น้ำ (water)
ความหมายของน้ำ
      น้ำ (water) เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน(Hydrogen)
และออกซิเจน (Oxygen)ในอัตราส่วน 1 ต่อ 8โดยน้ำหนักพบ 3 สถานะ คือ
ของเหลว ของแข็ง(น้ำแข็งขั้วโลก) และก๊าซ(น้ำในบรรยากาศ) สูตรทางเคมีคือ
H2O น้ำที่บริสุทธิ์จะเป็นของเหลวใส ไหลเทได้ ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น

 

         

            

              

           

              
                      

      

    
วัฏจักรของน้ำ
     เริ่มต้นจากการระเหย(Evaporation) รวมทั้งจากพื้นดินด้วย และยังจาก
การคายน้ำของพืช(Transpiration) กลายเป็นไอน้ำ (WaterVaper))
ซึ่งอุณหภูมิของไอน้ำจะสูงกว่าจุดเดือดและเมื่ออากาศมีอุณหภูมิต่ำไอน้ำจะ
เข้ามารวมตัวกัน(Condensation)จากน้ำที่ตกสู่ผิวโลกส่วนใหญ่มาจาก
มหาสมุทรที่มีพื้นที่ประมาณ 70 % ของพื้นที่โลก และเมื่อมีการตกสู่พื้น
โลกประมาณ 10 %ในรูปของฝนและหิมะ จากนั้นบางส่วนก็จะซึมลงดิน
และลงสู่แหล่งน้ำต่างๆและเกิดการระเหยอีกครั้ง
ประเภทของแหล่งน้ำ
     น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆของ
มนุษย์นั้นอาจจะเป็นทั้งน้ำจืดจากแหล่งต่างๆและน้ำทะเล สามารถจำแนก
รายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

 1. แหล่งน้ำผิวดิน

      ได้แก่น้ำจากแม่น้ำ ลำน้ำธรรมชาติต่างๆห้วย หนอง คลองบึง ตลอดจน
อ่างเก็บน้ำ นับว่าเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญที่สุด น้ำจืดที่แช่ขังอยู่ตามแอ่งน้ำบน
ผิวโลกมาจากน้ำฝน หิมะ การไหลซึมออกมาจากน้ำใต้ดินแล้วไหลไปรวมกัน
ตามแม่น้ำลำคลอง ปริมาณที่มีอยู่ในแม่น้ำลำคลองของแต่ละแห่งบนพื้นโลกมี
ีมากน้อยแตกต่างกันออกไป ปริมาณน้ำจะลดน้อยลงไป
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยสำคัญดังนี้
     1. สภาพความผันแปรของปริมาณน้ำฝน
     2. ลักษณะภูมิประเทศ
     3. โครงสร้างของดิน

      น้ำผิวดินเป็นทรัพยากรสาธารณะที่ไม่ต้องมีการซื้อขายทำให้มีการใช้น้ำ
อย่างฟุ่มเฟือย ประกอบกับจำนวนประชากรซึ่งใช้น้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมและการเกษตรกรรมซึ่งใช้น้ำในการผลิตจำนวน
มาก ส่วนใหญ่ไม่มีการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับไปใช้อีก จะระบายน้ำทิ้งสู่แหล่งน้ำ
โดยตรงซึ่งทำให้เกิดภาวะคลาดแคลนน้ำเช่นเดียวกับคุณภาพของน้ำผิวดินก
็เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัดภาครัฐบาลและเอกชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญใน
เรื่องนี้จึงมีความคิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน

