เสลดพังพอน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Barleria lupulina Lindl

ชื่อวงศ์ Acanthaaaceae

ชื่ออื่นๆ เช็กเชเกี่ยม (จีน) พิมเสนต้น ซองระอา (ภาคกลาง) เสลดพังพอนตัวเมีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงได้ถึง 1.5 เมตร แตกกิ่งก้านมากใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปแถบบบบบแกมขอบขนาน กว้าง0.9-1.4 ซม. ยาว 33-9.5 ซม. ปลายใบมนเป็นติ่งหนามสั้น โคนใบรูปลิ้ม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาวได้ถึง 6 มม.ซอกใบมีหนามแหลม ดอกช่อเชิงงลดออกที่ปลายกิ่งยาวได้ถึง 9 ซม.ใบประดับรูปไข่กว้าง กว้างได้ถึง 1.2 ซม. ยาวได้ถึง 1.8 ซม.ปลายเป็นติ่งหนามสั้น มีขนครุยสั้นที่ด้านหลังของต่อมที่กาบหุ้มผล ใบประดับย่อยรูปใบหมอก ปลายเป็นติ่งหนาม กลีบเลี้ยงเชื่อมติด กันปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่กว้าง ขนาดไม่เท่ากัน กว้าง 1-4 มม.ยาว 6-9 มม.ปลายเป็นรยางค์แข็งสั้น กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวได้ถึง 3 ซม. ปลายผายออกเป็น 2 ปาก สีเหลือง ผลแห้งแตกได้รูปกระสวย

สรรพคุณทางยา ราก แก้พิษตะขาบ แมลงป่อง พิษงูกัด ต้น แก้พิษงู

ใบ แก้พิษงู พอกแผลเริม ถอนพิษ แมลงสัตว์ กัดต่อย แก้โรคฝีต่างๆ แก้โรคไฟลามทุ่ง แก้พิษร้อนอักเสบ แก้ขยุ้นตีนหมา แก้โรคฝีดาษ ถอนพิษไข้ แก้ไข้ทรพิษ แก้โรคเบาหวาน แก้น้ำร้อนลวก โรคลมพิษ

เถา ถอนพิษ แก้พิษฝี แก้บวมอักเสบ ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา แก้วัณโรค แก้ประดง แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษแมลงกัดต่อย พิษตะขาบ แมลงป่อง แก้พิษงู

หัว แก้พิษงู ถอนพิษงู แก้พิษตะขาบ แมงป่อง

ทั้งต้น แก้ปวดฟัน แก้งูพิษทุกชนิด

วิธีใช้และการรักษา

นายแก้วได้นำใบเสลนพังพอนมาขยี้ละเอียด ผสมกับเหล้าจากนั้นเขาก็นำมาโป๊ะบริเวณที่ถูกตะขาบกัด แผลที่ถูกตะขาบกัดก็จะหายปวดนิดกัด

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1 นาย แก้ว มีพวกมาก ที่อยู่ บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

ข้อดีของสมุนไพร พบได้มากในท้องถิ่น ขึ้นได้ง่ายทุกพื้นที่ ดอกมีสีสวย

ข้อเสียของสมุนไพร มีกลิ่นฉุน คนไม่นิยมใช้เพราะอาจไม่ได้ผลถ้าโดยพิษงูที่รุนแรง ควรจะส่งโรงพยาบาลทันที่