-= ก า ร เ ก ิด ข อ ง ภู เ ข า ไ ฟ =-
โครงสร้างของภูเขาไฟ__


_ ภูเขาไฟเกิดจากแมกมาหรือหินร้อนเหลวที่อยู่ในส่วนลึกใต้เปลือกโลกเคลื่อนตัวด้วยแรงดันผ่านเปลือกโลกขึ้นมาบนผิวโลก หินร้อนเหลวที่ไหลบนผิวโลกนี้เรียกว่า ลาวา ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก แต่ส่วนใหญ่เกิดในบริเวณเรียกว่าวงแหวนภูเขาไฟ (Ring of Fire) ซึ่งเป็นแนวตามขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ภูเขาไฟแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของความรุนแรงและความถี่ของการระเบิดภูเขาไฟ ตามรอยแตกที่เปลือกโลกแยกตัวออกจากกันมักเกิดขึ้นโดยไม่มีการระเบิดรุนแรง ลาวาประเภทหิน บะซอลต์จะไหลผ่านรอยแตกขึ้นมา ไหลแผ่ไปบนพื้นผิวโลกและแข็งตัวเป็นหิน เกิดภูมิประเทศภูเขาไฟเป็นเนินไม่ลาดชัน การระเบิดอย่างรุนแรงมักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่เปลือกโลกชนกัน ผลของการระเบิดภูเขาไฟจะมีลาวาประเภทหินไรโอไลต์ที่มีลักษณะหนืดข้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับกลุ่มควันของผงฝุ่นและเศษหินภูเขาไฟ ลาวาจะไม่ไหลแผ่ออกไปไกล แต่จะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดภูเขาไฟ มีลักษณะลาดชันคล้ายกรวยคว่ำ ภูเขาไฟบางแห่งมีหินลาวาและเถ้า ภูเขาไฟถูกพ่นออกมาสลับกัน เมื่อเย็นตัวจะเป็นชั้น ๆ สลับกัน เกิดเป็นภูเขาไฟสูง ภูเขาไฟที่ยังมีการระเบิด เกิดขึ้นบ่อย ๆ จะเรียกว่า ภูเขาไฟมีพลัง (active volcanoes) ภูเขาไฟที่ไม่มีการระเบิดมานานเรียกว่า ภูเขาไฟหมดสภาพ (domant) และภูเขาไฟที่หยุดการระเบิดไปแล้วอย่างถาวรเรียกว่า ภูเขาไฟดับสนิท (extinct)
แ ผ่ น ดิ น ไ ห ว
แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเนื่องจากเปลือกโลก(Plate) 2 ส่วนชนกัน มักจะเกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของชั้นแผ่นดิน ซึ่งการเคลื่อนไหวของทวีปทำให้เกิดแรงตึงตามแนวขอบ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเป็นระยะทางยาวผ่านก้อนหินไป ทำให้ผืนดินสั่นสะเทือน จุดที่มีการเคลื่อนที่แรงมากเรียกว่าจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว จุดบนพื้นผิวซึ่งดันขึ้นโดยทันทีทันใดเรียกว่า อิพิเซนเตอร์ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลัก ๆแล้วมักมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นตามมาอีก(Aftershock) ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่หินทรุดตัวลงในตำแหน่งใหม่