2. แหล่งน้ำใต้ดิน

      น้ำใต้ดินเกิดจากน้ำผิวดินซึมผ่านดินชั้นต่างๆลงไปถึงชั้นดินหรือหิน
ที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ น้ำใต้ดินนี้จะไปสะสมตัวอยู่ระหว่างช่องว่างของเนื้อดิน
โดยเฉพาะชั้นดินที่เป็นกรวด ทราย หิน ปริมาณของน้ำใต้ดินจะมีการไหล
ถ่ายเทระดับได้เช่นเดียวกับน้ำผิวดิน ในเขตชนบทได้อาศัยน้ำใต้ดินเป็น
น้ำดื่ม เนื่องจากแหล่งน้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด น้ำที่ขังอยู่ใต้ดินมาจาก
น้ำฝนที่ซึมผ่านการกรองของชั้นดินหิน กรวด ทราย มาหลายชั้นแล้ว
แหล่งน้ำใต้ดินมี 2 ประเภท

( 1 ) น้ำใต้ดินชั้นบน หรือ น้ำในดิน

      พบในชั้นดินตื้นๆ ขังตัวอยู่ระหว่างชั้นดินที่เนื้อแน่นเกือบไม่ซึมน้ำ
อยู่ไม่ลึกจากผิวดิน น้ำใต้ดินประเภทนี้จะมีปริมาณมากในฤดูฝน และลดลง
ในฤดูแล้ง มีออกซิเจนละลายอยู่พอประมาณ จะมีสารแขวนลอยอยู่มาก
ความขุ่นมาก

    ( 2 ) น้ำบาดาล
       น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกลงไป ซึมผ่านชั้นดินและชั้นหินต่างๆ ขังตัวอยู่ช่องว่าง
ระหว่างชั้นดินหรือชั้นหิน ซึ่งไม่ยอมให้น้ำผ่านไปได้อีก น้ำใต้ดินที่แท้จริง
เรียกว่า Under Ground Water หรือที่เรียกว่า น้ำบาดาล น้ำบาดาลจะเป็น
น้ำที่มีคุณภาพดีไหลผ่านชั้นดินและชั้นหินซึ่งทำหน้าที่คล้ายการกรองน้ำ
ธรรมชาติ มีลักษณะเป็นระบบท่อประปาที่สมบูรณ์
3. แหล่งน้ำจากทะเล
      ทะเลและมหาสมุทรเป็นแหล่งกำเนิดใหญ่ของวงจรน้ำในโลก ซึ่งหากขาด
วงจรดังกล่าวแล้ว พื้นดินก็จะขาดความอุดมชุ่มชื้น กระแสน้ำในมหาสุมทรก็เป็น
ปัจจัยสำคัญที่กำเนิดสภาพภูมิอกาศรอบโลกด้วยเช่นกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมทำ
ให้ยุโรปตะวันตกตอนเหนือมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นแทนที่จะเย็นมากๆ เหมือน
กับพื้นที่อื่นๆที่อยู่ใกล้เขตขั้วโลกเหนือหรือกระแสน้ำเย็นเบงกิวลาทำให้บริเวณ
ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา กลายเป็นอุดมสมบูรณ์ด้วยแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นอาหารสำหรับปลานานาชนิด ที่มีกระแสน้ำเย็นและน้ำอุ่นมาบรรจบกัน บริเวณดังกล่าวที่มีสารอาหารสมบูรณ์มีแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์พืชและแพลงก์
ตอนสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่จำนวนมาก
      มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์มากมายจากทะเล ไม่ว่าจะเป็นอาหารจำพวกโปรตีน
การใช้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สะดวกและประหยัด ทะเลจะเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่เนื่องจากมีแร่ธาตุสะสมอยู่เป็นจำนวนมากจึง
ทำให้น้ำทะเลมีรสเค็ม ดังนั้นบริเวณที่ขาดแคลนน้ำจืดที่อยู่ใกล้กับทะเล จึงพยายาม
นำน้ำทะเลมาแปรสภาพให้กลายเป็นน้ำจืดเพื่อใช้ในการอุปโภคในครัวเรือน
กิจการอุสากรรม การชลประทาน แต่ค่าใช้จ่ายในการทำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดนั้น
ราคาแพงกว่าการทำน้ำจืดให้บริสุทธ
ิ์

