ทฤษฎีทางฟิสิกส์ของเกวียนใช้หลักการของล้อและเพลา

           หลักการของล้อและเพลา  ประกอบด้วยวัตถุรูปรงกระบอกขนาดต่างกัน 2 อัน  สวมติดอยู่ด้วยกันบนแกนอันเดียวกัน  ทรงกระบอกอันใหญ่คือล้อ  ส่วนอันเล็กเป็นเพลา แต่เนื่องจากทั้งคู่อยู่บนแกนเดียวกันดังนั้น  เมื่อล้อหมุน 1 รอบ เพลาจะหมุน 1 รอบเช่นกัน  สำหรับการใช้งานเราจะออกแรงดึงเชือกที่พันรอบ ๆ ล้อ  แล้วส่วนของเพลาจะมีเชือกพันรอบ ๆ เพื่อดึงของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ขึ้น หมายความว่าเมื่อออกแรงแล้วจะได้งานคือน้ำหนักของที่ยกขึ้นจึงจัดเป็นเครื่องกลประเภทหนึ่ง  หากไม่คิดถึงความเสียดทานและน้ำหนักตัวของเครื่องกลแล้ว  งานที่กระทำหรือแรงที่ออกไปให้กับเครื่องกลออกมาเท่ากับงานที่ได้เสมอ

       R  = รัศมีของล้อ                               r = รัศมีของเพลา

       W = น้ำหนักของวัตถุที่ต้องการยก     E = แรงที่ใช้ยกน้ำหนักหรือแรงพยายาม

               หรือความต้านทาน

 

 

 

 

เมื่อหมุนไป 1 รอบ ของทั้งล้อและเพลา  ล้อจะไปได้ทาง 2 R  ส่วนเพลาไปได้ 2 r

 จากหลักของงาน  ซึ่งไม่คิดแรงเสียดทา

งานที่ใช้ไป  =  งานที่ได้

   E x 2R   =  W x 2r

     E x R = W x r

 

    การได้เปรียบเชิงกล หรือ M.A. = W  = R

                                                          E      r

จะเห็นได้ว่า  ถ้ารัศมีของล้อยิ่งมาก  การผ่อนแรงจะยิ่งมาก

ประโยชน์ของภูมิปัญญาชาวบ้าน

 

เกวียน  มีประโยชน์ดังนี้

1. ช่วยผ่อนแรงได้มาก

2. สามารถดึงของที่มีน้ำหนักมาก ๆ

3. เป็นเครื่องกลประเภทหนึ่งที่หากไม่คิดถึงความเสียดทานและน้ำหนักตัวของเครื่องกลแล้ว  งานที่กระทำหรือแรงที่ออกไปให้กับเครื่องกลออกมาเท่ากับงานที่ได้เสมอ

4. ช่วยในการบรรทุกขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก