ผักเสี้ยนผี

ชื่อวิทยาศาสตรCleome viscosa Linn.

ชื่อวงศ์ Capparidaceae

ชื่ออื่นๆ Stining cleome, Wild caia

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกสูงได้ถึง 1 เมตร ทุกส่วนมีขนและเป็นเมือกเหนียว มีกลิ่นเหม็น ใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับ ใบย่อย 3-5 ใบ รูปไข่กลับหรือรูปไข่กว้าง 1-1.5 เมตร ยาว 1.5-6 ซม. ดอกช่อกระจายออกที่ปลายยอดและซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง รูปช้อนหรือขอบขนาน ผลเป็นฝักหรือรูปทรงกระบอก มีขนละเอียดหนาแน่น เมล็ดสีน้ำตาลแดง

สรรพคุณทางยา

ราก แก้โรคผอมแห้งในสตรีหลังคลอดบุตรเนื่องจากอยู่ไฟไม่ได้ แก้โรคสตรีหลังคลอดบุตรแล้วโลหิตจาง แก้วัณโรค กระตุ้นหัวใจ ขับพยาธิตัวกลม

ต้น ขับหนอง ทำให้หนองแห้ง แก้ลมแก้ฝีในปอด ในลำไส้ ในตับ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย

ใบ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ทุราวะสา 12 ประการ การถูนวดให้ร้อน ทำให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ขับเสมหะ

ดอก ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าพยาธิต่างๆ

เมล็ด ทาถูนวดให้ร้อน ทำให้เลือดไปเลี้ยงได้ดี ขับพยาธิตัวกลม กระตุ้นหัวใจ
ทั้ง 5 ชนิด : แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ลม เจริญไฟธาตุ แก้ฝีในตับ ปอด ลำไส้ ขับหนองฝี แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ แก้งูพิษทุกชนิดกัด แก้ลมบ้าหมู


วิธีใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใช้ผักเสี้ยนผีทั้ง 5 กระเพาแดงทั้ง 5 แก่นขี้เหล็กต้น ขอบชะนางแดงทั้ง 5 ต้มกินแก้บานทะโรทวารหนัก

พ่อท่านดำ(พระไพรศาลชัยธรรม) ใช้ทำยาแก้ลมอัมพฤกติ อัมพาด ทำให้มือเท้าตาย เอาผักเสี้ยนผี น้ำมะนาว น้ำมะงั่ว น้ำมะกรูด เปลือกทองหลางใบมน หัวไพร หัวข่า ขมิ้นอ้อย กุมทั้ง 2 กระเทียม รากเจตฆูล พริกไทย เกลือ การบูร ผลจันทร์ ดอกจันทน์ ยาทั้งหมดเอาส่วนละเท่าๆกันทุกอย่าง บดทำเป็นผงลายน้ำผึ้ง กินเช้า - เย็น ก่อนอาหาร

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต. ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช อาชีพ หมอพื้นบ้าน
พ่อท่านดำ (พระไพรศาลชัยธรรม)

ข้อดีของสมุนไพร สามารถนำมาดอง แล้วรับประทานได้

ข้อเสียของสมุนไพร เป็นพืชที่หาได้ยาก