4. แหล่งน้ำจากฟ้า น้ำจากฟ้าหรือน้ำฝน

      ได้รับการกลั่นของไอน้ำในบรรยากาศ เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญที่มนุษย์ใช้ใน
การอุปโภคอีกชนิดหนึ่ง ประเทศไทยพบว่า ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละปีประมาณ
800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นน้ำท่าประมาณ 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ที่เหลือไหลลงสู่ดินและระเหยคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งที่เป็นของกรมชลประทานและ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตรวมกันประมาณ60,000ล้านลูกบาศก์เมตรปริมาณน้ำจืดที่ได้จาก
น้ำฝนในแต่ละบริเวณจะมากจะน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

    1. สภาพลมฟ้าอากาศ
    2. ลักษณะภูมิประเทศ
    3. ทิศทางของลม
    4. ความสม่ำเสมอของฝนที่ตก
    5. การกระจายของปริมาณน้ำฝน
    6. อิทธิพลอื่นๆ เช่น ฤดูกาล พื้นที่ป่าไม้

ประโยชน์ของน้ำ
1. เพื่อการอุปโภคและบริโภค
       น้ำมีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ร่ายกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ
ประมาณ
60 - 70% โดยใช้ในการดื่มประมาณ 2 ลิตรต่อวัน และใช้ในการบริโภค
ประมาณ 3 ลิตรต่อวันร่างกายของเรายังใช้น้ำเพื่อพา สารอาหารต่างๆ ไปยังเซลล์เพื่อ
รักษาโครงสร้างของร่างกาย และเพื่อใช้ในการขับถ่ายของเสีย รวมทั้งเพื่อระบายความ
ร้อนออกจากร่างกายด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้น้ำในการอุปโภค ทั้งการทำความสะอาด
ซักล้าง และกิจกรรมอื่นๆ องค์การสหประชาชาติประมาณการว่า มีประชากรโลกอีก
ประมาณ 2,000,000 ล้านคนทั่วโลกที่ยังขาดแคลนน้ำใช้อย่างเพียงพอ

 

2. เพื่อการเกษตรกรรม
       การใช้น้ำในการเกษตรกรรมนั้นประมาณว่ามนุษย์ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก
70% ของปริมาณน้ำที่ใช้ทั้งหมดเพื่อการผลิตธัญพืชสำหรับบริโภค ส่วนน้ำที่ใช้
สำหรับเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันไป เช่น โคนม ม้า หมู ไก่ ต้อง
การน้ำ 20 , 12 , 4 , 0.04แกลอนต่อตัวต่อวันน้ำจึงมีความสำคัญมากในการผลิต
อาหารของมนุษย์
      
      3. เพื่อการอุตสากรรม
       น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั้ง
ในส่วนของกระบวนการผลิตโดยตรงคือ เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ล้างวัตถุดิบ
และกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการผลิต เช่นใช้ในการล้างเครื่องจักรล้างพื้นโรงงาน
และการหล่อเย็นเป็นต้น
       อุสตกรรมแต่ละประเภทมีความต้องการน้ำปริมาณและคุณภาพที่แกต่างกันไป
ดังกรณีของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ , เซรามิก , กระดาษ มีความจำเป็นที่
ต้องใช้ที่มีคุณภาพสูงคือ ปราศจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆจึงจะสามารถผลิตผลงานที่มี
คุณภาพได้ดี
   

4. แหล่งทรัพยากร
        แหล่งน้ำเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะในทะเลซึ่งเป็นแหล่ง
ทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุด อาหารจากทะเลเป็นอาหารที่สำคัญที่มนุษย์สามารถนำไปใช้
้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องลงทุน และทะเลยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่นน้ำมัน
และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
         

5. เพื่อการคมนาคมขนส่ง
        การขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่สำคัญของมนุษย์ ในปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญ
อยู่การขนส่งระหว่างประเทศ การขนส่งทางทะเล สามารรถขนส่งได้คราวละมากๆ ค่าใช้
จ่ายยังถูกกว่าขนส่งทางอากาศมากอีกด้วย การขนส่งทางน้ำก็ยังคงบทบาทสำคัญโดย
เฉพาะระยะทางไกลๆจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางบก
        

