นิทรรศการ

Wet & Dry ระบบตรวจวัดในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง

Facebook
Twitter

การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เป็นการทำนาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศ  พอได้รับอากาศเสร็จ ก็สามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อดูดอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย เมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย  การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนี้ เหมาะสำหรับพื้นที่ทำนาในเขตชลประทาน ที่ควบคุมการระบายน้ำได้ โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไป 30-50%  นอกจากนี้ยังลดการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุแบบไร้อากาศเมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำเป็นเวลานานอีกด้วย

โดยทั่วไปเกษตรกรจะใช้ท่อดูน้ำ ซึ่งทำจากท่อ PVC ความสูง 25 cm ติดตั้งในแปลงนา โดยให้ปากท่ออยู่เหนือผิวดิน 5 ซม. (ดังรูป) เมื่อถึงช่วงต้องการขังน้ำ เกษตกรจะสูบน้ำเข้าแปลงนาให้สูงจากผิวดินประมาณ 5 ซม ท่วมปากท่อ หรืออาจจะมากกว่านั้น และจะปล่อยให้น้ำแห้งจนต่ำกว่าผิวดิน 15 ซม. หลังจากนั้นจึงสูบน้ำเข้าไปแปลงสลับกันไป

เนคเทค สวทช. ได้พัฒนาระบบตรวจวัดในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อช่วยในการบริหารจัดการการปล่อยน้ำเข้าและออกจากแปลงนา โดยระบบนี้ประกอบไปด้วยสถานีวัดอากาศและสถานีตรวจวัด โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ระบบจะทำการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนาดังนี้ ระดับน้ำในแปลงนา ความชื้นดิน อุณหภูมิดิน และสภาพอากาศอันได้แก่ ปริมาณน้ำฝน, อุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเข้มแสงอาทิตย์ ความเร็วและทิศทางลม  ระบบจะส่งข้อมูลตรวจวัดเหล่านี่ไปเก็นไว้ในเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันระบบนี้ได้ติดตั้งทดสอบที่ สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ จ.สุพรรณบุรี และประเทศบรูไน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (SPD)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง 
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
โทร. 0 2564 6900 ต่อ 2346, 2351-54, 2357, 2359, 2361, 2383-84, 2404, 72732, 72744 
อีเมล business@nectec.or.th