ตำลึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) voigt.

ชื่อวงศ์ Cucurbitacaeaฟ

ชื่ออื่นๆ ผักหมึง (นครศรีฯ) แคเด๊าะ ผักแคบ (ภาคเหนือ) ผักตำลึง สี่บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยพาดพันไม้อื่นโดยมีมือเกาะ แตกกิ่งก้านสาขากว้างขวาง มักมีรากหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน มี 3-5 พู ผิวเรียบมัน ก้านใบสั้น ดอกสีขาว แยกเป็นดอกเพศผู้ และเพศเมีย กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังสั้น ปลายแบ่งออกเป็น5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแฉกจักลึงลงไปครึ่งกลีบ ด้านในมีขน ผลยาวรูปไข่หรือขอบขนาน มีจงอยแหลม เมื่อสุกมีสีแดง เมล็ดมีจำนวนมาก

สรรพคุณทางยา ราก แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย

ต้น กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน

เปลือกราก เป็นยาถ่าย ยาระบาย

เถา แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน

ใบ เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด ผล แก้ฝีแดง

ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน

วิธีใช้และการรักษา

นางบุนนาค พนาลี ใช้เป็นรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย

ผู้ให้ภูมิปัญญา

นางบุนนาค พนาลี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 78 หมู่ 1 ต.หัวตะพาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช อายุ 62 ปี ประกอบอาชีพ ทำสวนและทำนา

นาย แก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ข้อดีของสมุนไพร เป็นพืชที่มีรสหวาน ใช้ทำอาหารได้ ไม่มีผลข้างเคียง และไม่มีสารตกค้าง ขึ้นตามป่าทั่วไป เด็กอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ ผล สามารถนำมาให้สัตว์รับประทานได้ ลดน้ำตาลในเลือด

ข้อเสียของสมุนไพร เป็นไม้เถาที่ต้องอาศัยไม้อื่น ใบและลูกสด มีกลิ่นเหม็นเขียว