6. เพื่อการสร้างพลังงาน
        การผลิตพลังงานไฟฟ้าค่าใช้จ่ายที่มาจากการผลิตโดยใช้กระแสน้ำนั้นจะต่ำกว่า
การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งหลังงานอื่นๆเช่น ถ่านหิน น้ำมัน นิวเคลียร์ และมีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าด้วย

         
7. เพื่อการนันทนาการ
        แหล่งกักเก็บน้ำหลายแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์
เช่น ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง น้ำตกและลำธาร กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยว
เนื่องจากสถานที่เหล่านี้มีมากมาย เช่น การว่ายน้ำ พายเรือ น้ำจึงเป็นส่วนหนึ่งใน
การดำรงชีวิต

         
       น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามากและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรง
ชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืช น้ำจะมีอยู่ทั่วๆไป ทั้งบนผิวดินใต้ดินและในบรรยากาศ
น้ำผิวดินมีอยู่ทั่วๆไปจะพบมากที่สุดได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ทะเลสาบ เป็นต้น
ส่วนน้ำใต้ดินจะแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล เมื่อเราขุดบริเวณ
แหล่งน้ำเราก็จะพบน้ำในดิน และถ้าขุดลงไปมากๆหรือใต้ชั้นหิน เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า
บ่อน้ำบาดาล น้ำธรรมชาติมีความจำเป็นต่อมนุษย์มากทั้ง การใช้อุปโภคบริโภค รวมทั้ง
การประมง ดังนั้นเราจึงควรต้องรักษาแหล่งน้ำให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อจะส่งผลดีต่างๆตาม
มาต่อมนุษย์ สัตว์ รวมทั้งพืช
                 
       
                                  
สาเหตุที่ทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย
1. สิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน
        ที่อยู่อาศัยของชนที่อยู่รวมกัน เป็นชุมชนและย่านการค้าขายในอาณาบริเวณ
ดังกล่าวนี้ย่อมจะมีน้ำทิ้งจากการอุปโภคและบริโภค เช่นน้ำ จากการซักล้างและการทำ
ครัวน้ำจากส้วมที่ไม่ได้ผ่านการบำบัด ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานและอยู่ไม่ไกลจาก
แหล่งน้ำ

  2. สิ่งปฏิกูลจากการเกษตรกรรม
        ในการเพาะปลูกในปัจจุบันนี้เกษตรใช้สารเคมีมากขึ้น เช่น ปุ๋ย สารเคมีกำจัด
ศัตรูพืชบางชนิดสลายตัวซากสารอาจจะตกค้างอยู่ตามพืชผักผลไม้ก่อให้เกิดอันตราย
แก่ผู้บริโภคและบางส่วนอาจจะกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นดินเมื่อฝนตกน้ำฝนจะชะล้าง
สิ่งเหล่านี้ลงแม่น้ำลำคลองเป็นเหตุให้สัตว์น้ำต่างๆเป็นอันตรายถึงตายได้
  3. สิ่งปฎิกูลจากการอุตสาหกรรม
        โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปใช้น้ำในปริมาณมากน้อยแตกต่างกันน้ำที่ใช้
ทำความสะอาดเครื่องมือและพื้นที่ในโรงงานเวลาน้ำทิ้งจากโรงงาน
        น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ สัตว์และพืชพันทางธรรมชาติ ในโลกนี้เรามีน้ำมากถึง
3 ใน 4 ของโลกแสดงว่าแผ่นดินบนโลกนี้มีเพียง 1 ส่วนเท่านั้นและน้ำจะมีปริมาณมากขึ้น
ถ้าโลกได้รับความร้อนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมนุษย์มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออก
ไซด์เพิ่มขึ้นน้ำแข็งที่ขั้วโลกจะละลายจะก่อปัญหามากมายเช่น ปัญหาด้านอุทกภัย
  น้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร
        นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าน้ำเกิดจากการรวมตัวกันของธาตุไฮโดรเจน(H)2โมเลกุล
รวมตัวกับออกซิเจน(O) 1โมเลกุลทำปฏิกิริยาเคมีกันแล้วเกิดเป็น H2Oเรียกเป็นภาษาไทย
ได้ว่า น้ำ หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่าWaterนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นพบว่าทำไมจึง
เป็นน้ำและไฮโดรเจนกับออกซิเจนมีส่วนประกอบอะไรบ้างจึงเป็นน้ำ ขึ้นมาได้

