สะตอ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia peciosa Hassk

ชื่อวงศ์ Leguminosae

ชื่ออื่นๆ กะตอ ตอ ปาตา ( มลายู-ยะลา-ปัตตานี ) ปาไต ( มลายู -สตุล ) ตอข้าว ตอดาน ปะตา ปัดเต๊าะ ปาไต

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร เป็นไม้ยืนต้นสูงถึง 30 เมตร กิ่งก้านมีขน ใบประกอบด้วยแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ช่อใบย่อย 14-18 คู่ ใบย่อย 31-38 คู่ต่อช่อใบย่อย รูปแถบกว้าง 1.8-2.2 มม. ยาว 6-9 มม. ปลายใบกลมมีติ่งหนาม ก้านใบยาว 2.2 -6 ซม. ดอกช่อกระจุกแน่น รูปทรงกระบอกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยบริเวณปลายช่อเป็นดอกสมบูรณ์เพศ บริเวณโคนช่อเป็นตัวผู้ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 6 มม. กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ปลายแหลม ฝักรูปดาบ กว้าง 3-5 ซม. ยาว 36-45 ซม. เมล็ดรูปโล่ เรียงตามขวาง กว้าง 15-20 มม. ยาว 22.5-25 มม.

สรรพคุณทางยา เมล็ด ขับปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ

วิธีใช้และการรักษา 1 นายแก้ว มีพวกมาก ใช้เมล็ดกินสดๆ อีกวิธีใช้เปลือกของสะตอผสมกับน้ำปูนใสแก้ท้องร่วง ใช้ใบต้มผสมกับพนุ ทั้ง 5 ต้มกินน้ำ กินก่อนอาหาร กิน 4-5 ช้อนโต๊ะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะคล่อง

2 นายเริ่ม สุขเอียด นำเมล็ดสะตอมากินสดๆ ช่วยขับลมในลำไส้
ผู้ให้ภูมิปัญญา 1 นายแก้ว มีพวกมาก บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

2 นายเริ่ม สุขเอียด บ้านเลขที่ 291 หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

ข้อดีของสมุนไพร 1 เมล็ดสะตอสามารถนำมาประกอบอาหารได้

ข้อเสียของสมุนไพร

1สะตอจะมีกลิ่นฉุนมาก