ตะไคร้

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus ( DC) Stapf

ชื่อวงศ์ Graminae

ชื่ออื่นๆ จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้)คาหอม เซิดเกรย หัวสิงโตห่อวอตะโก่ เหละเกรย Lepine

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มักขึ้นเป็นกอใหญ่ ลำต้นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ไม่ผลัดใบ ใบเนื้อบางและอ่อน รูปขอบขนานแขบ สีขาวนวลหรือขาวปนม่วง แผ่นใบสากและคม ตรงรอยต่อระหว่างกาบใบและตัวใบมีเกร็ดบางๆ ใบ หอกปลายใบสอบแหลม โคนใบเรียวสอบ ด้านบนของใบสีเขียวเข้ม ด้านใต้ใบสีอ่อน ผิวใบเรียบ หรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นใบ เมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอม ออกดอกยาก ช่อดอกแต่ละช่อมีดอกย่อย 5-10 ดอก ก้านดอกย่อยแตกออกจากจุดเดียวกัน ผลมีขนาดเล็ก

สรรพคุณทางยา ราก แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก แก้ปวดกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไข้เบื่ออาหาร

หัว แก้ปัสสาวะขัด นิ่ว รักษาริดสีดวง แก้เลือดกำเดาออก บำรุงไฟธาตุ แก้ทางปัสสาวะพิการ

ใบ ทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ เป็นยาขับปัสสาวะอย่างอ่อน ช่วยเจริญอาหาร ยาขับลมในลำไส้

ทั้งต้น ขับลม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องอืด แก้ไข้หวัด แก้ปวดหัว แก้ไอ แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ แก้ฟกช้ำจากการหกล้ม แก้ประจำเดือนมาผิดปกติ ขับปัสสาวะ แก้คัดจมูก แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้เลือดกำเดาออก รักษาเกลื้อน

น้ำมัน แก้แน่นท้อง ยาทานวด แก้ปวดเมื่อย แก้โรคเส้นตึง ขับลม แก้อาการเกร็ง ขับเหงื่อ ทำให้ร้อนแดง แก้อาเจียนในคนเป็นหหิวาตกโรค แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

วิธีใช้และการรักษา

นายพล คงคิด ใช้ตะไคร้ 15 ต้น ดอกจำปา 2 สลึง หญ้าลิ้นงู 3 บาท หญ้าพานงูแดง 2 บาท ยาข้าวเย็นทั้ง 5 สิ่งละ 5 บาท กระดูกควายเผือก 3 บาท กระดูกช้าง 4 บาท ใบกระวาน 4 บาท รากอังกาบ 5 บาท รากตองแตก 1บาท เถาอีคุย 4 บาท อบเชย 2 สลึง เทียนเยาวภาณี 2 บาท สลัดใด 1 บาท บัวบูล 10 บาท ฝักราชพฤกษ์ 5 ฝัก เถาวัลย์เปรียง 5 บาท เปลือกยาง 2 บาท เปลือกกุมทั้งสองสิ่งๆละ 1 บาท แก่นลั่นทม 2 บาท แก่นสม 2 สลึง ใบมะขามแขก 2 บาท หัวผักหนาม 2 บาท ว่านสากเหล็ก 2 บาท ว่านชักมดลูก 3 บาท ว่านนางคำ 3 บาท รากมะแว้งตัน 1 บาท ลูกพิลังกาสา 2 สลึง ลูกจันทร์ 2 สลึง ลูกกระวาน 2 สลึง ขันทองพยาบาท 10 บาท ดีเกลือ 5 บาท ต้มรับประทาน เช้า -เย็น ก่อนอาหาร ครั้ง ละ 1-2 ถ้วยชา แก้อาการฝีในมดลูก มดลูกพิการ เป็นหนองมีกลิ่น เป็นน้ำเหลือง ดั้งน้ำคาวปลา ปัสสาวะหยดย้อย ปวดแสบ ขัดหัวเนาและมดลูก

- ใช้ตะไคร้ 9 บาท ลูกเอ็น 1 บาท ชะเอมเทศ 2 บาท ใบกระวาน 3 บาท ดอกบุนนาก 3 บาท พริก 5 บาท ขิง 6 บาทและตัวยาอื่น มากให้แห้ง บดให้เป็นผง ละลายน้ำร้อน ผสมน้ำตาลทรายเท่ายารับประทาน หรือต้มรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงประสาท

นางอำไพ อยู่ขำ ใช้ตะไคร้ทั้งห้า ล้างให้สะอาด นำไปต้มรับประทาน แก้อาการขับปัสสาวะติดขัด

นายประวิทย์ วงศ์วรชาติ ใช้ตะไคร้ทั้งต้น ล้างให้สะอาดแล้วต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงธาตุ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แก้ตะคิว เหมาะสำหรับนักกีฬาที่เล่นกีฬาบ่อยๆ

นางล่อง จันทรสุวรรณ ใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 40-50 กรัม) ต้มเอาน้ำมาดื่ม หรือประกอบเป็นอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

นางพะโยม นาคัน ใช้ตะไคร้แก้อาการขัดเบา ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม) โดยใช้ต้นตะไคร้แก่สดวันละ 1 กำมือ ต้มกับน้ำวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา ก่อนอาหาร หรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ขวานเป็นแว่นบางๆ ขั้วไฟอ่อนๆ พอเหลือง ชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชา พอปัสสาวะคล่อง สะดวก ก็หยุดดื่มได้

 

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1นายแก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ หมู่ 3 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ หมอพื้นบ้าน

2 นายพล คงคิด ที่อยู่ บ้านเลขที่ 64 หมู่ 3 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช อาชีพ ทำสวน และหมอพื้นบ้าน

3.นางอำไพ อยู่ขำ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 113/1 หมู่ 7 ต. ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช อาชีพ ทำนา

4.นายประวิทย์ วงศ์วรชาติ ที่อยู่ หลังวัดชะเมา อ.เมือง จ. นครศรีธรรมราช อาชีพ อาจารย์ และหมอสมุนไพร

5.นางล่อง จันทรสุวรรณ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 2/8 หมู่บ้านย่านยาว หมู่ 6 ต.นาเหรง กิ่งอำเภอนพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อาชีพ เลี้ยงสัตว์

6.นางพะโยม นาคัน ที่อยู่ บ้านเลขที่ 3 หมู่ 7 ต.กระหรอ กิ่งอำเภอนพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพ ทำสวนและเป็นหมอพื้นบ้าน

ข้อดีของสมุนไพร รสปร่า กลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวในเนื้อสัตว์ เป็นพืชที่มีอายุอยู่ได้นาน ขยายพันธุ์ง่าย

ข้อเสียของสมุนไพร เป็นทรงพุ่มขนาดใหญ่ ขอบใบคมอาจทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าไม่ระวัง