ความสำคัญของน้ำ
1. ความสำคัญของน้ำในด้านสุขภาพอนามัย
      คนเราใช้ประโยชน์จากน้ำเพื่อให้เกิดสุขภาพอนามัยที่ดีใน 3 ทางแก่ใช้ในการบริโภค
  ใช้ในการบริโภค
         ในทั่วไปแล้วคนปรกติใช้น้ำเพื่อดื่มหรือบริโภคเฉลี่ยวันละ 3 ลิตรจะมากหรือน้อย
นั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรมของแต่ละคนและสภาพความร้อนหนาวของอากาศและน้ำที่คนเราใช้
้บริโภคมีประโยชน์ต่อสุภาพอนามัยหลายประการและที่สำคัญคือ ช่วยให้อวัยวะต่างๆทำงาน
ของระบบต่างๆของร่างกายนอกจากนั้นยังช่วยในการขับถ่ายอุจาระให้เป็นได้สะดวกและปกติ
ิถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้ผูกได้ง่ายในการไหลเวียนของเลือดนั้นเนื่องจากน้ำจะเป็น
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของเลือดซึ่งทำหน้าที่อาหารและออกซึ่งทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจน
มาเลี้ยงเนื้อเยื่อเซลล์หรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายซึ่งทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีชีวิต
โดยปกติสุข แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าร่างกายขาดน้ำประมาณ 2 - 3 วันอาจทำให้เสียชีวิตได้

   

  ใช้ในการอุปโภค
        คนเราใช้น้ำในการอุปโภคใน 2 ลักษณะคือ เพื่อทำความสะอาดชำระร่างกาย และการทำ
ความสะอาด เสื้อผ้าสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อได้สุขภาพที่ดี
           
  ใช้ในการนันทนาการและการกีฬา
        นอกจากคนเราใช้ประโยชน์จากน้ำในด้านต่างๆดังที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านั้น
เรายังใช้น้ำเพื่อการนันทนาการและการกีฬาหรือการพักผ่อน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัย
หรือแม้กระทั่งสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย แหล่งน้ำต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตก ทะเล แม่น้ำ
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญเพราะแหล่งน้ำดังกล่าวส่วนใหญ่จะมีทิวทัศน์ที่สวยงาม
อีกทั้งยังมีสัตว์น้ำและปะการังหลากหลาย ชนิดให้ความเพลิดเพลินและความสุขทางใจ
เป็นอย่างดี นอกจากนี้แหล่งน้ำใหญ่ๆ เช่นทะเลหรือมหาสมุทรยังใช้เป็นสถานที่สำหรับ
ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้หลายชีวิตเช่นกระดานโต้คลื่นสกีน้ำตกปลาว่ายน้ำและ
กีฬาทางน้ำอื่นๆซึ่งช่วยให้สุขภาพอนามัยสมบรูณ์แข็งแรง
        
