ก) สังเกตดูว่าคู่ต่อสู้ของคุณมีวงสวิงแบบไหน ถ้าเขามีวงสวิงโดยแขนห่างลำตัวก็ให้เสิร์ฟลูกเข้าตรงตัว และถ้าเขามีวงสวิงโดยแขนชิดกับ ลำตัวก้ให้เสิร์ฟลูกห่างลำตัว

              (ข) สังเกตดูว่าคู่ต่อสู้ของคุณถนัดการตีด้วยลูกท็อปสปินหรืออันเดอร์สปิน ถ้าเขาตีลูกแบคแฮนด์ด้วยลูกอันเดอร์สปินให้คุณเสิร์ฟแล้วตาม ขึ้นหน้าตาข่ายได้เลย เพราะว่าเขามีโอกาสที่จะตีลูกพลาดลอยโด่งหรือไม่ก็แค่ตีตัด(Chip)ให้ลูกตกสั้น

              (ค) ถ้าคู่ต่อสู้ของคุณจับไม้สองมือก็ให้คุณเสิร์ฟลูกสูง เพราะจะทำให้เขาต้องเอื้อมไปตีลูกบอลซึ่งเป็นการตีลูกบอลในท่าที่ไม่ถนัด สำหรับ ผู้เสิร์ฟ ที่ถนัดมือซ้ายจะได้เปรียบมากขึ้นไปอีก เมื่อยืนเสิร์ฟบนคอร์ตซ้ายโดยสามารถเสิร์ฟฉีกข้างด้านแบคแฮนด์ของผู้รับที่จับสองมือ ซึ่งทำให้ ผู้รับมีปัญหาเป็นอย่างมากในการเอื้อมไปตีลูกบอล

              (ง) ให้คุณเสิร์ฟลูกสไลซ์ฉีกไปทางโฟร์แฮนด์คู่ต่อสุ้ในกรณีที่เขาชอบวิ่งเลี่ยงแบคแฮนด์เพื่อตีด้วยโฟร์แฮนด์หรือคู่ต่อสู้ที่ชอบจู่โจม ลูกเสิร์ฟ ของคุณและพยายามขึ้นหน้าตาข่าย เพราะลูกสไลซ์จะฉีกออกข้างห่างไปจากตัวคู่ต่อสู้ของคุณ

              ในการเสิร์ฟที่ดีนั้น คุณควรที่จะฝึกตีให้ได้ทั้งสามแบบ คือ แฟลต (Flat) สไลซ์ (Slice) และ ท็อปสปิน (Topspin) เพราะในขณะแข่งขัน คุณ สามารถที่จะเสิร์ฟในแบบต่างๆเพื่อทำลายจังหวะการรับลูกของคู่ต่อสู้ได้ แต่ถ้าคุณเสิร์ฟได้เพียงแบบใดแบบหนึ่งคุณก็จะมีขีดจำกัดในการเสิร์ฟ ซึ่งจะ ทำให้คู่ต่อสู้ของคุณคาดการณ์ลูกเสิร์ฟของคุณได้ง่ายขึ้น

             2. วิธีการตรวจสอบสำหรับลูกเสิร์ฟ (Service Checkpoints) หลักสำคัญของการเสิร์ฟก็คือ"ข้อมือ" (Wrist) ครูสอนเทนนิสหลายๆคนคิดว่า ส่วนที่สำคัญที่สุดของการเสิร์ฟก็คือการโยน(Toss)ลูกบอลและครูสอนเทนนิส ก็จะให้ลูกศิษย์ฝึกแต่การโยนลูกบอลอยู่นั้นแหละ ซึ่งทำให้เสียเวลา ไปมาก

           สี่สถานการณ์ที่คุณไม่สามารถโยนลูกบอลได้อย่างสมบูรณ์แบบเลย

            (ก) ในวันที่ลมแรง ถ้าคุณโยนลูกบอลสูง ลมก็จะพัดลูกบอลหนีไป ฉะนั้นในวันที่มีลมแรงให้คุณโยนลูกบอลในระดับจุกปะทะบอลก็พอ

