พญายอ

ชื่อวิทยาศาสตรClinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau.

ชื่อวงศ์ Acanthaeae

ชื่ออื่นๆ ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด (เชียงใหม่) พญาปล้องดำ (ลำปาง) เสลดพังพอนตัวเมีย พญาปล้องทอง (ภาคกลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พญายอเป็นพืชไม้พุ้มแกมเลื้อย เถาและใบมีสีเขียวใบไม้ ไม่มีหนาม ใบยาวเรียว ปลายแหลม ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ดอกออกเป็นช่ออยู่ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3-6 ดอก กลีบดอกเป็นดอก ปลายแยก สีแดงอมส้ม

สรรพคุณทางยา

ใบ รักษาอักเสบเฉพาะที่ถอนพิษแมลงกัดต่อย รักษาโรคเริม งูสวัด

ต้น แก้บิด (ลัดดาวัลย์) รักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ (ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มีไข้ ) จากแมลงสัตว์กัดต่อย และรักษาโรคเริม งูสวัด

ใบพญายอสด 10-15 ใบ

วิธีใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใบพยายอรักษาอาการอักเสบเฉพาะที่ จากแมลงมีพิษกัดต่อย โดยการเอาใบสดของพญายอนี้มาสัก 10-15 ใบจัดการล้างให้สะอาด ใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าขาวพอชุ่มยา ใช้น้ำและกากทาพอกบริเวณที่เจ็บบวม หรือที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย

นางล่อง จันทรสุวรรณ ใช้ใบสด 1-2 ใบ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดเติมแอลกอฮอล์หรือเหล้าขาวพอให้ยาชุ่มคนให้เข้ากัน เอาสำลีชุบน้ำยาทาบริเวณที่มีอาการบ่อยๆ วันละ 4-5 ครั้ง รักษาอาการเริม หรืองูสวัด

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1. นาย แก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

2.นางล่อง จันทรสุวรรณ ที่อยู่ บ้านเลขที่ 2/8 หมู่บ้านย่านยาว หมู่ 6 ต.นาเหรง กิ่งอำเภอนพพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อาชีพ เลี้ยงสัตว์

ข้อดีของสมุนไพร สามารถรักษาโรคที่ผู้คนมักจะเป็นกันบ่อยภายในท้องถิ่น เช่น ถูกแมลงมีพิษกัดต่อย

ข้อเสียของสมุนไพร มีหนาม รสขม คน ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักในชื่อนี้