logo_about.gif(11633 bytes) Visit our educational web pages View the list of school home pages in Thailand
Go to Support and Technical service page Visit our activity archive

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ผ่านเลขหมายพระราชทาน ๑๕๐๙


เนื้อหา โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย โครงการนี้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อโรงเรียนมัธยมในประเทศไทยเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย ถือเป็นการตอบสนองนโยบายของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (ไอที-๒๐๐๐) ด้วย โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาของเยาวชนไทย และลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา โดยเริ่มต้นที่ระดับมัธยมศึกษา โดยการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตในการศึกษาและเรียนรู้ นับเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียน ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ในอัตราค่าโทรศัพท์ครั้งละ ๓ บาททั่วประเทศ ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อตอบสนองรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๘ (ที่กล่าวว่า "รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ…") โดยส่วนที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดำเนินการจะเป็นการตั้งต้นให้กับประเทศไทย เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นขั้นต่ำระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเมื่อผ่านระบบนี้ไปแล้ว การขยายตัวเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะผู้ใช้ระบบมีความพร้อม กล่าวคือจะเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พร้อมที่จะจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการภาคเอกชน (Internet Service Provider) เพื่อกระจายให้ผู้ใช้อื่นในโรงเรียนได้มากขึ้น จึงนับว่าเป็นการสร้างตลาดให้แก่ภาคเอกชน และกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย นอกจากนี้โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการร่วมงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒


วัตถุประสงค์ นอกเหนือจากการเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๗๘ แล้วโครงการยังมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการศึกษาคือ
๑. เพื่อให้โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศได้มีและได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและเรียนรู้
๒. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเอกสาร สื่อการสอน ดัชนีห้องสมุดระหว่างโรงเรียน และระหว่างโรงเรียนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
๓. เพื่อให้ผู้ใช้ (ทั้งครูและนักเรียน) ในระดับโรงเรียนได้เข้าถึงศูนย์ข้อมูลต่างๆ และห้องสมุดในอินเทอร์เน็ต
๔. เพื่อให้ครู อาจารย์ หรือนักเรียนในโรงเรียนสามารถติดต่อกับครู อาจารย์หรือนักเรียนในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาอื่นๆ
ในระดับโรงเรียนหรือสูงกว่าทั้งในและต่างประเทศ

เป้าหมายของโครงการ

เป้าหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๑. ขยายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั่วประเทศสามารถต่อเข้าเครือข่ายแบบ dial-upในอัตราค่าโทรศัพท์ท้องถิ่น (๓ บาท) เท่ากันทั่วประเทศ ปี ๒๕๔๒โรงเรียนมัธยม ๒,๕๐๐ โรงเรียน ปี ๒๕๔๓ โรงเรียนมัธยม ประถมและอาชีวะ๕,๐๐๐ โรงเรียน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย, การสื่อสารแห่งประเทศไทยและกระทรวงศึกษาธิการ
๒. จัดสรรบัญชีผู้ใช้งานแก่โรงเรียนร่วมโครงการ ปี ๒๕๔๒ จัดสรรบัญชีให้โรงเรียนละไม่เกิน ๓ บัญชี แต่ละบัญชีมีชั่วโมงการใช้งานไม่เกิน ๔๐ ชั่วโมงต่อเดือน และเนื้อที่เก็บข้อมูลโรงเรียนละไม่เกิน ๗ MB ปี ๒๕๔๓ จัดสรรบัญชีให้โรงเรียนละไม่เกิน ๕ บัญชี แต่ละบัญชีมีชั่วโมงการใช้งานไม่เกิน ๘๐ ชั่วโมงต่อเดือน และเนื้อที่เก็บข้อมูลโรงเรียนละไม่เกิน ๘ MB ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, กระทรวงศึกษาธิการ
๓. จัดอบรมครูของโรงเรียนร่วมโครงการทั้งหมดในหลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น และการเขียนเว็บเพจเพื่อให้โรงเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต และจัดทำข้อมูลเผยแพร่ได้ ปี ๒๕๔๒ จัดอบรมครูของโรงเรียน ๒,๕๐๐ โรงเรียนๆ ละ ๒ คนปี ๒๕๔๓ จัดอบรมครูของโรงเรียน ๕,๐๐๐ โรงเรียนๆ ละ ๒ คน สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ กระทรวงศึกษาธิการ
๔. จัดทำต้นแบบของเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียน และครูปี ๒๕๔๒ จัดทำต้นแบบเนื้อหาอย่างน้อย ๗ หมวดวิชา เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
๕. จัดทำสื่อเพื่อพัฒนาครู ๑ ชุด ประกอบด้วยหนังสือ วิดีทัศน์ และ CD-ROM เพื่อให้ครูเข้าใจถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนและการพัฒนาศักยภาพของตน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ

