1.   การเลือกอุปกรณ์

      1.1   ไม้เทนนิส (Racquet) วิวัฒนาการไม้เทนนิสในอดีต

             1.1.1   น้ำหนักเหมาะสมกับอายุและรูปร่างของผู้เล่น ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป (ประมาณ 11-13 ออนซ์ สำหรับผู้ใหญ่)

             1.1.2   ควรคำนึงถึงคุณภาพของไม้มากกว่าราคา เช่น เราต้อการไม้ที่ใช้พลัง หรือให้ความรู้สึกในการบังคับลูก

             1.1.3   ขนาดกริป (Grif Size) ควรพอเหมาะกับผู้เล่น วิธีวัดง่ายๆก็คือวางไม้บรรทัดตรงกลางระหว่างนิ้วกลางกับนิ้วนาง แล้ววัดความยาวจาก ปลายนิ้วนางไปหาเส้นลายมือ เส้นกลางฝ่ามือ (ขนาดของกริปจากเล็กไปหาใหญ่)

            1.1.4   บริษัทส่วนใหญ่จะมีไม้ตัวอย่างให้ลองตีดูก่อน เราควรที่จะปรึกษาผู้มีความรู้หรือโค้ช ต้องศึกษาส่วนประกอบของไม้

            1.1.5   ไม้เทนนิสปัจจุบันทำด้วยวัสดุหลายๆประเภท เช่น คาร์บอน โบรอน และกราไฟท์ จึงควรที่จะอ่านคุณสมบัติของไม้ก่อนที่จะซื้อ และ ควรปรึกษาผู้มีความรู้

            1.1.6   ขนาดความกว้างของหน้าไม้จะมี 3 ขนาด คือ ขนาดมาตรฐาน กลาง และหน้ากว้าง นักเทนนิสปัจจุบันนิยมขนาดกลาง (สำหรับผู้ที่ชอบ ตีอัดลูก) หน้ากว้างเหมาะสำหรับผู้ที่ตีป้ายลูกโดยอาศัยจังหวะที่ดี การที่มีจุดตีลูก (Sweet Spot) ที่กว้างกว่าจะทำให้ตีลูกได้แรงขึ้น

           1.1.7   ขอบไม้ถ้าสันโต มักจะถูกสร้างเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนของไม้ในขณะปะทะลูกซึ่งทำให้ตีลูกออกไปได้อย่างเต็มกำลังและมี ประสิทธิภาพ

           1.1.8   เอ็นจะมีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ เอ็นไนล่อน เอ็นสังเคราะห์ และเอ็นแท้ (Gut ซึ่งทำจากลำไส้สัตว์ เช่น แกะ) เอ็นแท้จะมีความยืดหยุ่น ในการตีได้ดีกว่า ไม่ทนทานและมีราคาแพงกว่า ความหนาของเอ็นที่นิยมใช้ คือ เบอร์ 15,16 เบอร์ที่มีตัวเลขน้อยกว่าจะมีความหนาของเอ็นมากกว่า

           1.1.9   ความตึงของเอ็น ให้ขึงตามที่บริษัทแร็กเก็ตแต่ละชนิดระบุมาให้ เพื่อประสิทธิภาพที่ดี และความทนทานในการใช้งานและควรขึงเอ็นตามแบบที่กำหนดให้จากทางบริษัทที่ผลิตแร็กเก็ต (ข้อแนะนำเหล่านี้จะมีติดแนบมากับไม้) นิยมใช้มาตรา "ปอนด์" และ "กิโลกรัม" การขึงเอ็นตึงจะทำให้มีการควบคุมลูกบอลได้ดีกว่า การขึงเอ้นหย่อนจะทำให้มีพลังงานมากกว่า

     1.2   ลูกบอล หากทำการฝึกซ้อม ควรเลือกลูกบอลเกรด B ที่ไม่บรรจุกระปํองมาขายเพราะคุณภาพใช้ได้และราคาถูก (คุณภาพลูกบอลที่ดีเมื่อปล่อย ลูกบอล ในความสูงจากพื้น 100 นิ้ว ลูกบอลจะกระดอนสูงจากพื้น 53-58 นิ้ว)สำหรับนักเทนนิสแข่งขัน ควรสอบถามให้แน่ชัดว่า การแข่งขันครั้งต่อไป จะใช้ลูกบอลยี่ห้ออะไร เพื่อว่าจะได้ซ้อมให้เกิดความเคยชินอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์

     1.3  เครื่องแต่งกาย ผู้ชายจะนิยมสวมกางเกงขาสั้น ผู้หญิงจะนิยมสวมกระโปรง หรือกางเกงขาสั้น ทั้งชายและหญิงจะต้องสวมเสื้อคอปกเมื่อลงทำการแข่งขัน โดยทั่วๆไปจะมีกฎข้อบังคับให้สวมใส่เสื้อผ้าที่มีพื้นสีขาว 80 % ควรเป็นผ้าที่ซับเหงื่อ และระบายความร้อนได้ดี มีการยืดหยุ่นในการเคลื่อนที่

     1.4  ถุงเท้า ควรเป็นถุงเท้าที่หนา เพื่อป้องกันการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าในขณะวิ่ง

     1.5   รองเท้า ควรจะลองสวมเมื่อใส่ถุงเท้าหนาด้วยขนาดกระชับพอดี ไม่คับ ไม่หลวมเกินไป ควรเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับชนิดสภาพสนาม ที่ใช้เล่นหรือแข่งขัน หมั่นตรวจสอบรักษาความสะอาดถุงและรองเท้า ถ้าเป็นนักเทนนิสที่มีเหงื่อมากควรจะซักรองเท้าอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์

 

2. วิธีรักษาไม้เทนนิสและเอ็น

       2.1  ควรเก็บไม้เทนนิสไว้ในซองไม้ทุกครั้งที่เล่นเสร็จ

       2.2  ทาเทียนไขที่เอ็นเพื่อป้องกันความชื้น

       2.3  ไม่วางเก็บไว้ในที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพราะการขยายตัวหรือหดตัวของไม้จะทำให้ไม้เสื่อมสภาพได้ง่าย

       2.4  ไม่วางไว้ในที่ๆมีอากาศชื้น จะทำให้เอ็นเสื่อมสภาพ

       2.5  ขณะเล่น พยายามเช็ดเหงื่อไม่ให้ไหลจากมือไปเปียกที่ด้ามจับ เพราะจะทำให้สูญเสียความรู้สึกในการจับที่ด้ามจับ และอาจจะทำให้ ไม้เทนนิสหลุดมือได้ง่าย อีกทั้งยังอาจจะทำให้หนังที่ด้ามจับมีกลิ่นเหม็นหรืออาจเกิดเชื้อราขึ้นได้

       2.6  หมั่นตรวจสอบดูคุณภาพของเอ็น และนักเทนนิสควรจะรู้อายุการใช้งานของเอ็นแต่ละเส้นจะได้มีไม้สำรองเมื่อเอ็นขาดในขณะแข่งขัน

       2.7  นักเทนนิสระดับแข่งขันที่เดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศ ควรจะมีไม้ประมาณ 4-6 อัน เป็นอย่างน้อย