            (ข) ในกรณีที่แดดส่องหน้าพอดี เมื่อคุณโยนลูกบอลในท่าปกติ คุณก็จำเป็นที่จะต้องเลี่ยงการโยนลูกบอลให้หลบไปด้านใดด้านหนึ่ง ของ ดวงอาทิตย์ เพื่อป้องกันอาการตาพร่า

           (ค) ในเรื่องของจิตวิทยา เมื่อคุณมีอาการตื่นเต้น เช่น ในแต้มสุดท้ายของการแข่งขัน(Match point) หรือคุณเพิ่งจะเสิร์ฟดับเบิ้ลฟ้อลท์(Double  faults) ติดต่อกันถึงสองหน ในสภาพของความตื่นเต้นเช่นนี้จะทำให้การโยนลูกบอลของคุณเบี้ยวไปจากวิถีของการโยนลูกบอลปกติได้

           (ง) โดยทั่วๆไปแล้ว มือที่ใช้ในการโยนจะเป็นมือที่ไม่ถนัด ซึ่งจะใช้เวลาฝึกฝนนานจนกว่าคุณจะชำนาญได้ เพราะเหตุนี้ในผู้เล่นหัดใหม่และ ผู้เล่นระดับกลาง จึงไม่สามารถที่จะโยนลูกบอลให้อยู่ในจุดเดิมได้ตลอดเวลา

           ในการเสิร์ฟนั้นคุณควรที่จะสมาธิอยู่กับ"ข้อมือ"ที่จับไม้เพราะข้อมือเป็นตัวกำหนดให้ลูกบอลพุ่งไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่ข้อมือบิดไป  ไม่ว่าจะเป็นลูกบอลที่ไปทางซ้ายหรือขวา ตกลึกหรือสั้น การที่จะตีลูกบอลให้ไปทางซ้ายหรือขวานั้น ผลมาจากการบิดของข้อมือให้ไปทางซ้ายหรือทางขวา ส่วนการที่ลูกเสิร์ฟจะตกลึกหรือสั้นนั้น ผลมาจากการสะบัดข้อมือขึ้นหรือลง เช่น ถ้าคุณตีลูกบอลติดตาข่าย ก็ให้คุณแก้ไขโดยคิดว่า"ตีขึ้น"(Hit up)และ ถ้าคุณตีลูกบอลออกเลยเส้นเสิร์ฟ ก็ให้คุณแก้ไขโดยคิดว่า"หักข้อมือลง"(Snap down)อย่าลืมนะครับว่า ท่าเตรียมเสิร์ฟนั้นคุณควรที่จะพักมือขวา หรือ จับไม้หลวมๆโดยปล่อยนิ้วชี้และนิ้วก้อยออกจากด้ามจับ

            3. การเสิร์ฟลูกที่หนึ่งของพีท แซมปราส มืออันดับหนึ่งของโลก ชาวอเมริกัน แซมปราสใช้กริปคอนติเนนตัลในการเสิร์ฟ ในขณะสวิงไม้ไป ข้างหลังเพื่อจะเสิร์ฟ คุณควรจะยกข้อศอกให้สูงเอาไว้จนครบวงสวิง เพราะถ้าศอกต่ำจะทำให้วงสวิงไม้แคบและขาดกำลัง

            4. การเสิร์ฟลูกที่หนึ่งของกอแรน อีวานีเซวิค (Goran Ivanisevic) กอแรนนักเทนนิสชาวโครเอเชีย มืออันดับ 5 ของโลก ในเดือนมกราคม 2538 กอแรนเป็นนักเทนนิสถนัดมือซ้ายที่สารถเสิร์ฟเอซ(Ace คือลูกเสิร์ฟที่คู่ต่อสู้รับไม่ได้เลย)ได้มากที่สุดถึง 957 ครั้งในปี 2535 โดยเฉลี่ย 13.3 ครั้งต่อแมตซ์แข่งขัน เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะ

