บันทึกย่อโครงการ
วันที่ 25 กันยายน 2546 ได้ทราบข่าวการแข่งขัน เย้เสร็จไปอีกหนึ่งงานแล้วหวังว่าพวกเราคงจะทำ
ได้ดีกันนะเรื่องช่วยดูแลสุขภาพอนามัยของคนใน
โรงเรียนนี้ ทั้งตรวจสอบอาหาร และก็ตรวจสอบน้ำเสีย
บริเวณโรงเรียนว่าแต่ว่า คุณครูจตุพลก็ฝากการบ้าน
มาให้คิดในวิชาคอมพิวเตอร์ 1 ข้อ ยังไม่ได้ทำเลย
โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กโทนิกส์ และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ให้ร่วมกลุมกับเพื่อน ๆ คิดเรื่องที่เราสนใจต้องการเผย
แพร่ทางเว็บไซต์ เอ! เรื่ออะไรดีน้า ไปถามเพื่อน ๆ พรุ่งนี้ดีกว่า
             ฟาน
      (ปัทมาภรณ์ จุมปา)
(วันต่อ ๆ มา) วันนี้ฟานมาชวนรวมกลุ่มทาโครงการเรื่องที่นักเรียนสนใจและ
สามารถศึกษาได้แล้วยังนำเสนอในรูปของงานทางคอมพิวเตอร์
น่าสนใจดีจัง เราก็คิดมาแล้วละที่คุณครูจตุพลให้การบ้านมา ไปชวน 
เพื่อน ๆ มาได้อีกตั้ง 4 คน รวมกับฟาน 1 ก็ได้ 6 คนพอดี มีเรา ฟาน
ใหญ่ กิ่ง กว้าง และบี แหม… เห็นหน้ากันทุกวัน เจอเมื่อไหร่ก็อยู่หน้า 
จอคอมพิวเตอร์ งั้นทำให้เป็นเรื่องราวที่ได้ประโยชน์เลยดีกว่า แต่ละ
คนเซียนทั้งนั้น แต่ละหัวข้อล่ะ ฟานก็ไม่ได้น่ำ เราก็ไม่ได้ แล้วใครจะได้ล่ะ
             ดอย
      (เวียงพิงค์ กันทากาศ)

(สามวัน ต่อมา) วันนี้พวกเรา 6 คนที่จะทำโครงการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มารวมตัวเป็นภาคี
(เหมือนแฮรี่ พอตเตอร์) พวกเราขอคุณครูจตุพลเป็นที่ปรึกษา ครูเอตกลง
พร้อมกับชมเราด้วย (เก่งมากครับ) ฟานกับดอยยังคิดเรื่องไม่ได้ ครูเอก็เลย
ถามทุกคนว่าสนใจอะไร แต่เราสนใจเรื่องผ้าน่ะ เราเห็นคนทอผ้าและผ้าของ
ลำพูนก็ขึ้นชื่อด้วย พรุ่งนี้เอาไปเสนอดีกว่า จังหวัดอื่น ๆ จะได้รู้ด้วยว่าผ้าของ
ลำพูนเจ๋งแค่ไหน
                 กิ่ง
       (กาญจน์กมล สินปักสา)

(วันต่อ ๆ เรื่อย ๆ )

อิ่มจังเลยครับ ! วันนี้ไปเที่ยวบ้านกว้าง เอ้ย ไม่ใช่ ไปทำการบ้านที่บ้านของกว้าง
ด้วยกัน ปลาทอดอร่อยมาก กว่างบอกว่าเมื่อก่อนก็ไปตกปลาจากน้ำกวงแถวบ้าน
นี้เอง ทั้งผม กว้าง ใหญ่ ก็เลย ขี่รถมอเตอร์ไซด์ ไปดูน้ำกวงเพื่อย่อยอาหาร
(ไม่รู้ย่อยได้จริงมั้ย) บางช่วงก็ดูดีน่ะแต่บางช่วงก็ไม่ค่อยสะอาดกว้างบอกว่า
บางครั้งโรงงานนิคมอุตสาหกรรมก็ปล่อยน้ำมา แย่ จังเลยแต่กว้างก็บอกว่ามี
หลายฝ่ายให้ความร่วมมือช่วยกันน่ะ ตรวจสอบ ดูแล รักษา
(แล้วกว้างทำอะไรบ้างมั้ยเนี่ย)
                  บี
        (ธวัชชัย สุทธดุก)

