ชุมเห็ดไทย

ชื่อวิทยาศาสตรCassia toro linn

ชื่อวงศ์ Leguminosae

ชื่ออื่นๆ : ชุมเห็ดนา ชุมเห็ดเล็ก ชุมเห็ดควาย (ภาคกลาง)ลับมืนน้อย (เหนือ ) ชุมเห็ดเขาควาย เล็บมื่นน้อย (อีสาน) เล็บมื้น (กลาง ) พรมดาน (สุโขทัย ) เล็นเค็ด (มหาสารคาม )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ป็นพืชปีเดียวตาย สูง 0.3-1.2 เมตร ชยี้ดมกลิ่นเหม็นเขียว ลำต้นตั้งแข็งแรงแตกกิ่งก้านสาขามากมาย มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมทั่วทั้งต้น ใบเป็นใบประกอบออกสลับกัน มีใบย่อย 3 คู่ ใบย่อยลักษณะรูปไข่ปลายป้าน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบแทบไม่มีขน ท้องใบมีขนอ่อนนุ่ม ดอกสีเหลือง มักออกเป็นคู่จากง่ามใบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะรี ผิวนอกมีขนอ่อนนุ่มกลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง เกสรตัวผู้มี 10 อัน 3 อันที่อยู่ด้านบนจะเสื่อมไป อีก 7 อัน ที่อยู่รอบ ๆ จะเจริญเติบโตเต็มที่ รังไข่เป็นเส้นยาวงอโค้งเล็กน้อย มีขนสั้น ๆ ปกคลุม ฝักเป็นเส้นยาวโค้งเล็กน้อย ผิวนอกเรียบเป็นมันสีเขียวออกน้ำตาล ชุมเห็ดเทศมักพบขึ้นเองตามริมทาง ริมคลอง ที่รกร้างทั่วไป

สรรพคุณทางยาเป็นยาระบายและขับปัสสาวะ รักษาอาการท้องผูก อาการขัดเบา แก้อาการท้องเดิน จุกเสียดแน่น แก้อาการหน้ามืด ตาลาย แก้ลม แก้อาการเรอ ทำให้เจริญอาหาร เมล็ดรสขม ชุ่ม เย็น ใช้กล่อมตับ ทำให้ตาสว่าง ขับอุจจาระแลปัสสาวะ แก้ตาแดง ตาฝ้ามัว ตาฟาง ความดันเลือดสูง ตับอักเสบ ตับแข็ง และเป็นยาบำรุงกำลัง รสขม ชุ่ม ใช้เป็นยาระบาย ยาถ่าย แก้ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด กล่อมตับและทำให้ตาสว่าง

วิธีการใช้และรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใช้เมล็ดชุมเห็ดไทยแห้งคั่ว 2 ช้อนโต๊ะถึง2ช้อนครึ่ง ต้ม หรือชงกับน้ำร้อน ดื่มแก้อาการท้องผูกนายวิโรจน์ บรรลือพืช ใช้เมล็ดแห้งคั่วให้หอมเสียก่อน 1-3 ช้อน โต๊ะใส่น้ำสะอาด 1ลิตร ตั้งไฟต้มให้เหลือน้ำประมาณ 600 มิลลิลิตรรับประทานหลังอาหาร แก้ขัดเบา ช่วยขับปัสสาวะนางอำไพ อยู่ขำ เอายอดอ่อนมาหนึ่งกำมือ เอามาลวกจิ้มน้ำพริก เป็นยาระบายที่ดี

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ 41/2 หมู่ 4 ต. ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช อาชีพ แพทย์แผนโบราณ

นายวิโรจน์ บรรลือพืชที่อยู่ 136 หมู่ 4 ต. บ้านเกาะ อ. พรหมคีรี จ. นครศรีธรรมราช อาชีพ แพทย์แผนโบราณ

นางอำไพ อยู่ขำ ที่อยู่ 113/1 หมู่ 7 ต.ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช อาชีพ ทำนา

ข้อดีของสมุนไพร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัว

ข้อเสียของสมุนไพร มีรสขม