ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE)

ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 เห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ และมีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotic Excellence : CoRE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานชั้นนำของประเทศ ทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจากภาคการศึกษาไปสู่การผลิตหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ และยกระดับไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อนในอนาคต มีภารกิจสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 

1. การรับรองเพื่อรับสิทธิประโยชน์ และมาตรการทางภาษีในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Certify Body) 

2. การพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Industrial Prototype) 

3. การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (HR Development) 

4. การให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Consultant/Technology Transfer)

 โดยปัจจุบัน หน่วยงานเครือข่าย CoRE ประกอบด้วย 17 แห่ง ดังนี้ โดยมี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการ CoRE

 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

3) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 

5) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 

6) มหาวิทยาลัยมหิดล

7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

8) วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

9) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 

10) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 

11) สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

12) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง 

13) สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

14) มหาวิทยาลัยบูรพา 

15) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 

16) สถาบันไทย-เยอรมัน

17) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์