พื้นที่การดำเนินงาน

พื้นที่ให้บริการของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยครอบคลุม ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ ดังแผนผัง SchoolNet@1509 Network 1998

การดำเนินงาน

ปี ๒๕๓๘
  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตโรงเรียนมัธยมโดยเชื่อมต่อโรงเรียนมัธยมศึกษา ๑๐ โรงเรียนเข้ากับเครือข่ายไทยสารที่เนคเทคได้ดำเนินการอยู่แล้ว
ปี ๒๕๓๙
  • เนคเทคได้ประสานงานกับภาคเอกชนที่แสดงความจำนงสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์และจัดอบรมให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  • จัดตั้งเครื่องให้บริการ k12.nectec.or.th (เรียกสั้นๆ ว่าเครื่อง k12) โดยจัดสรรบัญชีผู้ใช้โรงเรียนละ 2 บัญชีพื้นที่เผยแพร่ข้อมูลของโรงเรียนจำนวน 5 MB และเลขหมายโทรศัพท์จำนวน 39 เลขหมาย พร้อมทั้งจัดอบรมหลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้นและการสร้างเว็บเพจแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ โรงเรียนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบผู้ใช้ส่วนบุคคล (Dial-Up) อย่างมีประสิทธิภาพ
ปี ๒๕๔๐
  • ได้จัดทำต้นแบบการศึกษารูปแบบใหม่ "Classroom 2000" สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางพัฒนาเนื้อหาเผยแพร่ในเครือข่ายให้โรงเรียนอื่นได้ ใช้ประโยชน์และเพื่อการแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจท จัดกิจกรรม สัมมนาและอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องอินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเช่นสัมมนาอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ บริหารโรงเรียนทั่วทุกภาคในประเทศไทย การอบรมหลักสูตรอินเทอร์เน็ตเบื้องต้นการอบรมหลักสูตรอินเทอร์เน็ตระดับกลาง กิจกรรม Seagate Internet Training Camp เป็นต้น
  • ได้พัฒนา Linux-SIS (Linux SchoolNet Internet Server) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำหรับโรงเรียนเพื่อติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ให้ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องมือบริหารเครือข่าย (Web Admin Tool) ช่วยให้ครูผู้ดูแลระบบสามารถบริหารเครือข่ายโดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งเป็นการสนับสนุนให้โรงเรียนเชื ่อมต่อเครือข่ายภายในโรงเรียนเข้าสู่อินเทอร์เน็ตแบบโหนดในราคาถูก และมีประสิทธิภาพ
ปี ๒๕๔๑
  • เริ่มโครงการฯ ในมิติใหม่ (SchoolNet@1509) โดยโครงการฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ใช้ระบบเครือข่ายกาญจนาภิเษก ซึ่งมีศูนย์รับการเชื่อมต่อออนไลน์ทั่วประเทศ เพื่อใช้งานเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทยโดยการหมุนเลขหมาย ๑๕๐๙ โดยเริ่มตั้งแต่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ และในเวลาต่อมา กระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ร่วมมือกับเนคเทคหาทางจัดระบบอินเทอร์เน็ตในราคาถูก ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างทัดเทียมและทั่วถึงโดยเริ่มต้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาก่อน
  • ผลที่ได้รับจากแนวนโยบายของกระทรวงคมนาคมนี้ คือการผนึกกำลังระหว่างโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย กับเครือข่ายกาญจนาภิเษก กลายเป็นระบบบริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยที่สามารถเชื่อมต่อออนไลน์ได้ทั่วประเทศผ่านเลขหมายพระราชทา น ๑๕๐๙ โดยผู้ใช้เสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าโทรศัพท์ครั้งละ ๓ บาททั้งนี้อินเทอร์เน็ตทางไกลภายในประเทศ สนับสนุนโดย ทศท. และอินเทอร์เน็ตทางไกลต่างประเทศ สนับสนุนโดยกสท. และเนคเทค ส่วนระบบอุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดเป็นของเครือข่ายกาญจนาภิเษก และเครือข่ายไทยสาร ประสมกันจึงจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาที่เปิดให้กับโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศได้เข้า ถึงโดยใช้หลักการความทัดเทียมและความทั่วถึง กล่าวคือ โรงเรียนในต่างจังหวัดทุกจังหวัดจะมีโอกาสในการเข้าถึงเครือข่ายเท่ากับโรงเรียนในกรุงเทพฯ (เพราะไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกลมายังกรุงเทพฯ เช่นในอดีตอีกต่อไป)ท คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้จัดตั้งคณะทำงานประสานงานการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาขึ้น โดยให้เป็นความร่วมมือระหว่าง ๓ กระทรวง ได้แก่กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการฯ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ คณะทำงานมีหน้าที่ในการจัดทำแนวทางในความร่วมมือ และการส่งเสริมการพัฒนาโครงการฯ ทั้งนี้ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อให้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงเครือข่ายฯ การจัดเตรียมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษา และการฝึกอบรมบุคลากร
  • โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการจัดสรรบัญชีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล โรงเรียนละไม่เกิน ๓ บัญชี มีจำนวนชั่วโมงการใช้งานไม่เกินเดือนละ ๔๐ ชั่วโมง และเนื้อที่เก็บข้อมูลไม่เกินโรงเรียนละ ๗ MB

