ความหมายของนิเวศวิทยา .....
คำว่า Ecology ได้รากศัพย์มาจากภาษากรีก คือ Oikos และ Olgy ซึ่ง Oikos หมายความถึง "บ้าน" หรือ "ที่อยู่อาศัย"และ Ology หมายถึง "การศีกษา" Ecology หรือ นิเวศวิทยาจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยการศึกษาสิ่งมีชีวิตในแหล่งอาศัยและกินความ กว้างไปถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อม ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ความหมายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นดำรงชีวิตอยู่ ระบบนิเวศนั้นเป็นแนวคิดที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกและส่วนย่อยของโลก เพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น ระบบนิเวศหนึ่ง ๆนั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น สระน้ำแห่งหนึ่ง เราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณสระน้ำที่มันอาศัยอยู่ โดยมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่นๆ ด้วยขอบสระ แต่ความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยน้ำฝนที่ตกมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ใหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระ ตัวอ่อนของยุง และลูกกบตัวเล็กๆอาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก สระน้ำนี้จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติ ที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (ecosystem) ระบบนิเวศอาจมีขนาดใหญ่ระดับโลก คือ ชีวาลัย (bosphere) ซึ่งเป็นบริเวณที่ ห่อหุ้มโลกอยู่ และสามารถที่ขบวนการต่างๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้ หรืออาจมีขนาดเล็กเท่าบ่อน้ำแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
1. ระบบนิเวศทางธรรมชาติและไกล้ธรรมชาติ (Natural and Seminatural ecosystems) เป็นระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะทำงานได้
1.1 ระบบนิเวศแหล่งน้ำ (Aquatic ecosystem) - ระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทร แนวปะการัง ทะเลภายในที่เป็นน้ำเค็ม - ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ
1.2 ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystems) - ระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ - ระบบนิเวศบนบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย
2. ระบบนิเวศเมือง อุตสาหกรรม (Urbanindustrial ecosystems) เป็นระบบที่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น ่น้ำมันเชื้อเพลิง พลังนิวเคลียร์ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่
3.ระบบนิเวศเกษตร (Agicultural ecosystems) เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรมชาติขึ้นมาใหม่

องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1.1 อนินทรยีสาร เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและออกซิเจน เป็นต้น
1.2 อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และฮิวมัส เป็นต้น
1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น เป็นต้น
2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (botic componant) แบ่งออกได้เป็น
2.1 ผู้ผลิต (producer) คือพวกที่สามารถนำเอาพลังงานมาสังเคราะห์อาหารขึ้นเอง ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด เป็นต้น
2.2 ผู้บริโภค (consumer) คือ พวกที่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง ได้แก่ พวกสัตว์ต่างๆ แบ่งได้เป็น ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย วัว ควาย และปลาที่กินพืชเล็ก ๆ ฯลฯ - ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากกากินเนื้อสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อ ฯลฯ - ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumer) เป็นพวกที่กินทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ เป็นสัตว์ที่อยู่อันดับสุดท้ายของการถูกกิน เช่น มนุษย์
2.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกไม่สามารถปรุงอาหารได้แต่จะกินอาหารโดยการผลิตเอนไซน์ออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่างๆ ในส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต แล้วจึงดูดซึมไปใช้เป็นสารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยไปสู่ระบบนิเวศ

ความสมดุลของระบบนิเวศ
คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของระบบนิเวศคือ มีกลไกในการปรับสภาวะตัวเอง (self-regulation) โดยมีากฐานมาจากความสามารถของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งเป็นองค์ปะกอบของนิเวศนั้นๆ คือ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย ในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหาผ่านสิ่งมีชีวิต ถ้าระบบนิเวศนั้นได้รับพลังงานอย่างเพียงพอและไม่มีอุปสรรคขัดขวางวัฆจักร ของธาตุอาหารแล้วก็จะทำให้เกิดสภาวะสมดุล (eqilibrium) ขึ้นมาในระบบนิเวศนั้น ๆ

ที่มา http://www.tungsong.com