ว่านหางจระเข้

 


ชื่อวิทยาศาสตร ์Aloe barbadensis mill

ชื่อวงศ ์Liliaceae

ชื่ออื่นๆ ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ ) หางตะเข้ (ภาคกลาง )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ใบมีลักษณะเป็นแขนง สีเขียว มีหนามล้อมรอบ มีวุ้นใสอยู่ข้างใน มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวๆ อยู่ข้างใน ใบขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอัฟริกาเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้น ใบงอกขึ้นมาจากดิน ใบหนา รูปร่างยาวปลายแหลม ริมใบหยักและมีหนาม ผิวใบสีเขียวใส และมีรอกกระสีขาว ออกดอกกลางต้น เป็นช่อ ก้านดอกยาว ดอกเป็นหลอดปลายแยกสีส้มแดงออกสีเหลืองเล็กน้อย ปลูกง่ายโดยใช้หน่ออ่อน

สรรพคุณทางยา

วุ้นใสจากใบรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บรรเทาอาการปวดศรีษะ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย สมานแผล ลบรอยแผลเป็น เคลือบแผลในกระเพาะอาหารกินแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยให้ผิวพรรณแต่งตึง ไม่แก่ง่าย ช่วยรักษาสมดุลของน้ำหล่อเลี้ยงผิว กระตุ้นการสร้างเซลส์ ทดแทนเชลส์ผิวเก่าที่มีปัญหาหรือหลุดร่วงไป ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ช่วยป้องกันแดด อันเป็นสาเหตุของผิวหมองคล้ำ ไม่สดใส

วิธีการใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใช้วุ้นจากใบรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเลือกใบว่านที่อยู่ในส่วนล่างของต้น ปอกเปลือกสีเขียวด้วยมีดที่สะอาด ล้างยางให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุกหรือน้ำด่างทับทิม ขูดเอาวุ้นใสมาพอกบริเวณแผล ใช้กินรักษาแก้แผลในกระเพาะอาหารทา 2ครั้ง เช้า เย็น ระงับความเจ็บปวด จนกว่าแผลจะหาย

นายพล คงคิด ใช้ทากับปูนแดงปิดขมับใช้แก้ปวดศรีษะได้

นายวิโรจน์ บรรลือพืช วุ้นว่านหางจระเข้ยังใช้ทารักษาไฟไหม้ที่เกิดจากแสงแดดเผาและ กรีดยางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนสีดำ (ยาดำ) ตักมาปลายช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย คนให้ละลาย เด็กรับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา ก่อนนอน

นางเอือบ เพ็ชรทอง ใช้ใบสดที่พึ่งตัดออกจากต้นนำมาล้างให้สะอาดปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส
หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็กๆวางไว้บริเวณ ที่มีแผลใช้ผ้าสะอาดพันไม่ให้เลื่อนจากแผลเปลี่ยนวุ้นทุก 2-3 ชั่วโมง จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นหากไม่สะดวกที่จะต้องพันผ้า ให้ขูดส่วนที่เป็นเมือกใส่จากวุ้นใส่บริเวณแผลบ่อยๆ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

นาง สุวรรณ โชติช่วง ให้นำว่านหางจรเข้ ทาหลายๆรอบ และให้ใช้ด้วยผงวิเศษตราร่มชูชีพปะตามแผลก่อนว่านหางจระเข้แห้ง (แผลเริ่มแห้งใน1-4 วัน) ซึ่งด้วยสรรพคุณ ของว่านหางจรเข้แล้ว จะทำให้ไม่เกิดแผลเป็น

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายวิโรจน์ บรรลือพืช136 หมู่4 ต. บ้านเกาะ อ . พรหมคีรี จ. นครศรีธรรมราช 80160อาชีพ แพทย์แผนโบราณ

นายแก้ว มีพวกมาก41/2 หมู่ 4 ต. ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช 80160 อาชีพ แพทย์แผนโบราณ

นางสุวรรณ โชติช่วง 70หมู่ 2 ต. บ้านใต้ อ.เกาะพะงัน จ. สุราษฎร์ธาณี 84280

นางเอือบ เพ็ชรทอง 57 หมู่ 4 ต. ท่าขึ้น จ.นครศรีธรรมราช 80160

ข้อดีของสมุนไพร ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียลบรอยแผลเป็น สมานแผลช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเซลส์ช่วยบำรุงรักษาสุขภาพร่างกายเนื่องจากอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย ช่วยระบบขับถ่ายให้ปกติที่อยู่รอบๆแผลยาจากว่านหางจระเข้ ใช้ทำเป็นยาดำมีฤทธิ์ช่วยระบาย

ข้อเสียของสมุนไพร

1. ระวังเรื่องการติดเชื้อ เพราะวุ้นว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ

2. วุ้นว่านหางจระเข้ไม่คงตัว ถ้าปอกแล้วเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมง

3. ควรปอกแบบ aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

4. ระวังการปนเปื้อนของ anthraquinone ซึ่งทำให้แพ้ได้ จึงต้องล้างวุ้นให้สะอาดคนไข้ที่เป็นโรคดีซ่าน เมื่อได้รับการรักษาขนาด 1 กรัม ของยาที่ผสมว่านหางจระเข้ โกฐน้ำเต้า และชุมเห็ด เสียชีวิตเนื่องจากทำให้ตับถูกทำลาย รวมถึงไต ม้าม หัวใจ และปอด