ประเภทของหินปูนแบ่งประเภทได้ดังนี้

1.ประเภทคาร์บอเนตน้ำตื้น (shallow water carbonates)

2.ประเภทคาร์บอเนตทะเลลึก (deep sea carbonates)

3.ประเภทคาร์บอเนตน้ำจืด (fresh water carbonates)

4.ประเภทคาร์บอเนตระเหย (evaporite carbonates)

5.ประเภทคาร์บอเนตลมพา (eolian carbonates)


1.หินปูนประเภทคาร์บอเนตน้ำตื้น (shallow water carbonates)

เกิดสะสมตัวในหลายสภาพแวดล้อมย่อย เช่น ที่ราบลุมน้ำขึ้นถึง (tidal flat), หินใต้น้ำ (shelf), โคลนจะสะสมตัวในสภาพแวดล้อมที่ราบลุ่มน้ำขึ้นถึง และดอนทรายใต้น้ำเปิด (open bank)

2.หินปูนประเภทคาร์บอเนตทะเลลึก (deep sea carbonates)
มีอยู่สองชั้น คือสิ่งทับถมกระแสความขุ่น (turbidite) หรือสิ่งทับถมในแอ่งและ สิ่งทับถมทะเลลึก (pelagic deep sea deposits) สิ่งทับถมกระแสความขุ่น เกิดในแอ่งที่ลึกเป็นพันเมตร เกิดการวางชั้นแบบเรียงขนาดของสิ่งทับถมคาร์บอเนตหรือตะกอนภาคพื้นดินเม็ดละเอียด ตะกอนชนิดนี้เกิดร่วมกับพวกที่ได้มาจากหินโสโครกและริมตลิ่ง ถูกนำไปในสภาพแวดล้อมน้ำลึกได้โดยการไหลปั่นป่วน(turbulent flow)

3.หินปูนประเภทคาร์บอเนตน้ำจืด (fresh water carbonates)
การเกิดมักเกิดในทะเลสาบน้ำจืด ส่วนมากเกิดเป็นเนื้อดิน นอกจากนี้สิ่งทับถมปูนโดยการระเหย บริเวณน้ำพุและน้ำแม่น้ำก็มีคราบหินปูน ซึ่งเป็นวัสดุฟองน้ำและรูพรุน เกิดบางๆบนผิวรอบน้ำพุและน้ำซับ คราบหินปูน (travertine) ที่เกิดในถ้ำของหินปูนจะมีเนื้อแน่นเป็นแถบ

4.หินปูนประเภทคาร์บอเนตระเหย (evaporite carbonates)
เกิดในภูมิอากาศแห้งแล้ง คือดินโป่ง(caliche) หรือคราบเกลือ(calcrete) เป็นสิ่งทับถมที่มีปูนไม่บริสุทธิ์ พบในดินของบริเวณภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง การเกิดดูดรูเข็มจึงดึงน้ำที่มีปูนขึ้นสู่ผิวดิน แล้วเกิดการระเหยจึงเกิดดินโป่งขึ้น

5.หินปูนประเภทคาร์บอเนตลมพา (eolian carbonates)
เป็นพวกสิ่งทับถมทรายปนคาร์บอเนต เกิดขึ้นน้อย เป็นชิ้นส่วนจากหินโสโครกชายฝั่งสะสมตัวบนชายหาด และเนินที่เกิดร่วมกับชายหาด