เพกา


ชื่อวิทยาศาสตร์
Oroxylum indicum Vent.

ชื่อวงศ์ Bignoniaceae

ชื่ออื่นๆ มะลิดไม้ ลิดไม้ มะลิ้นไม้(ภาคเหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เพกาเป็นต้นไม้ยืนต้นสูงใหญ่ มีใบย่อยเป็นจำนวนมาก รูปใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม ดอกเป็นช่อสีม่วงแดง มีฝักแดงยาวคล้ายดาบ ภายในมีเมล็ดแบน มีปีกบางใสอีกด้วย

สรรพคุณทางยา

ฝักอ่อน รสขมร้อน ขับผายลม ฝักแก่ สรขม แก้ร้อนในกระหายน้ำ

เมล็ดแก่ สรขม ระบายท้อง แก้ไอ ขับเสมหะ

เปลือกต้น สรฝาดขมเย็น สมานแผล ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องร่วง ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ ดับพิษโลหิต รับประทานขับลมในลำไส้แก้บิด แก้อาเจียนไม่หยุด แก้เสมหะติดคอ ขับเสมหะ ขับเลือดเน่าในเรือนไฟ บำรุงโลหิต แก้บิดแก้จุกเสียด แก้ซางเด็ก ทาแก้ปวดฝี แก้ฟกบวม

ราก รสฝาดขม บำรุงธาตุ ทำให้เกิดน้ำย่อยอาหาร แก้ไข้สันนิบาติ แก้ท้องร่วง ฝนกับน้ำปูนใส ทาแก้อักเสบฟกบวม

ทั้ง 5 รสฝาดขมเย็น สมานแผล แก้อักเสบฟกบวม แก้ท้องร่วง แก้ไข้เพื่อลมและโลหิต แก้น้ำเหลืองเสีย


ิวธีใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใช้เมล็ดเพกาเป็นส่วนส่วนประกอบในน้ำ "จับเลี้ยง" ของคนจีนที่ใช้ดื่มแก้ร้อนใน เมล็ดก็ใช้เป็นยาแก้ไอได้ รวมทั้งการขับเสมหะ โดยการใช้เมล็ดครั้งละครึ่งถึง 1 กำมือ ใส่น้ำประมาณ 300มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้

นางพวง พัลวัล -ใช้ข้อโหม่ง ฝนกับน้ำสาร แก้เด็กชัก

-ใช้เปลือกผสมกับตัวยาแก้ร้อน ต้ม 3 เอา 1 แก้ร้อนเลือด ไข้ทับระดู แก้ไข้ประจำเดือน

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าสาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ หมอพื้นบ้าน

นางพวง พัลวัล ที่อยู่ บ้านเลขที่ 89/1หมู่ 7 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ ทำนา

ข้อดีของสมุนไพร เป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หาได้ง่ายตามท้องถิ่น

ข้อเสียของสมุนไพร เป็นพืชที่มีกลิ่นเหม็น