1. กอแรนสามารถหลอกคู่ต่อสู้จากการโยนลูกบอลได้ดี และเขาสามารถวางทางได้ในทุกๆทิศทาง
2. กอแรนสามารถเสิร์ฟได้รุนแรงทั้งสองมุมไม่ว่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟเข้ากลางหรือเสิร์ฟฉีกออกข้าง
3. เขาสูง 190 ซม. ทำให้มุมกดลูกเสิร์ฟได้ดี

ท่าที่ 1

กอแรนมองตำแหน่งคู่ต่อสู้ในเสี้ยววินาทีที่เขาเริ่มลดหัวไม้ และมือขวาที่ถือลูกบอลเริ่มที่จะยกขึ้น

ท่าที่ 2

ทันทีที่กอแรนปล่อยลูกบอลออกจากมือขวา เขาเริ่มถ่ายน้ำหนักตัวมาที่เท้าหน้า จะสังเกตเห็นว่าปลายเท้าหน้ากดลงที่พื้นพร้อมกับ ย่อเข่า ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการที่เขาจะกระโดดขึ้นตีลูก ตาจ้องอยู่ที่ลูกบอล

ท่าที่ 3

น้ำหนักตัวทั้งหมดอยู่ที่เท้าหน้า ในขณะเดียวกันลากเท้าหลังเข้ามาชิดเท้าหน้าปลายเท้าซ้ายแตะพื้น เขาหมุนไหล่และสะโพกซึ่ง เป็นจังหวะช่วยเสริมพลังในการเสิร์ฟ มือขวาเหยียดตรงจึงทำให้การโยนของกอแรนแน่นอน

ท่าที่ 4

กอแรนเริ่มที่จะยืดตัวขึ้นในขณะที่เขาเคลื่อนเท้าหลังมาขนานกับเท้าหน้า พร้อมกับโถมตัวเข้าไปในคอร์ตก่อนที่จะเริ่มหมุนไหล่

ท่าที่ 5

กอแรนกระโดดเข้ามาในคอร์ต มือขวาเริ่มที่จะลดต่ำลง ศอกซ้ายยกสูง ไหล่ซ้ายเริ่มหมุนเข้าตีลูกเพื่อช่วยเพิ่มพลัง

ท่าที่ 6

กอแรนลอยพ้นพื้น แขนขวาลดต่ำลง ศอกงอ ไหล่ซ้ายหมุนอย่างต่อเนื่อง หน้าอกเกือบขนานกับตาข่ายแล้ว

ท่าที่ 7

ที่จุดปะทะบอล กอแรนหมุนไหล่และสะโพก ซึ่งขณะนี้เกือบจะขนานกับตาข่าย เขาไม่ได้โยนลูกบอลสูงนักทำให้ปะทะลูกบอลที่ ปลายไม้ แขนซ้ายและไม้เหยียดตึงเป็นเส้นตรงเดียวกับเท้าขวาหน้าเริ่มมองไปข้างหน้าซึ่งเร็วเกินไปเล็กน้อย หากคุณเป็น ผู้เล่นระดับกลาง ผมแนะนำให้คุณเงยศีรษะดูจุกปะทะบอลในจังหวะนี้

ท่าที่ 8

กอแรนหักข้อมือ(Snap down)ผ่านลูกเสิร์ฟ เขาเพิ่มพลังการเสิร์ฟและการหมุนของลูกบอล โดยบิดแขนส่วนล่างออกไปด้านนอก ลำตัว(Pronation)นิ้วหัวแม่มือชี้ลงพื้น เข่าหลังเริ่มงอเล็กน้อย ลงสู่พื้นด้วยเท้าขวา ในการเสิร์ฟลูกที่หนึ่ง กอแรน อีวานีเซวิค  ใช้กริปคอนติเนนตัล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตอนที่ 12 หัวข้อที่ 1.4 เพื่อที่ว่าเมื่อวิ่งขึ้นสู่หน้าตาข่ายแล้ว การตีฮาล์ฟ-วอลเล่ย์  วอลเล่ย์หรือลูกตบเหนือศีรษะเหล่านั้นล้วนก็ใช้กริปคอนติเนนตัล ซึ่งเขาไม่ต้องเสียเวลาในการเปลี่ยนกริปเลย

