ผักบุ้งทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (Linn.)R.Br.

ชื่อวงศ์ Convolvulaceae

ชื่ออื่น : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส) ผักบุ้งขัน

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ : ผักบุ้งทะเลเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยตามผิวดินทอดไปตามยาวบนพื้นดิน ทั้งต้นมียางสีขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับกว้าง 7 - 11 ซม. ยาว 5 - 8 ซม. โคนใบรูปหัวใจปลายเว้าลึก เมื่อใบหนาจะกรอบน้ำและหักง่าย ดอกเหมือนดอกผักบุ้ง ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบมี 4 - 6 ดอก กลีบดอกสีชมพู โคนติดกัน ปลายบานออกคล้ายปากแตร ผลเล็กกลม เมื่อผลแห้งแตกง่าย ปลูกโดยใช้เมล็ดและการปักชำพบเห็นได้ตามชายทะเล

สรรพคุณทางยา : ราก ขับปัสสาวะ แก้พิษแมงกระพรุน แก้ปวดฟัน แก้ปวดไขข้อ แก้ผดผื่นคันมีน้ำเหลือง รักษาโรคเท้าช้าง

ลำต้น ( เถา ) แก้พิษแมงกะพรุน ขับปัสสาวะ

ใบ ถอนพิษแมงกระพรุน ขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหหนัง รักษาริดสีดวง

เมล็ด แก้ปวดท้องเป็นยาถ่าย แก้ตะคริว

ทั้งต้น แก้อาการอักเสบจากอาการแมงกะพรุนไฟ

วิธีใช้และการรักษา: นายสุเมศ หมกทอง เอาใบและเถาผักบุ้งทะเลมา 1 กำมือ ล้างให้สะอาดแล้วเอาไปโขลกจนละเอียด คั้นเอาน้ำทาในบรเวณที่เกิดอาการบวมแดงบ่อย ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย (โดยเฉพาะพิษของแมงกระพรุน )

ผู้ให้ภูมิปัญญา 1 นายสุเมศ หมกทอง บ้านเลขที่ 261/1หมู่ 8 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 ประกอบอาชีพประมง

ข้อดีของสมุนไพร : 1 มีดอกที่สวยงาม

2 หาได้ง่ายตามชายฝั่งทะเล

ข้อเสียของสมุนไพร :เป็นต้นเลื่อยยาวไปตามชายฝั่งทะเล หาทำยาสมุนไพรได้ยาก ขึ้นเฉพาะตามชายฝั่งทะเล เป็นวัชพืช