ผลการดำเนินงาน

  • ชุดซอฟต์แวร์ Linux-SIS พร้อมคู่มือติดตั้งใช้งานที่เนคเทคได้จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเชื่อมต่อเครือข่ายภายในโรงเรียนเข้า สู่อินเทอร์เน็ตแบบโหนดในราคาถูกโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด จัดทำในรูปแผ่นซีดี จำหน่ายในราคา ๒๐๐ บาท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่โรงเรียนที่สนใจ
  • สถาบันราชภัฎ กระทรวง ศึกษาธิการ ๘ แห่งทั่วประเทศ ได้จัดฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติการทางด้านอินเทอร์เน็ต ระหว่าง ๑๗ กันยายน ๒๕๔๑ และ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๑ เพื่อให้โรงเรียนในโครงการฯ ให้มีความพร้อมในการใช้ประโยชน์อันเกิดจากการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่
  • เดือนตุลาคม ๒๕๔๑ มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน ๔๔๖ โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งได้รับบัญชีผู้ใช้แบบ dial-up จำนวน๘๘๒ บัญชี โรงเรียนที่มีศักยภาพเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบโหนดแล้วผ่านเครือข่ายไทยสารประมาณ ๔๐ โรงเรียนโรงเรียนที่เผยแพร่ข้อมูลที่มีประโยชน์ด้านการศึกษาจำนวน ๙๔ โรงเรียนทั่วประเทศ
    โรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณบัญชีแล้ว            
โรงเรียนสังกัด กรมสามัญ   สช.   สปช.   กทม.  
เป้าหมาย ๑๒๐๐   ๓๐๐   ๑๐๐   ๑๐  
เดือนตุลาคม ๒๕๔๑ โรงเรียน

