ตีนเป็ด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris R .Br

ชื่อวงศ์ Apocynaceae

ชื่ออื่นๆ พยาสัตตบัน ตีนเป็ด เจ็ดง่าม ตีนเป็ดต้น สัตตาบรรณ หัสบัน ( กาญจนบุรี ) จะบัน ( ขเมร ) บะซา ปูลา ปูเล ( มลายู )


ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มียางสีขาว ใบรูปหอกแกมไข่กลับ ปลายแหลม เนื้อใบหนา ก้านใบยาว ออกเป็นวงรอบข้อ รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง 4-8 ใบ ส่วนมากมี 7 ใบ ดอกเล็กๆสีขาว ออกเป็นกระจุก กลิ่นคาว ฝักกลมยาวประมาณ 1 ฟุต ออกเป็นคู่ ฝักแก่จะแตกออก กระจายเมล็ดปลิวไปตามลม คล้ายเมล็ดนุ่น เกิดตามริมน้ำลำธาร ในป่าดงดิบเขา และป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด


สรรพคุณทางยา ใบ รสขมเย็น แก้ไข้หวัด

ดอก รสขมเย็น แก้ไข้เพื่อโลหิต ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน

เปลือกต้น รสขมเย็น แก้ไขเพื่อดีพิการ สมานลำไส้ แก้บิด ท้องเดินเรื้อรัง ขับพยาธิ แก้ไข้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ

กระพี้ รสร้อนเล็กน้อย ขับโลหิตตกใน

ราก รสร้อนเล็กน้อย ขับผายลม

วิธีใช้และการรักษา 1นายแก้ว มีพวกมาก ใช้ผสมกับรากดูกไก่ รากชุมเห็ด แห้วหมู ผสมกันต้มกินบำรุงกำลัง ต้ม 3 เอา 1 กินแก้อยากน้ำ บำรุงกำลัง

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1 นายแก้ว มีพวกมาก บ้านเลขที่ 41/2 หมู่ 4 ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบอาชีพทำสวน

ข้อดีของสมุนไพร 1 ทุกส่วนของต้นตีนเป็ดนำมาใช้ได้ทุกส่วน

2 ดอกของต้นตีนเป็ดมีลักษณะที่สวยบงาม


ข้อเสียของสมุนไพร 1 ดอกของต้นตีนเป็ดมีกลิ่นคาว