ขมิ้นชัน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.C.domestica Valeton
ชื่อวงศ์ Zinciberaceae
ชื่ออื่นๆ พญาว่าน ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นป่า ขมิ้นหัว ขมิ้นไข ขมิ้นหยวก ขมิ้นอแดง ตายอ สะยอ ( กระเหรี่ยง) ขี้มิ้น (ใต้ อีสาน ) ขมิ้นแกง

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ เป็นพืชจำพวกเหง้า สูง 50-70 ซม. ใบรูปหอกปลายแหลม กาบใบแคบมีร่องเล็กๆ สีเขียวอมน้ำตาล ดอกช่อใหญ่ พุ่งออกจากเหง้าใต้ดิน สีเขียวแกมขาว ปลายช่อสีชมพูอ่อน ยอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เนื้อในเหง้ามีสีส้ม กลิ่นฉุน เมื่อถึงฤดูฝนใบจะงอกงาม แล้วแห้งไปในหน้าแล้ง เกิดในเขตภูมิภาคเขตร้อนทั่วไป ใช้แต่งสีในแกงกระหรี่ เนย เนยแข็ง ผักดอง มัสตาร์ด เป็นต้น ทำสีย้อมผ้า เครื่องสำอางค์

สรรพคุณทางยา เหง้า รสฝาดหวานเอียน แก้ไข้เพื่อดี คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่น และสิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวมตาแดง น้ำคั้นจากเหง้าสด ทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมาอัดเป็นเม็ดทำเป็นยารักษาท้องอืดเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด

วิธีใช้และการรักษา

1นางบุญเรียม หมกทอง ผงขมิ้น ( นำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง) นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด

2 นายหนูกลัน เชาวลิต ขมิ้นสด ( ใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด ) ตำกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใส พอกบาดแผล และแก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟตำกับน้ำปูนใส รับประทาน แก้ท้องร่วง แก้บิด

3 นายพล คงคิด ใช้ขมื้นชัน ขมิ้นอ้อย อย่างละ 1 ถ้วยบอระเพ็ดถ้วย เกลือ 1 ถ้วย ครึ่ง ตำขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อยและบอระเพ็ดเข้าด้วยกันแล้วคั้นกับน้ำเกลือใส่หม้อเคี่ยวเข้าด้วยกันแล้วเอาออกคั้นเอาน้ำให้ได้สัก 1 ขวด กินครั้งละ 1 ถ้วยชาย่อยๆ เมื่อกินแทรกการบูรลงหน่อยหนึ่ง

4 นางจิตรา แสนภัคดี ใช้ผงขมิ้น ( นำเหง้าแห้งมาบทเป็นผง ) นำผงขมิ้นชันมาผสมกันนมรสจืด แล้วนำมาขัดบนใบหน้า ช่วยทำให้ใบหน้าขาวผุดผ่อง ดูเรียบเนียน

5นางสำเร็จ สุขเอียด ใช้ขมิ้นชันที่ล้างให้สะอาด ( โดยไม่ต้องปอกเปลือก ) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัด 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย เก็บในขวดขาวสะอาด กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดท้อง แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อย

6 นายวิโรจน์ บรรลือพืช ใช้เหง้าขมิ้นชันยาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณแผล วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นชันโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ และแก้อาการแพ้ อักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อยภายน

7 นางชุลี กิจมะโน ใช้ขมิ้นชันแห้งมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน นำมารับประทานเป็นยาแก้โรคกระเพาะ

ผู้ให้ภูมิปัญญา

1 นางบุญเรียม หมกทอง บ้านเลขที่ 291/1 หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพประมง

2 นายหนูกลัน เชาวลิต บ้านเลขที่ 46/1 หมู่ 6 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 หมอดู

3 นายพล คงคิด บ้านเลขที่ 64 หมู่ 3 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา นครศรีธรรมราช80160 ประกอบอาชีพ ทำสวนและหมอพื้นบ้าน

4 นางจิตรา แสนภัคดี บ้านเลขที่ 46 หมู่ 6 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

5 นางสำเร็จ สุขเอียด บ้านเลขที่ 291 หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพทำสวน

6 นายวิโรจน์ บรรลือพืช บ้านเลขที่ 136 หมู่ 4 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพรับราชการ

7 นางชุลี กิจมะโน บ้านเลขที่ 274/3 หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพรับจ้าง

ข้อดีของสมุนไพร 1 มีกลิ่นหอม

ข้อเสียของสมุนไพร 1 เหง้าของขมิ้นชันมีสารอาหารไม่มากนัก 2 มีรสฝาด