๒๒๐

บัญชี

๔๕๓

โรงเรียน

๑๔๘

บัญชี

๓๐๓

โรงเรียน

๗๘

บัญชี

๑๒๘

โรงเรียน

บัญชี

คิดเป็นร้อยละ                

แผนการดำเนินงานปี ๒๕๔๒-๒๕๔๓

๑. ขยายขอบเขตของโครงการสู่โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ และโรงเรียนประถม/อาชีวะที่มีความพร้อมจำนวน ทั้งสิ้น ๕,๐๐๐ โรงเรียน
๒. จัดสรรบัญชีผู้ใช้ส่วนบุคคล (Internet Account) โรงเรียนละไม่เกิน ๕ บัญชี โดยมีชั่วโมงการใช้งานได้ไม่เกินเดือนละ ๘๐ ชั่วโมงและเนื้อที่เก็บข้อมูลของโรงเรียนไม่เกิน ๘ MB สำหรับโรงเรียนในโครงการ
๓. จัดสัมมนาและอบรมให้ความรู้ด้านอินเทอร์เน็ตในหลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น และการเขียนเว็บเพจ ด้วยภาษา HTML (Hyper Text Mark-up Langauge) แก่ครู อาจารย์ในโรงเรียนที่ร่วมโครงการ
๔. จัดทำสื่อในรูปของหนังสือ วิดีทัศน์ และ CD-ROM เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความจำเป็นที่ห้องเรียน โรงเรียนกระบวนการเรียนรู้จะต้องปรับเข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสาร และมัลติมีเดียจะมีความสำคัญ
๕. จัดทำต้นแบบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับโครงการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนและครูอาจารย์
๖. ส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน การพัฒนาเนื้อหาข้อมูลของโรงเรียนให้เกิดขึ้นมาก ๆ และมีคุณภาพเพื่อนำมาเผยแพร่ในเครือข่ายให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์และแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งกันและกัน
๗. ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตภายในโรงเรียน
๘. ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนไทยได้ร่วมทำกิจกรรมหรือโครงการกับครูและนักเรียนของโรงเรียนในต่างประเทศ ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ผลิตสื่อบทเรียนร่วมกัน โดยทำเป็น Multimedia, ทำ Home Page ในสิ่งที่สนใจร่วมกัน โดยแบ่งเป็นหลายกลุ่ม และนำมาประกวดกัน เป็นต้น
๙. ประสานงานหรือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับกานำเทคโนโลยีสารสนเทศ และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในระบบการศึกษาไทย
๑๐. ผลักดันให้โรงเรียนในโครงการที่มีความพร้อมและมีศักยภาพทั้งด้านบุคลากรและด้านงบประมาณพัฒนาตนเองเป็นโหนดอินเทอร์เน็ ตผ่านเครือข่ายไทยสาร เพื่อจะได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคลากรในโรงเรียนของตนได้อย่างเต็มที่ และยังสามารถให้บริการแก่โรงเรียนใกล้เคียงที่ยังไม่ได้เข้าร่วมในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยได้ด้ว ย

งบประมาณดำเนินงาน

ตั้งแต่เนคเทคได้เริ่มดำเนินโครงการมาจนถึงปัจจุบัน โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ยังไม่เคยได้รับการจัดสรรงบประมาณให้อย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากเนคเทคได้ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการฯ ที่มีต่อประเทศจึงได้ผลักดันและพัฒนาโครงการฯ ให้สามารถดำเนินการได้ โดยการปรับหมวดงบประมาณภายในส่วนทรัพยากรทางเครือข่ายใช้จากระบบเครือข่ายกาญจนาภิเษกและเครือข่ายไทยสาร รวมทั้งแหล่งข้อมูลจาก National Servers ซึ่งอยู่ในการดูแลของหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของเนคเทค นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท Cisco, Microsoft, Compaq, Intel และ Powell Computer ตลอดจนการสนับสนุนโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (อินเทอร์เน็ตทางไกลภายในประเทศ) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (อินเทอร์เน็ตทางไกลต่างประเทศ) สรุปประมาณการค่าใช้จ่ายดำเนินงานโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙ ถึงปัจจุบันคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ ๖๘,๕๔๓,๒๕๐ บาท (หกสิบแปดล้านห้าแสนสี่หมื่นสามพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ดังมีรายละเอียดปรากฏในหน้าถัดไป
รายการ

แหล่งทุนสนับสนุน

มูลค่าประมาณ(บาท)

ปี พ.ศ. ๒๕๓๙  

๔,๐๗๕,๔๕๐

๑. เครื่อง SchoolNet Server ๓๒ เครื่อง
๒. ซอฟต์แวร์ Internet Server
๓. เครื่องให้บริการอินเทอร์เน็ต k12
๔. บุคลากร ประมาณ ๓ คน
๕. ค่าติดตั้งและรักษาเลขหมายโทรศัพท์ ๓๙ เลขหมาย
๖. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (๓ ครั้ง)
๗. ค่าอินเทอร์เน็ตทางไกลต่างประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐

