ย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tiliacora Trian dra Diels.

ชื่อวงศ์ Menispermaceae

ชื่ออื่นๆ จอยนาง (เชียงใหม่) เถาวัลย์เขียว (ภาคกลาง) เถาย่านาง หญ้าภคินี (ภาคกลาง) จ้อยนาง (เชียงใหม่) วันยอ (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ย่านางเป็นไม้เถาพาดพันต้นไม้อื่น ยาวได้ 10 -15 ม. มีหัวใต้ดิน ใบเดี่ยวรูปหอกขว้างปลายแหลม สีเขียว ขอบเรียบ ดอกเล็กๆมีสีขาวอมเขียว ออกดอกเป็นช่อ ผลกลมรีเล็กน้อย สีเขียวเป็นพวง แก่สีส้ม เกิดตามป่าเต็งรัง ป่าละเมาะทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และ แยกหน่อ

สรรพคุณทางยา

ราก รสจืด รับประทานแก้พิษเมาเบื่อ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไม่ผูก ไม่ถ่าย ปรุงยา แก้ไขรากสาด ไข้กลับ ไข้หัว ไข้พิษ ไข้สันนิบาต ไข้ป่าเรื้อรัง ไข้ทับระดู บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้พิษภายในให้ตกสิ้น แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดา แก้ลม

ใบ รสจืดขม รับประทานถอนพิษ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้หัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดง ลดความอ้วน แก้พิษตานซาง

เถา รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษสำแดง แก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษไข้ ไข้กลับไข้ซ้ำ ลดความอ้วนแก้พิษตานซาง

วิธีใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก รากแห้งให้แก้ไข้ โดยใช้ครั้งละ 1 กำมือ (หนัก 15 กรัม) ต้มน้ำดื่ม 3 ครั้งก่อนนอน

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ เป็นหมอพื้นบ้าน

ข้อดีของสมุนไพร สามารถนำเถาว์มาใช้แทนเชือกได้ เพราะมีความเหนียว ใบและยอดอ่อน สามารถนำมาทำอาหาร และมีรสหวาน
ข้อเสียของสมุนไพร มีรสขม เมื่อนำมาทำเป็นยารักษาโรคเหม็นเขียว