น้ำเคลือบ

 

                น้ำเคลือบ คือ สารประกอบของอลูมินา ซิลิก้า และสารที่ช่วยให้ละลายในกระบวนการความร้อน มีลักษณะใสคล้ายแก้ว น้ำเคลือบทั่วไปมีความแวววาว สามารถมองเห็นเนื้อดินที่เคลือบได้ เรียกว่า เคลือบใส เคลือบที่ผิวไม่เป็นมันเรียกว่าเคลือบด้าน เคลือบที่มองไม่เห็นเนื้อดินเรียกว่า เคลือบทึบ

                การที่นำผลิตภัณฑ์เข้าเคลือบก็เพื่อต้องการให้ ผลิตภัณฑ์ทนทาน แข็งแรง ง่ายต่อการทำความสะอาด และเพิ่มความทนทานต่อการถูกแรงกระแทกได้ ซึ่งเมื่อมองแล้วก็จะดูสวยงามและน่านำไปใช้

 

ประวัติความเป็นมาของน้ำเคลือบ

            น้ำเคลือบนี้ถูกค้นพบก่อนคริสต์กาล ซึ่งผู้ที่ค้นพบคาดว่าเป็นชนชาติอียิปต์ ซึ่งเป็นการบังเอิญพบในแถบทะเลทราย เป็นการเคลือบประเภทด่าง มีการผสมระหว่าง ดินกับโซดาแอซ และต่อมาชาวบีเรียและบาบิโลเนียนก็มาค้นพบสารที่มีชื่อว่าสารประเภทตะกั่ว ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นนำมาตกแต่งอาคารบ้านเรือนและมีสีสันที่สวยงาม

                ความรู้ในการเคลือบตะกั่วได้เข้าไปถึงประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีน ซึ่งในสมัยจีนนิยมเคลือบเป็นสีรุ้ง แต่ในปัจจุบันนั้นดูไม่เหมือนเดิม และชาวจีนได้ประสบความสำเร็จในการสร้างเตาเผา ซึ่งเผาได้อุณหภูมิสูง และก็ได้พยายามคิดสูตรน้ำเคลือบใหม่และก็ประสบผลสำเร็จเช่นกันโดยการผสมระหว่าง ขี้เถ้า หินฟันม้า และดิน ในอัตราที่เท่าๆ กัน และก็ได้พบน้ำเคลือบสลิปที่เกิดเองตามธรรมชาติผลงานการเคลือบของชาวจีนนี้ได้รับการยกย่องอย่างมากเพราะเมื่อเคลือบออกมาแล้วดูมีความสวยงาม

 

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย

ชนิดของน้ำเคลือบ

น้ำเคลือบที่ใช้เคลือบผลิตภัณฑ์นั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ก.       น้ำเคลือบชนิดที่เผาในอุณหภูมิไม่สูงมากนั้น

น้ำเคลือบไฟต่ำนั้น ตัวการสำคัญขึ้นอยู่กับตัวของวัตถุดิบที่ทำหน้าในการหลอมละลายจะมีสาร

อยู่หลายชนิดก็คือ

                - สารตะกั่ว ละลายได้ในอุณหภูมิสูง 510 – 1120 องศา การหลอมรวมตัวของตะกั่วเราจะต้องระวังให้มากเพราะเป็นสารมีพิษ ตะกั่วมี 3 ชนิดคือ ตะกั่วแดง ตะกั่วขาว ตะกั่วเหลือง

                - สารประเภทด่าง เป็นสารที่ละลายได้ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับตะกั่ว คือ 790 – 1120 องศา สารประเภทด่างได้แก่ โบแรกซ์ แคลเซียมโบร์เรท โซดาแอชหรือเรียกอีกอย่างว่า โซเดียมคาร์บอร์เนท สารประเภทด่างใช้หลอมละลายได้ดี 

                ข้อดีของการเคลือบด่าง โดยเฉพาะถ้ามีสีเขียวฟ้า เมื่อทำออกมาแล้วจะดูสวยมากการเคลือบแบบไฟต่ำจะสังเกตได้ว่า จะดูแวววาวให้ความสดใส

                ข้อเสียอีกอย่างคือ ถ้าน้ำเคลือบไหลตัวมากจะทำให้น้ำเคลือบไหลมาที่พื้นเตาทำให้ทำความสะอาดอยาก

 

ข.       น้ำเคลือบชนิดที่เผาในอุณหภูมิสูง

เป็นน้ำเคลือบที่ทนต่อกรดและด่างได้ดี และใช้เผาในอุณหภูมิประมาณ 1230 – 1370 องศา วัตถุ

ที่ใช้หลอมละลายคือ แคลเซียมคาร์บอเนตหรือที่เรียกว่า ไวติ้ง หินฟันม้า และนิยมเคลือบในผลิตภัณฑ์ประเภท สโตนแวร์ และนิยมเคลือบในผลิตภัณฑ์ประเภทสโตนแวร์และผลิตภัณฑ์ปอร์สเลน การเคลือบมีหลายชนิดคือ

