"มด" เป็นสัตว์ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้ง ๆ ที่มดเป็นแมลงที่มีความผูกพันกับคนมาเป็นเวลาช้านานแล้ว แต่ไม่มีคนทำการศึกษาเกี่ยวกับมดอย่างจริงจัง ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับมดมีไม่มากเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยแนวความคิดนี้ทำให้ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา ได้เริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2544
โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างมดจากทั่วประเทศ
2. เพื่อเก็บรวบรวมตัวแทนสกุลมดจากประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบเอเซียตะวันออก เฉียงใต้
3. เพื่อศึกษาด้านอนุกรมวิธาน ชีววิทยา และนิเวศวิทยาของมด
4. เพื่อเป็นแหล่งความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อตนเองและประเทศชาติ
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษามดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
พิพิธภัณฑ์มด จัดแสดงตัวอย่างมดตามกลุ่มเป้าหมายและการใช้ประโยชน์
โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- กลุ่มแรก เป็นการจัดตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ สำหรับนักอนุกรม วิธานมดเท่านั้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี
- กลุ่มที่สอง เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในประเทศไทย สำหรับนักวิจัยแมลงทั่วไป นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา เป็นต้น โดยจัดแสดงไว้ที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี
- กลุ่มสุดท้าย เป็นการจัดแสดงตัวอย่างมดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับประชาชนทั่วไป จัด แสดงไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์มด ตึกวินิจวนันดร โดยเป็นการจัดเชิงประยุกต์ภายใต้แนวความคิดใหม่ เช่น มดกับสิ่งแวดล้อม มดกับมนุษย์ การประยุกต์ใช้มดกับงานด้านต่างๆ เป็นต้น เพื่อแสดงให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย มุ่งเน้นการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บรวบรวมตัวอย่าง
![]()
ลักษณะตัวอย่างมด ที่นำมาจัด แสดง มีทั้งตัวอย่างมดเปียก ซึ่งเป็น
ตัวอย่างมดแบบชั่วคราวมี ประมาณ 100,000 กว่าตัว และตัวอย่างมดแห้ง เป็นการเก็บตัวอย่างแบบถาวร
และจัดใน รูปแบบมาตรฐานสากลของนักอนุกรมวิธาน มด โดยจะมีการบันทึกข้อมูลด้านต่างๆ
ประกอบด้วย สถานที่ ประเทศ วันเดือนปี ชื่อผู้เก็บ ชื่อชนิดมด ชื่อผู้จำแนก ซึ่งใน
พิพิธภัณฑ์มดมีตัวอย่างมดแห้งมากกว่า 20,000 ตัว
สำหรับสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มด นี้มี 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการใช้ ประโยชน์ของผู้เยี่ยมชม
ดังนี้
- ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยาป่าไม้ ตึกวนศาสตร์ 60 ปี สำหรับนักวิจัย
- ห้องพิพิธภัณฑ์มด ชั้น 2 ตึกวินิจ วนันดร สำหรับประชาชนทั่วไป
- พิพิธภัณฑ์มด เปิดให้เข้า ชมฟรี ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00- 16.00 น. สำหรับวันหยุดต้องติดต่อเป็น กรณีพิเศษ โดยทุกครั้งที่มีการเยี่ยมชมจะมี ผู้บรรยายตลอดการเข้าชม สนใจสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อขอเข้า เยี่ยมชมได้ที่ รศ.เดชา วิวัฒน์วิทยา ภาควิชาวนชีววิทยาป่าไม้ คณะวน ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0176 โทรสาร 0-2942-8107 E-mail address : ffordew@ku.ac.th