( สองวัน ต่อมา)

คุณครูจตุพลนัดประชุมกลุ่มโครงการ แต่พวกเราอยากเรียกว่า ภาคีมากกว่านะ
เท่ดี ผมกลับไม่คิดเรื่องที่บีถามผมว่า ผมได้ทำอะไรบ้างมั้ย เรื่อแม่น้ำกวง
ก็เลยเอามาคุยกันในกลุ่มทุกคนสนใจมาก เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นภาคีแม่น้ำกวง
พวกเราจะช่วยกันตรวจสอบดูคุณภาพน้ำ ฟานเคยทำในโครงการรักษาสุขภาพ
อนามัยมาแล้ว และนำมาวิเคราะห์ผล หาสาเหตุ แนวทางแก้ไขและนำเสนอให้
ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ แต่พวกเราขอคุณครูหทัยกาญจน์ ที่สอนวิทยาศาสตร์และ
คุณครูนิติมา ที่สอยภาษาอังกฤษ มาเป็นครูที่ปรึกษาด้วย ทั้งสอบผ่าน O.K เย้
พรุ่งนี้เราจะไปช่วยกันเขียนโครงการเสนอ ชื่อสำนักงานโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อโรงเรียนไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กโทนิกส์ และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

             กว้าง
        (สรภาคย์ นาตะโย)

วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546

ตื่นเต้นจังเลย เอาผลงานไปเสนอคุณครูใหญ่ดวงพร คุณครูใหญ่ สนับสนุนโครงการ
พวกเรา เพราะเป็นการทำโครงการต่อเนื่อง จากโครงการเด็กไทยทำได้ จึงเซ็น
อนุมัติมาแล้วด้วย พร้อมกับคำชมอ่านดูอีกที่ดีกว่า ภูมิใจจังเลย
             ใหญ่
        (จักรกฤษณ์ นามวงศ์)

เอกสารข้อเสนอผลงาน
         (1) ชื่อผลงาน: The River of life
         (2) ระดับชั้น: มัธยมศึกษา
         (3) วัตถุประสงค์ของหัวข้อที่ศึกษา:
                แหล่งต้นน้ำและการไหลผ่านของแม่น้ำกวง การตรวจสอบวัดหาค่า O2 ในน้ำ
             และ สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขต่อผู้รับผิดชอบ
         (4) แรงจูงใจในการศึกษาค้นคว้า:
                เนื่องจากแม่น้ำกวงเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านจังหวัดลำพูนซึ่งชาวลำพูนได้นำ
             เอาน้ำจากแม่น้ำกวงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การอุปโภคบริโภคโดย
             เฉพาะการปะปาลำพูนได้นำเอาน้ำจากแม่น้ำกวงมาผลิตเป็นน้ำปะปา หรือในส่วน 
            ของนิคมอุตหกรรมลำพูนซึ่งใช้ประโยชน์จากแม่น้ำกวงเช่นกันตลอดจนในภาคเกษตรกรรม 
            ซึ่งในปัจจุบันสภาพน้ำของแม่น้ำกวงอยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงอยู่เหมือนกัน ดังนั้นจึง
              เป็นแรงจูงใจที่จะทำการศึกษา
         (5) แนวทางการศึกษาค้นคว้า:
             - ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับน้ำ เช่นประเภทของน้ำ ส่วนประกอบในน้ำ การใช้ประโยชน์
               จากแหล่งข้อมูล เช่นหนังสือ อินเทอร์เน็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
             - ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำและปริมาณออกซิเจนในน้ำ (DO) จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
             - ศึกษาทดลองหาคุณภาพน้ำแม่กวงในเขตชุมชน ศรีบุญยืนวังทอง ไก่แก้ว ท่านาง และ ท่าขาม
             - ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์และแก้ไขคุณภาพของน้ำ
         (6) สารสนเทศของผลงานเสริมสร้างการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ (เลือกได้มากกว่า 1 กลุ่ม)
             - วิทยาศาสตร์
         (7) รายละเอียดของการพัฒนา
             - เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่คาดว่าจะใช้ :
                      Macromedia Dreamweave , Adobe Photoshop , กล้องวิดีทัศน์ , กล้องดิจิตอล
             - มัลติมีเดียที่คาดว่าจะพัฒนา :
                      ภาพแสดงการใช้ประโยชน์จากน้ำ
                      ภาพถ่ายน้ำแม่กวงที่ไหลผ่านชุมชนต่าง ๆ
                      ภาพลำดับขั้นตอนการทดลองตรวจสอบคุณภาพน้ำในแต่ละชุมชน
                      ภาพการสัมภาษณ์คนในชุมชนเกี่ยวกับปัญหา และการแก้ไขคุณภาพน้ำ
วันที่ 26 กันยายน 2546