         5. การเสิร์ฟลูกที่หนึ่งของ จีจี้ เฟอร์นันเดส (Gigi Fernandez)  เฟอร์นันเดสนักเทนนิสสาวชาวอเมริกัน ซึ่งมีผลงานการแข่งขันในประเภทคู่ ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่งในโลกเทนนิสหญิงปัจจุบัน เธอเป็นมืออันดับหนึ่งของโลกในประเภทคู่ ในเดือนมิถุนายน 2537 เป็นการแสดง ให้เห็นว่าเธอ มีการเสิร์ฟที่ค่อนข้างแน่นอน และการตามลูกเสิร์ฟขึ้นหน้าตาข่ายที่เต็มไปด้วยความต่อเนื่อง

ท่าที่ 1

เฟอร์นันเดสโยนลูกบอลขึ้นเหนือศีรษะหน้าตัวเล็กน้อยพร้อมกับยกไม้ขึ้นในลักษณะคว่ำหน้าไม้และคว่ำฝ่ามือ น้ำหนักตัว อยู่ที่ เท้าซ้ายมากกว่า

ท่าที่ 2

เฟอร์นันเดสย่อเข่าทั้งสองข้างลง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้ายมากกว่า ไม้ในมือถูกเหวี่ยงออกไปโดยหัวไม้ชี้ขึ้นฟ้าผ่านไปทางด้านหลัง ศอกขวากางสูง

ท่าที่ 3

เฟอร์นันเดส เริ่มสปิงต้วขึ้นพร้อมกับเหวี่ยงไม้ต่อไปทางด้านหลังอีก มือซ้ายเริ่มลดต่ำลง

ท่าที่ 4

เฟอร์นันเดสอยู่ในจังหวะเงื้อไม้เต็มที่โดยศอกขวาชี้ฟ้าหน้าไม้อยู่ที่ด้านหลังชี้ลงพื้นพร้อมกับยืดเข่าขึ้นเพื่อตีลูกบอล

ท่าที่ 5

เท้าของเธอสปิงขึ้นจนลอยพ้นพื้นพร้อมกับเริ่มเหวี่ยงไม้ออกมาตีลูกบอล โดยศอกขวาเคลื่อนที่สูงชี้มาทางด้านหน้า แขนซ้ายที่ ลดระดับลงพื้นเริ่มงอ

ท่าที่ 6

เฟอร์นันเดสเงยหน้าค้างไว้จนกว่าจะตีถูกลูกบอล ปะทะบอลอยู่หน้าตัวแขนขวาและไม้เหยียดตึง แขนซ้ายค่อยๆลดต่ำลงแนบ ลำตัว

ท่าที่ 7

เฟอร์นันเดสหักข้อมือลง(Snap down)โดยหัวไม้บิดไปทางขวามือ(Pronation)น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้ายและเข้ามาในคอร์ต ตามอง ตามลูกบอลไปข้างหน้า

ท่าที่ 8

ฟอลโล่ว์ทรูโดยปล่อยให้หัวไม้ชี้ลงพื้นไปทางซ้ายมือในท่าสบายๆพร้อมกับก้าวเท้าขวาเพื่อวิ่งขึ้นไปทางหน้าตาข่าย

            ในการเสิร์ฟลูกนั้น จีจี้ เฟอร์นันเดส จะใช้กริปคอนติเนลตัล เพราะการเล่นประเภทคู่นั้นเป็นเกมเร็ว หลังเสิร์ฟลูกแล้วจะต้องตามขึ้นหน้า ตาข่ายทุกลูก