Powell,Compaq
Microsoft Thailand
NTL
NTL
NTL
NTL
เครือข่ายไทยสาร

๒,๘๘๐,๐๐๐
N/A
๒๕๐,๐๐๐
๖๔๘,๐๐๐
๑๗๗,๔๕๐
๑๒๐,๐๐๐
N/A

ปี พ.ศ. ๒๕๔๐  

๕,๘๘๗,๘๐๐

๑. อุปกรณ์โทรคมนาคม access server ๑ ตัว
๒. อุปกรณ์โทรคมนาคม access server ๑ ตัว
๓. บุคลากร ประมาณ ๔ คนและศูนย์บริการ SchoolNet
๔. ค่าติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ ๑๒๐ เลขหมาย
๕. ค่าใช้เลขหมายโทรศัพท์ ๑๕๙ เลขหมาย (๑๒ เดือน)
๖. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (๒๓ ครั้ง)
๗. ค่าใช้สอย ค่าจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่
๘. ค่าอินเทอร์เน็ตทางไกลต่างประเทศ (๑๒ เดือน)

ITS
Cisco Systems Thailand
NTL
NTL
NTL
NTL
NTL, ITS
ครือข่ายไทยสาร

๑,๐๓๐,๐๐๐
๑,๐๓๐,๐๐๐
๙๖๐,๐๐๐
๔๗๒,๐๐๐
๑๙๐,๘๐๐
๙๒๐,๐๐๐
๒๘๕,๐๐๐
๑,๐๐๐,๐๐๐

ปี พ.ศ. ๒๕๔๑  

๕๘,๕๘๐,๐๐๐

๑. อุปกรณ์เครือข่ายกาญจนาภิเษก ๒๐ จังหวัด, อุปกรณ์โทร คมนาคม Router, เครื่องให้บริการอินเทอร์เน็ต
๒. บุคลากร ประมาณ ๗ คนและศูนย์บริการ SchoolNet
๓. ค่าใช้สอย ค่าจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ การประชุม/อบรม
๔. ค่าวงจรทางไกลในประเทศ ๒๐ จังหวัด x ๑๒๘k x ๑๒ เดือน
๕. ค่าวงจรต่างประเทศ ๕๑๒ k (๑๒ เดือน)

พระราชทาน (เครือข่ายกาญจนาภิเษก)
NTL
NTL, ITS
ทศท.
กสท.

๒๔,๐๐๐,๐๐๐
๑,๖๘๐,๐๐๐
๗๐๐,๐๐๐
๒๕,๐๐๐,๐๐๐
๗,๒๐๐,๐๐๐

รวมงบประมาณทั้งสิ้น ๓ ปี  

๖๘,๕๔๓,๒๕๐

หมายเหตุ
๑. NTL คือห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
๒. ITS คือสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
๓. Cisco คือบริษัทซิสโก ซิสเต็ม ประเทศไทย จำกัด
๔. Powell คือบริษัทโพเวลคอมพิวเตอร์จำกัด
๕. Compaq คือบริษัทคอมแพค ประเทศไทย จำกัด
๖. กสท. คือการสื่อสารแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
๗. ทศท. คือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม

[หน้าหลัก] [หน้าการศึกษา] [บริการให้คำปรึกษา] [รายชื่อโรงเรียน]
[กิจกรรมในโครงการ] [ข้อมูลโครงการ] [ท่านถามเราตอบ]

[NTL] [NITC] [NECTEC] [BIOTEC] [MTEC] [NSTDA] [ONEC] [GITS] [BID]


Contact: SchoolNet Webmaster
SchoolNet Thailand is served and managed by
Network Techonology Laboratory (NTL)
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright © 1996-1999 by Network Technology Laboratory of NECTEC. All Rights Reserved.


ข้อมูลภาษาไทยในหน้านี้ผ่านการ ตัดคำโดย บริการตัดคำสำหรับโฮมเพจภาษาไทย