ความหมายของสมุนไพร
วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร

สมุนไพร หมายถึงพืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยานอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์แล ะแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ" พืชสมุนไพรบางชนิดเช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจัน ทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหาร เราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ยาแผนโบราณ หมายถึงยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในตำรายาแผน โบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ

วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพร
การปรุงยาให้มีคุณภาพนั้น นอกจากจะต้องรู้หลักและวิธีการปรุงยาแล้ว จะต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวสมุนไพรอีกด้วย ตำราแพทย์ ไทยจึงได้กำหนดวิธีการเก็บไว้ 4 อย่างคือ เก็บตามฤดู เก็บตามทิศทั้งสี่ เก็บตามวันและเวลา และเก็บตามยามและได้อธิบายวิธีเก็ บไว้ดังนี้
1. เก็บตามฤดู มีดังนี้
1. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เก็บรากและแก่น
2. วสันตฤดู (ฤดูฝน) เก็บใบลูก และดอก
3. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เก็บเปลือกกระพี้ และเนื้อไม้
2. เก็บตามทิศทั้งสี่ ได้แก่
1. วันอาทิตย์ และวันอังคาร เก็บทางทิศตะวันออก
2. วันพุธ และวันศุกร์ เก็บทางทิศใต้
3. วันจันทร์ และวันเสาร์ เก็บทางทิศตะวันออก
4. วันพฤหัสบดี เก็บทางทิศเหนือ การเก็บสมุนไพรตามทิศนี้ ให้ถือตัวผู้เก็บเกี่ยวเป็นศูนย์กลาง
3. เก็บตามวันและเวลา
1. วันอาทิตย์ เช้าเก็บต้น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
2. วันจันทร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บแก่น เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บเปลือก
3. วันอังคาร เช้าเก็บใบ สายเก็บเปลือก เที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บราก
4. วันพุธ เช้าเก็บราก สายเก็บเปลือกเที่ยงเก็บต้น เย็นเก็บแก่น
5. วันพฤหัสบดี เช้าเก็บแก่น สายเก็บใบ เที่ยงเก็บราก เย็นเก็บเปลือก
6. วันศุกร์ เช้าเก็บใบ สายเก็บราก เที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บต้น
7. วันเสาร์ เช้าเก็บราก สายเก็บต้นเที่ยงเก็บเปลือก เย็นเก็บใบ
4. เก็บตามยาม (ยามเป็นชื่อส่วนของวันยามหนึ่งมี 3 ชั่วโมง ยาม 1 เริ่มตั้งแร่ 06.00 น.)
1. กลางวัน
ยาม 1 เก็บใบ ดอก และลูก
ยาม 2 เก็บกิ่ง และก้าน
ยาม 3 เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม 4 เก็บราก
2. กลางคืน
ยาม 1 เก็บราก
ยาม 2 เก็บต้น เปลือก และแก่น
ยาม 3 เก็บ กิ่ง และก้าน
ยาม 4 เก็บใบ ดอก และลูก

ข้อควรระวังในการใช้ยาสมุนไพร
1. ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรนานเกินความจำเป็น ถ้าใช้ยาสมุนไพรแล้ว3-5 วันอาการยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ใช้ยาไม่ถูกกับโรค
2. เมื่อใช้ยาสมุนไพรควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ถ้ามีอาการผิดปรกติควรรีบปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน
3. ควรใช้ยาตามหลักการรักษาของแพทย์แผนโบราณอย่างเคร่งครัด เพราะการดัดแปลงเพื่อความสะดวกของผู้ใช้อาจทำให้เกิดอันตรายได ้
4. อย่าใช้ยาเข้มข้นเกินไป เช่น ยาที่บอกว่าให้ต้มกิน อย่านำไปเคี่ยวจนแห้งเพราะจะทำให้ยาเข้มข้นเกินไปจนทำให้ เกิดพิษได้
5. ขนาดที่ระบุไว้ในตำรับยามักเป็นขนาดของผู้ใหญ่ ในเด็กจะต้องลดขนาดลง
6. ควรระวังความสะอาดของสมุนไพร สมุนไพรที่ซื้อมาจากร้านบางครั้งอาจเก่ามากถ้าสังเกตเห็นราหรือแมลงชอนไช ไม่ควรใช้ ทั้ งนี้เนื่องจากสารสำคัญอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำให้ใช้ไม่ได้ผล และยังอาจได้รับพิษจากแมลงหรือเชื้อรานั้นอีกด้วย

ขอขอบคุณ โครงการเยาวชนสร้างสรรค์ห้องสมุดดิจิทัล เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
ที่ได้ให้โอกาส ในการนำเสนออีกแง่มุมหนึ่ง ของ
สมุนไพรในท้องถิ่นของเรา


Disclaimer