พลู


ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper betle Linn.

ชื่อวงศ์ Piperaceae

ชื่ออื่นๆ พลูจีน, พลูเหลือง, พลูทอง, พลูทองหลาง, พลูเขียว, ปู (เหนือ), ซีเก๊ะ (มลายู) Betel Vine

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น แบบสลับคล้ายใบโพธิ์หรือรูปหัวใจกว้าง 4-10 ซม.ปลายแหลม หน้าใบมัน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่นเป็นกระจุก รูปทรงกระบอกยาวสีขาว ยาว 5-15 ซม. ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกไม่ค่อยติดผล

สรรพคุณทางยา

ราก แก้โรคมะเร็ง โลหิตละคนด้วยลมให้ตก

ต้น แก้โรคมะเร็ง แก้ริดสีดวง

ใบ รสเผ็ดเมา แก้ปวดฟัน แก้รัมนาด แก้ปากเหม็น ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย กระตุ้นให้กระปรี้กระเปร่า ใช้ภายนอกแก้ปวด บวมฟกช้ำ ฆ่าเชื้อโรคหนองฝีวัณโรค แก้การอักเสบชองเยื้อจมูกและคอ แก้กลาก แก้น้ำกัดเท้า แก้คัน แก้ลมพิษ ลนไฟนาบทองเด็กแก้ปวดท้อง แก้ลูกอัณฑะยาน

ดอก แก้โรคมะเร็ง โรคอันเกิดแต่จักษุ

วิธีใช้และการรักษา

นายหนูกลั่น เชาวลิตร ใช้ใบพลูเป็นยารักษาอาการแพ้ อักแสบ แมลงกัดต่อยได้ผลดีมาก กับอาการแพ้ในลักษณะลมพิษ โดยการเอาใบพลูมาสัก 1-2 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง ทาบริเวณที่เกิดลมพิษ แต่ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก

นายแก้ว มีพวกมาก ใบพลู ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กับต่อยได้ผลดีมาก กับอาการแพ้ในลักษณะลมพิษ โดยการนำใบพลูสัก 1-2 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง ทาบริเวณที่เกิดลมพิษห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้เกิดอาการแสบมาก

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นายหนูกลั่น เชาวลิต ที่อยู่ บ้านเลขที่ 46/1 หมู่ 6 ต.ท่าชึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ หมอดู

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ หมอพื้นบ้าน

ข้อดีของสมุนไพร มีกลิ่นหอม

ข้อเสียของสมุนไพร มีรสเผ็ดร้อน