2. ความสำคัญของน้ำในด้านเศรษฐกิจ            
  ารเพาะปลูก
         น้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก การเพาะปลูกที่มีน้ำเพียงพอจะช่วยให้มีผลผลิตที่ดี
แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีน้ำที่ไม่เพียงพอกิจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย เพื่อให้เกษตร
มีน้ำสำหรับการเพาะปลูกที่เพียงพอ รัฐบาลจึงได้ทำการกักเก็บน้ำในหลายรูปแบบ เช่น เหมือง
ฝาย คลองส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ ซึ่งมีกระจายอยู่ทุกภาคของประเทศ
    การเลี้ยงสัตว์
         ในการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดนั้นต้องอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญทั้งเพื่อให้สัตว์กิน
ทำความสะอาดสัตว์คอกหรือที่อยู่ของสัตว์เพื่อการเจริญเติมโตที่ดี และป้องกันโรคการแพร่
่ระบาดโรคที่เกิดจากสัตว์ อีกทั้งทั้งฝังช่วยลดมลภาวะได้อีกทางหนึ่งได้

                     
การประมง
         แหล่งน้ำเป็นแหล่งอาหารที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ เพราะเป็นที่อาศัยของสัตว์และพืช
นานาชนิด ที่มนุษย์สามารถนำมาใช้เพื่อบริโภค ดังนั้นประเทศใดที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบรูณ์
ด้วยสัตว์น้ำ ประชากรของประเทศนั้นสามารถที่จะใช้ทำการประมงได้เป็นอย่างดีซึ่งเป็นอาชีพ
ที่ทำรายได้
ให้ชาวประมงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าส่งออกทำรายได้ให้แก่ประเทศ
อีกด้วย

 การท่องเที่ยว
        มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นจำนวนมากที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสามารถ
ทำรายได้ให้กับประเทศในปีหนึ่งๆเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งสถานที่เหล่านั้น เป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่สวยงามมากเช่นน้ำตกไทรโยกวังตะไคร้หมู่เกาะอ่างทองและอีกหลายๆแห่งในปีหนึ่งๆ
ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวนับเป็นหมื่นๆล้านบาทแหล่งน้ำตามธรรมชาติจึงนับได้ว่า
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
            
3. ความสำคัญของน้ำในด้านการสาธารณูปโภค                         
การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ
        การนำพลังงานน้ำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้นโดยการนำน้ำไหลหรือน้ำตกมาใช้
หมุนล้อเพื่อให้เกิดพลังงานไฟฟ้าซึ่งในช่วง23ทศวรรษที่ผ่านมาความจำเป็นในการใช้พลังงาน
ไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ประกอบกับราคาเชื่อเพลิงที่นำมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้านั้นได้มีราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งเป็นเหตุให้พลังงานจากน้ำมีบทบาทสำคัญผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างมากซึ่ง
นับว่าช่วยประหยัดเชื้อเพลิงจำพวกถ่านหินและน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากรที่สูญสิ้นและก่อให้เกิด
มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

  การคมนาคม
        การคมนาคมขนส่งทางน้ำมีความสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนี้ซึ่งจะได้เปรียบ
กว่าการขนส่งทางบกและทางอากาศหลายประการและที่สำคัญคือ ประหยัดค่าขนส่ง และยัง
สามารถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากได้สะดวกอีกทั้งยังเป็นเส้นทางขนส่งเสรีโดย
เฉพาะเส้นทางการเดินเรือที่ผ่านน่านน้ำสากล
4. ความสำคัญของน้ำในระบบนิเวศน์
      จากน้ำบนผิวโลกตามแหล่งน้ำต่างๆระเหยกลายเป็นไอน้ำเมื่อได้รับความร้อนจากดวง
อาทิตย์เมื่อกลายเป็นไอน้ำลอยไปในอากาศก็จะลอยไปเกาะกลุ่มกันกลายเป็นก้อนเมฆเมื่อมี
น้ำหนักมากก็จะลอยต่ำลงมาโดยความร้อนกลายเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นโลก ซึ่งส่วนหนึ่งส่วนหนึ่ง
จะซึมลงไปในดิน และบางส่วนจะถูกพืชดุดซึมไปเป็นอาหาร และเมื่อได้รับความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์
ีกครั้ง น้ำในสภาพต่างๆก็จะกลับมาเป็นวัฏจักรอีก หมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดไป สภาวะเช่นนี้เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาต
  