วันประกาศผลชื่อผลงานของแต่ละโรงเรียนที่เข้ารอบ 100 ทีม
ไชโย ไชโย ไชโย ผ่านแล้วค่ะ โครงการของ พวกเรา "The River of life"
ของ ภาคีแม่น้ำกวง ได้รับคัดเลือกให้จัดทำได้ทุกคนดีใจกันใหญ่
แต่ก็ต้องเตรียมวางแผนแล้วล่ะ เพราะไม่ง่ายเลย และยังเป็นช่วงของ
ภาคเรียนที่ 2 ที่มี กิจกรรมเยอะแยะ มากมาย เช่น การเข้าค่ายลูกเสือ
ยุวกาชาด และกิจกรรมมากมาย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าความสามรถนะ
ทำเพื่อแม่น้ำกวงของเราด้วย สู้ สู้
                   กิ่ง
       (กาญจน์กมล สินปักษา)

หลังจาก
วันที่ 26 กันยายน 2546
หลังจากวันที่เรารู้ผลการประกาศทีมที่เข้ารอบ 100 ทีมทั่วประเทศแล้วทั้งดีใจ และ ก็หนักใจอยู่
เหมือนกันน่ะ เพราะ ทางโรงเรียนมีก็มีกิจกรรมเยอะแย่มากมายแต่เราก็ไม่หวั่นเราเดินหน้าทำโครงการ
นี้ต่อไป โดยการประชุมก่อนการออกสำรวจลำน้ำตลอดจนการออกสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ
แต่พอเราก็ตัวอย่างน้ำมาเราก็เจอปัญหาใหญ่ว่า เครื่องตรวจวัดค่า DO ทั้งจังหวัดลำพูนมีอยู่เครื่องเดียว
ซึ่งอยู่ที่สาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเราได้ทำการติดต่อไปเพื่อขอยืม แต่ปรากฏว่าในช่วงนั้นมีทางหน่วยงาน
อื่นขอยืมไปใช้งานยังไม่ได้เอามาส่งคืนให้ แต่เราก็ไม่ย่อท้อต่อปัญหาน่ะ...
                ครูอ้อ และ ครูเอ
    (นางสาวนิติมา นพบุรี , นายจตุพล อุปละ)
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2546

ในที่สุดเราก็หาทางแก้ไขปัญหาได้เพราะครูแซน ที่ปรึกษาโครงการอีกคนหนึ่งซึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์
บอกว่าการวัดหาค่าออกซิเจนในน้ำสามารถวัดค่าได้หลายรูปแบบเราเราจึงเปลี่ยนจากการขอยืมเครื่อง
ตรวจวัดหาค่า DO จากสาธารณสุขเป็นการขอชุดตัวอย่างการตรวจวัดแบบอื่นที่สาธารณาสุขมีอยู่แต่
ทว่า สาธารณสุขได้แนะนำว่ามีอปุกรณ์ที่สามารถตรวจวัดค่าค่าออกซิเจนในน้ำคล้าย ๆ กัน แต่ชุดตรวจ
นี้ได้ถูกส่งให้เทศบาลเมืองลำพูนเป็นผู้รับผิดชอบ เราจึงขอความร่วมมือติดต่อการขอยืมเครื่องมือชุด
ตรวจชุดนี้ซึ่งมีชื่อว่า COD ปรากฏว่าทางเทศบาลเมืองลำพูนได้อนุเคราะห์ให้ชุดตรวจนี้มาเพื่อ
การศึกษาของนักเรียน ทางกลุ่มภาคีแม่น้ำกวงขอขอบคุณอย่างยิ่ง หลังจากนั้นเราก็ดำเนินการต่อมาเรื่อย ๆ
จนใกล้วันที่ต้องส่งผลงานน่ะครับ

               กว้าง
        (สรภาคย์ นาตะโย)