บอระเพ็ด

ชื่อวิทยาศาสตร Tinospora tuberculata beumee

ชื่อวงศ์ Menispermaceae

ชื่ออื่นๆ เครือเทฮ่อ จุงจิง (ภาคเหนือ ) เจตมูลหนาม (หนองคาย ) หางหนู (อุบลราชธานี - สระบุรี) เจตมูลย่าน เถาหัวด้วน(ภาคใต้)เจ็ดหมุนปลูก(ภาคใต้)บอระเพ็ดตัวเมีย จุ่งจริงตัวเมีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์.....บอระเพ็ดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยเนื้ออ่อน แต่ถ้าอายุมากเนื้อของลำต้นอาจแข็งได้ เถาอ่อนผิวเรียบสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิวขรุขระ เป็นปุ่มๆ เถากลมโตขนาดนิ้วมือ ประมาณ 1-1.5 ซม. ยางมีรสขมจัด ขึ้นเกาะต้นไม้อื่นมักจะมีรากอากาศคล้ายเชือกเส้นเล็กๆ ห้อยลงมาเป็นสาย ใบเดี่ยวเป็นแบบสลับใบเป็นรูปไข่ป้อม โคนใบหยักเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โดยปกติปลายใบจะแหลม (แบบ Acuminate) มีเส้น Nerve 5-7 เส้นที่เกิดจากฐานใบขอบทั้งหมด ขอบใบเรียบขนาดกว้าง 3.5-10 ซม. ยาว 6-13 ซม. แยกต้นต้วผู้เมียออกดอกเป็นช่อตามกิ่งแก่ตรงบริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว, แดงอมชมพู, เขียวอ่อน, เหลืองอ่อน ช่อดอกแบบ Raceme หรือ Fasicle เดี่ยว ยาว 5-20 ประกอบด้วยกลีบดอก กลีบเลี้ยงอย่างละ 6 Stamen 6 ผล มีลักษณะเป็น Drug รูปใบสีเหลืองถึงแดง ขนาด 2-3 ซม.
บอระเพ็ดมีลักษณะคล้ายชิงช้าชาลีมาก ต่างกันที่เถามีขนาด ใหญ่กว่า มีปุ่มมากกว่า มีรสขมกว่า และไม่มีปุ่มใกล้ฐานใบ

สรรพคุณ ราก เจริญอาหาร ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้สูงมีอาการเพ้อคลั่งแก้ไข้เหนือ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ แก้โลหิตอันเป็นพิษแก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้เหนือและไข้สันนิบาต

ต้นและเถา แก้ไข้เหนืออันบังเกิดแก้โลหิต แก้ไข้ตรีโทษ แก้ไข้พิษ แก้ไข้ทุกชนิด แก้ร้อนใน แก้ไข้กาฬ ไข้เพื่อโลหิตแก้ไข้เพื่อดีและลม แก้พิษฝีดาษ ระงับความร้อน ทำให้เนื้อเย็น ดับพิษร้อน ทำให้เลือดเย็น แก้โรคแทรก ทุกชนิดของไข้ทรพิษ กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ กระทำให้เกิดกำลัง เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์ขับน้ำย่อยอาหาร แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม แก้สมุฏฐานกำเริบ แก้เลือดลมเดินไม่สะดวกปวดเมื่อยร่างกาย มีอายุยืน ขับเสมหะแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้สะอึกกระหายน้ำบำรุงกำลังบำรุงน้ำดีแก้ดีพิการ

ทั้งต้น แก้ไข้เหนือ แก้ไข้พิษ เจริญอาหาร

ใบ พอกปิดฝี แก้ฟกบวมแก้ปวดแสบปวดร้อน ลดความร้อน ถอนพิษไข้ ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิ

ดอก ถ่ายพยาธิในอุทรให้ตก ถ่ายพยาธิในหูให้ตก ถ่ายพยาธิในฟันเด็ก

ผล ลูก แก้เสมหะเป็นพิษแก้ไข้พิษ

วิธีใช้และการรักษา

นายแก้ว มีพวกมาก ใช้เถาหรือต้นสดครั้งละ 2คืบครึ่ง ตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือต้มกับน้ำโดยใช้น้ำ 3ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหรือเวลามีอาการ

นางพัน หีดน้อย อาการเบื่ออาหาร เป็นยาช่วยเจริญอาหาร โดยใช้ขนาดและวิธีเช่นเดียวกับใช้แก้ไช้

นางปริก จุลหริด นำบรเพ็ตมาฝานเป็นแว่นเล็ก ๆ นำไปใส่น้ำร้อน รอให้อุ่น แล้วดื่ม

ผู้ให้ภูมิปัญญา นายแก้ว มีพวกมาก 41/2ต.ไทยบุรี อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช80160

นางปริก จุลหริด 33 หมู่ 3 ต. นบพิตำ อ. นบพิตำ จ. นครศรีธรรมราช 80160

ข้อดีของสมุนไพร ใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย ทานง่ายเมื่อนำมาต้มเป็นยาหม้อ

ข้อเสียของสมุนไพร มีรสขมมากทำให้ไม่สะดวกในการรับประทาน