             6. การเสิร์ฟลูกที่สองของมิเคล สติกค์ (Michael Stich)  สติกค์เป็นแชมป์ชายเดี่ยววิมเบิลดัล ในปี 2534 มืออันดับ 2 ของโลก ในเดือน มิถุนายน 2537 เป็นนักเทนนิสชายที่เสิร์ฟแล้วตามขึ้นหน้าตาข่าย นอกเหนือจากการมีลูกเสิร์ฟลูกแรกด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 ไมล์/ชม.แล้วสติกค์ ยังมีลูกเสิร์ฟ ลูกที่สองที่มีประสิทธิภาพมาก

ท่าที่ 1

สติกค์เริ่มโยนบอลโดยไม้แยกไปทางด้านหลัง หัวไม้ชี้ลงพื้น น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวามากกว่า

ท่าที่ 2

มือซ้ายปล่อยลูกบอลระดับเหนือศีรษะ แขนซ้ายงอเล็กน้อย เหวี่ยงไม้ต่อไปทางด้านหลัง หัวไม้ยังคงชี้ลงพื้น เข่างอทั้งสองข้าง น้ำหนักตัวอยู่ระหว่างเท้าทั้งสองเป็นจังหวะที่เริ่มถ่ายน้ำหนักตัวไปสู่เท้าซ้าย

ท่าที่ 3

แขนซ้ายเหยียดตึงชูขึ้นตามลูกบอล เงยหน้าดูบอล ไม้ชี้ไปที่รั้วด้านหลัง น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้ายมากกว่า

ท่าที่ 4

พับศอกขวาโดยหัวไม้ชี้ขึ้นฟ้าศอกขวาและแขนซ้ายเป็นเส้นตรงเดียวกันลากเท้าขวามาคู่กับเท้าซ้าย น้ำหนักตัวอยู่ที่ เท้าซ้าย มากกว่า

ท่าที่ 5

กระโดดเท้าทั้งคู่ลอยขึ้นจากพื้น เริ่มตีลูกบอลโดยยกศอกขวาขึ้นสูง ไม้ชี้ลงพื้น มือซ้ายเริ่มลดต่ำลง เงยหน้าค้างไว้จนกว่าจะตีถูก ลูกบอล ลูกจะลอยอยู่เหนือศีรษะค่อนไปทางซ้ายมือ

ท่าที่ 6 และท่าที่ 7

สติกค์ตีไม้ขึ้นด้านบน(Hit up)พร้อมกับหักข้อมือและบิดไม้ไปทางขวามือ(Pronation)หน้าไม้อยู่ในแนวเกือบจะขนานกับพื้น น้ำหนักตัวเมื่อลงพื้นจะอยู่ที่เท้าซ้ายและเข้ามาในคอร์ต ตามองตามลูกบอลไปข้างหน้า

ท่าที่ 8

ฟอลโล่ว์ทรูโดยปล่อยให้หัวไม้ชี้ลงพื้นไปทางซ้ายมือในท่าสบายๆพร้อมกับก้าวเท้าขวาเพื่อวิ่งขึ้นไปทางหน้าตาข่าย

            ในการเสิร์ฟลูกที่สองของ มิเคล สติกค์ เขาใช้กริปคอนติเนนตัล เช่นเดียวกับการเสิร์ฟลูกที่หนึ่ง ถ้าเปรียบเทียบกับหน้าปัดนาฬิกาสติกค์จะตี ปาดลูกจากเลข 7 ขึ้นไปที่เลข 1 เป็นการตีลูกผสมท็อปสปินกับสไลซ์ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกบอลกระดอนสูงและดีดออกไปทางด้านข้างสนาม สติกค์ใช้ในการ เสิร์ฟ จากคอร์ตซ้ายมือไปยังแบคแฮนด์ของคู่ต่อสู้และบีบคู่ต่อสู้ให้ออกไปตีนอกคอร์ต สติกค์เหวี่ยงไม้ไปข้างหลังในจังหวะที่ช้า จึงทำให้เขาต้องโยน ลูกบอลสูงขึ้นกว่าปกติ เพื่อที่จะตีลูกบอลให้ได้จังหวะพอดี