กระท่อม


ชื่อวิทยาศาสตร์ Mitrgyna speciosa Benth

ชื่อวงศ์ Rubiaceae

ชื่ออื่นๆ ท่อม อีถ่าง กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย ( ใต้ )

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-150ม. ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม คล้ายใบกระดังงาไทย มีทั้งชนิดสีแดง และสีเขียว ดอกช่ออัดแน่นทรงกลม คล้ายดอกกระถิน มีเกสรคล้ายดอกกระถิน สีเหลืองแก่ พบมากทางภาคใต้และภาคกลาง เป็นพืชเสพติดให้โทษ

สรรพคุณทางยา ใบ รสขมเฝื่อนเมา แก้บิด ปวดเบ่ง แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ระงับประสาท ทำให้ทนต่อแสงแดด แต่แพ้อากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน จะหนาวสั่น ทำให้ก้าวร้าว ดุดัน

พิษ เป็นยาเสพติด ทำให้รู้สึกสบาย ขยันว่องไว

วิธีการใช้และรักษา

1 นายแก้ว มีพวกมาก นำใบสด 3-4 ใบมาลอกเอาก้านใบและเส้นใบออก เคี้ยวให้ละเอียดดื่มน้ำอุ่นกลั้วกลืนลงไป หรือนำใบมาตากแดดให้แห้งบดเป็นผง รับประทานกับน้ำอุ่นครั้งละ 1 ช้อนกาแฟพูนๆ แก้ท้องเสีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยให้ทำงานทนและเกิดอาการเคลิบเคลิ้มสบายตัวได้นานประมาณ 4-5 ชัวโมง กระท่อมทำงานได้ทนเวลามีแสงแดดจัด

2 นายวิโรจน์ มารูดกินครั้งละ 1 ใบ ( ไม่ติดก้าน ) เอาตากแห้งบดผสมกับน้ำผึ้ง กินแก้อาการท้องผูก

3 นายเริ่ม สุขเอียด นำใบกระท่อมสดๆมากิน ช่วยทำให้ทำงานทน

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1นายแก้ว มีพวกมาก บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวันครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

2 นายวิโรจน์ บรรลือพืช บ้านเลขที่ 136 หมู่ 4 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพรับราชการและแพทย์แผนโบราณ

3 นายเริ่ม สุขเอียด บ้านเลขที่ 291 หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

ข้อดีของสมุนไพร 1ช่วยทำให้ทำงานได้ทนทาน

2 หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั่วๆไป

ข้อเสียของสมุนไพร 1ถ้ากินกระท่อมมากจะมีอาการท้องผูก

2. เมื่อเสพไปนานๆ จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด ผิวดำเกรียม โดยเฉพาะที่บริเวณโนกแก้มทั้งสองข้าง น้ำลายแห้ง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูกอุจจาระสีดำ เป็นก้อนค้ายขี้แพะ จิตสับสน ประสาทหลอน ใช้เกินขนาด จะทำให้มึนงง คอแห้ง มึนเมาอาเจียน ถ้าติดยาแล้วหยุดทันที จะทำให้มีอาการ น้ำมูกไหล เจ็บตามกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแขนขากระตุก ก้าวร้าว