อักษรล้านนา ( ตั๋วเมือง )

 

ลักษณะตั๋วเมืองมีลักษณะแปลกไปจากอักษรที่มีใช้อยู่ในโลก คือ มีตัวสะกดซ้อนอยู่ข้างล่าง ลักษณะ 3 ชั้นเรียกว่า " ตัวข่มตัวซ้อน "

พระภิกษุสงฆ์นักจะหัดเขียนธรรม คือ การจารตัวหนังสือลงในภาพ

การจาร

อุปกรณ์ที่ใช้

1." เหล็กจาร " มีลักษณะเป็นไม้สัก หรือไม้ประดู่แดง กลึงเป็นรูปกลม เรียว แหลม เหมือนกรวย แกะสลักรูปลายไทสวยงาม ตรงปลายใส่เหล็กกล้าเป็นลิ่มเล็กฝนตรงปลายให้แหลมคม เรียกว่า
" เหล็กไน " ส่วนมากจะใช้เข็มแผ่นเสียง
2." ค้างธรรม " คือ หิ้งสำหรับวางต้นฉบับ ทำด้วยไม้ 3 ขา สูงประมาณ 60 เซนติเมตร พอเหมาะแก่ระดับสายตา
3." ขี้ผึ้ง " หรือ " ขี้ตังนีเหนียวหนึก " ปั้นเป็นลูกกลมขนาดเม็ดข้าวโพด ใช้แปะต้นฉบับ เป็นเครื่องหมายไม่ให้หลงตาในขณะทีจาร
4.น้ำมันสน
5.ถ่านดำ นำมาทำเป็นผงเพื่อใช้ในการลบตัวอักษร โดยการบดเป็นผงละเอียดจากนั้นนำมาผสมด้วยนำมันสนพอเหลวข้น
6.สำหรับผู้ที่ฝึกหัดใหม่จะต้องนำใบลานไป " ตีผะตั๊ด " คือ ทำบรรทัดเพื่อให้จารไม่คดโค้งขึ้นลง

วิธีจาร

เมื่อเขียนข้อความหรือเรื่องราวต่างๆ ด้วยเหล็กจารซึ่งจะมีร่องรอยขีดเจาะลึกลงไปเป็นรูปตัวอักษร แล้วนำไปลบด้วยของที่มรส่วนผสมของนำมันสนกับผงถ่านดำบดละเอียด โดยการนำผ้ามาชุบของเลหวนี้แล้วทาลงบนร่องรอยที่จาร เพื่อให้หมึกเข้าไปเกาะจับอยู่ในร่องที่ผ่านกรรมวิธีนี้แล้ว ใช้ผ้าชุบน้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าดเช็ดถูหมึกที่ไม่ต้องการออกทิ้ง เพื่อให้สะอาดหมดจด จะทำให้อ่านตัวอักษรชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องนำใบลานไปเช็ดถูด้วยทรายละเอียดอ่อนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้จารจะสามารถสังเกตเห็นผลงานของตนเองได้อย่างชัดเจนก็ในขั้นตอนนี้ จากนั้นนำมาเรียงหน้าตามลำดับขั้นตอน หา " สายสยอง " คือ ฝ้ายขาวหรือฝ้ายแดงที่ฝั้นเป็นเกลียวมาสอดเข้ารูใบลานด้านซ้ายมือ มัดขอดตรงปลายมิให้ใบลานแตกพลัดออกจากกันปกติใบลานจะเจาะรูเป็น ๒ รู ซ้ายขวาไว้ก่อนแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อักษรล้านนาในที่นี้จะขอเรียกว่า "ตั๋วเมือง"
การเขียนตั๋วเมือง

การเขียนตั๋วเมืองโดยทั่วไปถ้าเขียนกับกระดาษที่มีเส้นที่มีเส้นบรรทัดจะเขียนห้อยลงจากเส้นบรรทัด มักเขียนตรงที่มีส่วนหัวหรือส่วนที่กลม ๆ ก่อน


กลุ่มบุคคลที่เป็นนักอนุรักษ์ล้านนา              คุณสมัย       มูลคำ    คุณไพโรจน์    มูลคำ    คุณศิริพงศ์    วงศ์ไชย   เขียนคำอวยพรปีใหม่ด้วยตั๋วเมือง