หัวข้อสัมมนา

เทคโนโลยีเกษตรดิจิทัลสำหรับการผลิตทุเรียนสมัยใหม่

Facebook
Twitter

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทย สร้างรายได้นับแสนล้านบาทต่อปีทิศทางการตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เกษตรกรไทยยังใช้ประสบการณ์และความรู้สึกในการดูแลรักษาส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิตหรือต้นทุนการดูแลรักษาสูงกว่าที่ควร อาจมีค่าใช้จ่ายการจัดการพื้นที่ปลูก โรคและแมลง เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจพบความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เช่น การเกิดปัญหาภัยแล้ง หรือการเกิดฝนทิ้งช่วง น้ำท่วม การระบาดของโรคแมลง 

การบริหารจัดการที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะช่วยควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ได้ การใช้เทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล จะช่วยให้การปรับตัวสู่การผลิตทุเรียนสมัยใหม่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การประชุมสัมมนานี้ จะนำเสนอการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มายกระดับการผลิตทุเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ โดยวิทยากรที่อยู่ในวงการตลาดทุเรียน รวมทั้ง เกษตรกรที่มีประสบการณ์ดังกล่าว

หัวข้อนี้เหมาะกับ

  • กลุ่มผู้ผลิตทุเรียน ไม้ผล ทั่วไป
  • นักเรียน นักศึกษา บุคลากรในภาครัฐและเอกชน

วิทยากร

  • หัวข้อ สถานการณ์การตลาด ทุเรียนไทย  ในเวทีโลก
    คุณอรทัย  เอื้อตระกูล
    อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชและปัจจัยการผลิต
    กรมวิชาการเกษตร
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน เรื่องความต้องการน้ำของทุเรียน
    ดร.ธีระ ภัทราพรนันท์
    ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล
    เนคเทค สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)
  • หัวข้อ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตทุเรียนด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเซนเซอร์และควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัจฉริยะ

    1) คุณสมบูรณ์ งามเสงี่ยม
    เกษตรกรจากสวนบัวแก้ว อ.วังจันทร์ จ.ระยอง
    2) คุณเฉลิมชัย เอี่ยมสอาด
    นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยี สวทช.
    (ดาวน์โหลดเอกสาร)

ดำเนินรายการโดย

คุณปิยพร เศรษฐศิริไพบูลย์
นักวิชาการ ฝ่ายจัดการความรู้และสร้างความตระหนัก
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สวทช.