     หากวัฏจักรของน้ำเสียไป เนื่องด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ฤดูการ
ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดดังนั้นวัฏจักรของน้ำ
จึงมีความสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศน์คือช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของบรรยากาศช่วยดูดรับรังสีความ
ร้อนที่สะท้อนจากผิวโลกและในขณะที่ฝนตกลงมาน้ำฝนจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรกในบรรยากาศซึ่ง
เราจะสังเกตได้ว่าหลังจากฝนตกหนักบรรยากาศในที่นั้นจะสดชื่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด วงจรน้ำ
จึงเป็นเครื่องฟอกอากาศขนาดมหึมาที่ธรรมชาติมอบให้เรา
การประหยัดน้ำ          
     ในชิวิตประจำวันเราใช้น้ำในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อการดำรงชีวิตมากมายส่วนใหญ่เป็น
น้ำจืดซึ่งมีเพียง 2 % ของน้ำทั้งหมดในโลกหากเราไม่รู้จักใช้น้ำจะทำให้เกิดปัญหาการขาด
แคลนน้ำในอนาคต เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าวจึงควรปฏิบัติดังนี้
    1. อาบน้ำด้วยฝีกบัวจะประหยัดกว่าการอาบน้ำในอ่าง นอกจากนั้นควรปิดก๊อกขณะที่ถูสบู่
และในการอาบน้ำควรใช้สบู่ที่มีความเป็นด่างน้อยเพราะ สบู่ที่มีความเป็นด่างมากจะทำให้ผิว
แห้งและยังทำให้น้ำเน่าเพิ่มอีกด้วย
    2. การแปรงฟันควรใช้ภาชนะในการรองน้ำไม่ควรปล่อยน้ำไหลจากก๊อกตลอดเวลา
เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ถึงประมาณ 45ลิตรต่อ 5 นาที
    3. การโกนหนวดควรใช้ภาชนะรองรับน้ำที่จะใช้โกนหนวดซึ่งจะใช้น้ำเพียงครึ่งลิตรเท่านั้น
    4.โถชักโครกซึ่งแต่ละวันถ้าเราใช้ชักโครกน้อยลงก็จะสามารถประหยัดน้ำไดจึงควรที่จะ
ติดตั้งโถสำหรับปัสสาวะ หรือใช้ส้วมที่เป็นแบบราดน้ำแทนแบบชักโครก หรืออาจตั้งระดับลูกลอย
ในโถชักโครกให้อยู่ในระดับต่ำ และไม่ควรทิ้งขยะลงในโถส้วมเพราะจะทำให้ใช้น้ำเพื่อกำ
เศษขยะเหล่านั้น
    5.การใช้น้ำในครัวการล้างผักหรืออาหารให้เปิดน้ำใส่ภาชนะอย่าล้างโดยการเปิดน้ำจากก๊อก
โดยตรงเพราะจะทำให้เสียน้ำประมาณ 45 ลิตรภายใน 6 นาทีการล้างจานชามเมื่อจะล้างให้เปิด
น้ำลงในอ่างแล้วจึงล้างให้สะอาดจะใช้น้ำ 2 ครั้ง
    6. การเช็ดถูควรควรใช้น้ำจากภาชนะไม่ควรใช้น้ำจากสายยางเพราะจะทำให้สูญเสียน้ำมาก
    7.การซักผ้าด้วยมือควรแช่ผ้าก่อนแล้วซักด้วยน้ำสะอาด2ครั้งซึ่งนอกจากเป็นการช่วย
ประหยัดน้ำแล้วยังสามารถช่วยให้ซักผ้าได้สะอาดและเร็วยิ่งขึ้นนอกจากนี้น้ำที่ใช้ซักผ้ายัง
สามารถนำไปล้างห้องน้ำหรือทำความสะอาดบ้านได้ส่วนการซักผ้าโดยใช้เครื่องซักผ้านั้นควร
รวบรวมผ้าให้มีปริมาณมากพอกับกำลังทำงานของเครื่อง
    8.การกำจัดน้ำเสียนั้นหรือน้ำสกปรกซึ่งเป็นน้ำที่ผ่านการแล้วจะต้องกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
และถูกหลักสุขาภิบาล

