ทองหลาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina suberosa Roxa

ชื่อวงศ์ Leguminosae

ชื่ออื่นๆ ทองแค ทองบก ทองดี ทองหลางหนาม ทองหลางน้ำ ใบเหมี้ยง

ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางใบประกอบ 3 ใบ ใบย่อยโตเหมือนใบกระดังงาไทย ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามเล็กๆ แหลมคมตลอดต้น ดอกเหมือนดอกแค ออกเป็นช่อ สีแดงเข้มออกดอกตอนผลัดใบ ใบใช้เป็นอาหาร เกิดตามริมน้ำลำธาร ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณขยายด้วยเมล็ด


สรรพคุณทางยา : ใบ รสมัน ดับพิษไข้ ขับไส้เดือน แก้ริดสีดวง ทาแก้ปวด ตามข้อ แก้ลม คั่วให้ เกรียมเป็นยาดับพิษ

ดอก รสขมเอียน ขับโลหิตระดู

เปลือกต้น รสเฝื่อนขม แก้เสมหะ แก้ลมทั้งปวง ขับนิ่ว แก้ดีพิการ ตัดไข้ แก้ตาบวม

กระพี้ รสขมเอียน แก้พิษฝี

แก่น รสขมเอียน แก้ฝีในท้อง

ราก รสขมเอียน แก้พิษทั้งปวง แก้พิษทั้งปวง แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้โรคตา แก้ร้อนในกระหายน้ำ

วิธีใช้และการรักษา : 1 นายแก้ว มีพวกมาก ใช้ทองหลางตำพอกบาดแผลแก้ปวดแสบปวดร้อน และใช้ใบทองหลางกินเป็นยาถ่ายพยาธิ
ผู้ให้ภูมิปัญญา : 1 นายแก้ว มีพวกมาก 41/2 หมู่ 4 ต.ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช
ข้อดีของสมุนไพร :1 ใบมีรสมัน ใช้รับประทานกับเหมี้ยง

2 มีดอกที่สีสรรสวยงาม
ข้อเสียของสมุนไพร : 1 ลำต้นมีหนามแหลม