1)       เคลือบขี้เถ้า    เป็นเคลือบที่นิยมใช้กันมากแต่ไม่มีขายในท้องตลาดและถือว่าเป็นเคลือบที่เก่าแก่ชนิดหนึ่ง

เป็นเคลือบที่ผสมไม้ต่างๆ ลงไปและผสมโปแตสโซดาและแม็กนีเซีย หรืออาจผสมเหล็กลงไปบ้าง แต่ในเคลือบนั้นต้องมีซิลิก้าสูง ถ้าจะเอาผลิตภัณฑ์ชนิดสโตนแวร์ไปเคลือบนิยมใช้ขี้เถ้า 40% หินฟันม้า 40% หินปูน 20% ขี้เถ้านี้ถ้าเป็นด่างมักจะกัดมือเราก็ควรจะต้องระวังในการใช้

2)       เคลือบฟริต    เป็นเคลือบที่สำเร็จรูป เป็นสารที่ละลายน้ำได้และเป็นอันตรายต่อผิวของร่างกาย เราจึงต้อง

เปลี่ยนให้เป็นสารที่ปลอดภันและไม่ให้ละลายน้ำได้โดยการทำให้เป็นฟริต ฟริตนั้นจะมีส่วนผสมของซิลีก้าและอลูมินาเล็กน้อยนำไปเผาในเตาที่ใช้หลอมฟริตโดยเฉพาะ แล้วก็นำไปเทในน้ำเย็น นำไปบดก็จะได้ ฟริตแล้วนำไปผสมในเคลือบหรือ เนื้อดินปั้น    ฟริตนั้นมีหลายชนิดแล้วแต่ส่วนประกอบที่ผู้ขายนั้นนำไป แต่ที่สำคัญปลอดภัยไม่ละลายน้ำ และมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการทำอุตสาหกรรม

                3)     คลือบราน      เป็นการเคลือบที่เกิดขึ้นจากส่วนผสมของเคลือบที่แตกต่างกันของเนื้อดิน แล้วมีการขยายตัวไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรอยราว การรานมีลักษณะเป็นแบบตะข่าย บางทีลายรานใหญ่ บางทีลายรานเล็ก แล้วใช้น้ำชาแก่ๆ ทาหรือแช่มันก็จะซึมตามรอยแยก ทำให้มีความสวยงาม แต่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเคลือบรานน้ำไม่เหมาะที่จะใช้เป็นภาชนะใส่อาหาร

                4)     เคลือบด้าน      หมายถึง การเพิ่มเติมสารบางอย่างในเคลือบ หรือการลดปริมาณของฟลักในเคลือบ การเคลือบด้านนี้จะนิยมเรียกตามวัตถุที่ผสมลงไป  การเคลือบด้านจะดูไม่เป็นผิวเรียบคล้ายกับเผาไม่สุกจึงทำให้ดูผิวด้าน แต่ถ้าอยากให้มีสีก็เติมสารอ๊อกซิเจนลงไป

                5)     เคลือบที่เกิดจากการเผาแบบบรีดักชั่น    หมายถึง การเคลือบแบบมีอ๊อกซิเจนน้อย ทำให้ลุกไหม้ไม่สมบูรณ์ ตามปกติการเผาผลิตภัณฑ์จะเผาแบบ Oxidizing fire ซึ่งใช้ได้ในเตาไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นพวกเตาน้ำมัน เตาแก๊สจะเผาแบบ Reduction  ปัจจุบันมีผู้นิยมเผาแบบ Reduction ในบางช่วงทำให้ผลิตภัณฑ์ดูสวยงาม

                6)     เคลือบผลึก     มีอยู่ 2 ชนิด เคลือบผลึกที่เกิดขึ้นมีลักษณะผลึกใหญ่ และอีกชนิดคือที่มีขนาดเล็กๆ เรียกว่า Adventuring เมื่อมีแสงมากระทบจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ ในเคลือบ     เคลือบผลึกเป็นที่รู้จักกันมาหลายศตวรรษแล้ว และได้มีโรงงาน ได้นำมาผลิตในช่วงศตวรรษที่ 19 และทำกันต่อมาเรื่อยๆ วิธีการทำการเคลือบผลึกซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิในการเผาออกไซด์จะเกิดปฏิกิริยาทำให้เกิดผลึก ซึ่งการเคลือบชนิดนี้จะดูสวยงามมากและในปัจจุบันก็กำลังเป็นที่นิยม

                7)     การเคลือบเกลือ    เริ่มผลิตมาตั้งแต่ศตวรรษที่15 ซึ่งก็เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เมื่อนำเข้าเตาเผาจะทำให้ดูเงางาม  เคลือบเกลือนี้ชาวเยอรมันจะมีชื่อเสียงมาก

                8)     เคลือบสลิป    เป็นวัตถุดิบที่พบตามธรรมชาติ สีเคลือบจะออกเป็นสีเข้ม การเคลือบจะเคลือบก่อนเอาดินเผา ก็คือดินนั้นค่อนข้างจะแห้งแล้ว

การชุบน้ำเคลือบ