หญ้าคา


ชื่อวิทยาศาสตร์
Imperata cylindrica (Linn.) Reauschel

ชื่อวงศ์ Poaceae (Gramineae)

ชื่ออื่นๆ เก้อฮี ลาลาง ลาแล Alangalang Cgon Cogongrass Lalang grass

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตรง ปล้องเรียบ ข้อมีขนยาวกาบใบเกลี้ยง หรือมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปแถบ แผ่นใบแข็ง ขอบคม ลิ้นใบยาว ดอกช่อแยกแขนง รูปทรงกระบอกมีขนคล้ายไหมสีขาว ช่อดอกย่อยรูปขอบขนาน แกมรูปใบหมอก ปกคลุมด้วยขนคล้ายไหมสีขาว กาบช่อย่อยคล้ายกัน อับเรณูสีเหลืองยอดเกสรตัวเมียสีม่วง

สรรพคุณทางยา

ราก ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระเพาะ บำรุงไต แก้ดีซ่าน แก้นิ่ว แก้ไตพิการ ขับระดูขาว แก้ตับอักเสบ แก้ไอ แก้ความดันโลหิตสูง แก้เลือดกำเดาออก แก้หนองใน แก้ประจำเดือนมาผิดปกติ ห้ามเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ

รากและเหง้า ขับปัสสาวะ ทั้งต้น แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ

ใบ แก้ลมพิษ ผื่นคัน แก้ปวดเมื่อยหลังครอด

ช่อดอก ห้ามเลือด บาดแผลจากของมีคม แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ปวด

วิธีใช้และการรักษา

นายสุเมต หมกทอง ใช้รากสดหรือแห้ง แก้อาการขัดเบา ใช้วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40-50 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆ ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลิลิตร)

นาย แก้ว มีพวกมากใช้รากหญ้าคาผสมกับหญ้าครึง (หญ้าขิง) ใช้ผสมต้มแก้เยี่ยวขับลดความดัน

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นาย สุเมศ หมกทอง ที่อยู่ บ้านเลขที่ 291/1 หมู่ 8 ต.ท่าศาลา อ. ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ ทำประมงน้ำเค็ม

นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต .ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ข้อดีของสมุนไพร : ขึ้นได้ทุกบริเวณ ไม่ต้องปลูกให้เสียเวลา เป็นสมุนไพรใกล้ตัว และหาง่าย

ข้อเสียของสมุนไพร : มีสีสันไม่สวยงาม มีเฉพาะส่วนที่เป็นลำต้นและใบ ไม่มีผลและดอก คนส่วนใหญ่ไม่นิยมปลูก และเป็นวัชพืชที่ทำลายยาก