    น้ำที่มีคุณภาพดี มีความสำคัญอย่างมาก ถ้าน้ำสกปรกจะมีผลต่อสุขภาพของมนุษย ์เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและทำให้อาหารลดลงการประเมินและติดตามคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญ
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพน้ำการประเมินและติดตามคุณภาพน้ำเป็นการ
ตรวจสอบทั้งลักษณะทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของแหล่งน้ำ

 
การคำนึงถึงความปลอดภัย
   1.ในการเลือกสถานที่จะประเมินควรเป็นสถานที่ปลอดภัยง่ายต่อการเก็บตัวอย่างควรเป็น
สถานที่โล่ง ไม่ควรเลือกสถานที่มักเกิดน้ำท่วม
   2. จะต้องมีคนที่รู้สถานที่และเวลาที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง
   3.ไม่ควรเก็บตัวอย่างเพียงคนเดียวควรทำงานกันอย่างน้อย2คนเพราะจะได้มีการช่วย
เหลือกันและกันได้   
   4. สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมและใส่รองเท้าทุกครั้ง
   5. ถ้าสถานที่เก็บตัวอย่างมีต้นไม้มาก ควรสวมเสื้อผ้าที่มองเห็นชัดเจน
   6. นำเครื่องปฐมพยาบาลไปด้วยทุกครั้ง
   7. ไม่ควรดื่มน้ำเวลาการเก็บตัวอย่างเพราะอาจมีการปนเปื้อน
   8. ไม่ควรเก็บตัวอย่างในน้ำที่เหนือเข่า
   9. ควรมีการระมัดระวังอุบัติเหตุ
  10. สวมถุงมือทุกครั้งก่อนหยิบสารเคมี
     การประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพเป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการประเมินคุณภาพน้ำ
โดยอาศัยการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และเลือกสิ่งมีชีวิตเป็นตัว
บ่งชี้ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่สามารถนำมาประเมินคุณภาพน้ำเช่น แบคทีเรีย แพลงก์ตอน พืชน้ำ
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน และปลา ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีการศึกษาสิ่งมีชีวิตใดมาก
     สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน มีคุณสมบัติบ่งชี้ที่ดีหลายข้อ คือ สามารถพบได้ทั่วไปใน
แหล่งน้ำมีความสำคัญต่อระบบนิเวศมีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจนและง่ายต่อการจำแนกมีการ
เคลื่อนที่น้อยทำให้ได้รับมลภาวะมากกว่ากลุ่มอื่นตอบสนองต่อการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ใด
้แตกต่างกันในแต่ละชนิดส่วนใหญ่มีวงจรชีวิตที่ยาวนานพอที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำได้ใน
ระยะยาวจากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้สัตว์กลุ่มนี้ใช้ในการประเมินคุณภาพน้ำในแหล่งต่างๆ
มากกว่าสัตว์กลุ่มอื่นการใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินเป็นตัวประเมินคุณภาพน้ำในยุโรป
และอเมริกาเหนือยังได้มีการพัฒนาปรับปรุงวิธีการในการใช้อย่างต่อเนื่อง
      น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น สารพิษ โลหะหนัก
และยาฆ่าแมลง จะมีผลทำให้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหนาดินตายหมด น้ำร้อนจากโรงงาน
อุตสาหกรรมจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง มีผลต่อ Metabolism ของสัตว์เหล่านี้ บริเวณที่มีสารปนเปื้อนสูง จะมีผลไปลดค่าDO และจำนวนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดิน
ยกเว้น ไส้เดือนน้ำจืด และหนอนแดงซึ่งสามารถทนทานต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ลดลง