ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตรCassia siamea Lamk

ชื่อวงศ์ Leguminosae

ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กบ้าน ( ลำปาง ) ขี้เหล็กใหญ่ ( ภาคกลาง ) ขี้เหล็กหลวง ( ภาคเหนือ ) ขี้เหล็กจิหรี่ ( ภาคใต้ ) ยะหา ( ปัตตานี )

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์

สรรพคุณทางยา ดอกตูมและใบอ่อนของขี้เหล็ก มีรสขม ต้องคั่นน้ำทิ้งหลายๆครั้งก่อน จึงนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมใช้ทำแกงกะทิ หรือทานเป็นผักจิ้ม ช่วยระบายท้องได้ดี ทั้งดอกตูมและใบอ่อน มีสารอาหารหลายอย่างคือ มีวิตามินเอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูง ในดอกมีมากกว่าในใบ ใบขี้เหล็กบ่มรวมกับผลไม้ ช่วยให้ผลไม้สุกเร็ว

วิธีใช้และการรักษา1 นายสุเมศ หมกทอง ใช้แก่นขี้เหล็กราว 1 กอบ ( ประมาณ 50 กรัม ) หรือทั้งห้า ( ราก ต้น ใบ ดอก ผล ) ประมาณ 4-5 กำมือ ( 20-25 กรัม ) ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน แก้อาการท้องผูก

2 นางจิตรา แสนภัคดี ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสดหนัก 50 กรัม ต้มเอาน้ำรับประทานก่อนนอน หรือใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า ( ใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน คนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ กรองกากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้า ) ทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน แก้อาการนอนไม่หลับ กังวล เบื่ออาหาร

3 นายแก้ว มีพวกมาก ใช้ใบขี้เหล็ก ( ทั้งใบอ่อนและใบแก่ )4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลามีอาการ แก้อาการท้องผูก

4 พ่อท่านดำ ( พระไพศาลชัยธรรม ) ยาแก้เลือดทำพิษหรือบ้าเพื่อโลหิต และบำรุงโลหิตด้วย ใช้รากขี้เหล็ก รากยอบ้าน รากยอเถื่อน ยาดำ แก่นตำเสา แห้วหมู หญ้าแพรก เอาหนักสิ่งละ 3 บาท จันแดง จันทะนาแปด ชะลูด ฝาง แกแล แสมสาร แสมทะเล ใบมัดกา ใบส้มป่อย ใบส้มเขียว ใบส้มก้ง ฝ้กราชพฤกษ์ ส้มมะขามเปียก หัวขิง หัวไพร หัวทือ ขมิ้นอ้อย ว่านน้ำ ว่านกลีบแรด หัวเปราะ หัวกระชาย เกษรทั้ง 5 ดอกพิกุล ดอกขนนาค ดอกสาระภี ดอกมะลิ ดอกจำปี ดอกจำปา รากบัวหลวง รากบัวนา รากบัวครั่ง เอาหนักสิ่งละ 1 บาท ใบมะนาม 108 ใบ ลูกมะกรูด 4 ลูก เครื่องยาทั้งหมดนี้ เอาใส่หม้อต้มกินหาย

5 นายหนูกลั่น เชาวลิตร ใช้ใบขี้เหล็กขนาดกลางแก่กลางอ่อน ใส่น้ำพอท่วมยา เติมเกลือพอเค็ม ต้มเดือดนาน 10-15 นาที กินนานวันละ 3-4 ครั้งๆ ละ 1 แก้ว เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการถ่ายปัสสาวะไม่สุด

ผู้ให้ภูมิปัญญา 1 นายสุเมศ หมกทอง บ้านเลขที่ 291/1 หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพประมง

2 นางจิตรา แสนภัคดี บ้านเลขที่ 46 หมู่ 6 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

3 นายแก้ว มีพวกมาก บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

4 พ่อท่านดำ ( พระไพศาลชัยธรรม ) อดีตเจ้าอาวาดวัดท่าสูง หมู่ 3 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160

5 นายหนูกลั่น เชาวลิตร

ข้อดีของสมุนไพร 1 ดอกตูมและใบอ่อนมีสารอาหารหลายอย่าง คือ มีวิตามินเอ และวิตามินซีสูง

2 ใบขี้เหล็กบมรวมกับผลไม้ ช่วยให้ผลไม้สุกเร็ว

ข้อเสียของสมุนไพร 1 ดอกตูมและใบอ่อน มีรสขม