การกระจายคำสรรพนาม
การกระจายคำสรรพนามจะต้องบอก :-
๑. ชนิด คือ บอกให้รู้ว่าเป็นสรรพนามชนิดไร เช่น เป็นบุรุษสรรพนามหรือประพันธสรรพนาม เป็นต้น

๒. ความเกี่ยวข้อง คือ บอกให้รู้สรรพนามนั้นๆ ทำหน้าที่แทนนามอะไร และทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคำอะไรในประโยคนั้น
๓. บุรุษ มีอธิบายเหมือนคำนาม
๔. ลิงค ์                ,, ,,
๕. พจน์               ,, ,,
๖. การก              ,, ,,
๗. ราชาศัพท์        ,, ,,


ตัวอย่างกระจายคำสรรพนาม
๑.ฉัน เห็น เธอ ที่บ้านของ เขา
ฉัน เป็น บุรุษสรรพนามบุรุษที่ ๑ อลิงค์ เอกพจน์ กรรมการก ของกริยา “เห็น”
เธอ ,, บุรุษสรรพนามบุรุษที่ ๒ อลิงค์ เอกพจน์ กรรตุการก ของกริยา “เห็น”
เขา ,, บุรุษสรรพนามบุรุษที่ ๓ อลิงค์ เอกพจน์ วิเศษณการก ประกอบนาม “บ้าน” บอกลักษณะเป็นเจ้าของ


๒. คน ที่ พูดอยู่นั้น มีหนังสือซึ่งท่านต้องการ
ที่ เป็น ประพันธสรรพนาม บุรุษที่ ๓ อลิงค์ เอกพจน์ เป็นวิกัติการของนาม
“คน” และ เป็นกรรตุการกของกริยา “พูด” ใช้แทนนาม “คน”
ซึ่ง , ประพันธสรรพนาม บุรุษที่ ๓ นปุงสกลิงค์ อพจน์ เป็นวิกัติการกของ
นาม “หนังสือ” และเป็นกรรมการก ของกริยา “ต้องการ”
ท่าน , บุรุษสรรพนาม บุรุษที่ ๒ อลิงค์ เอกพจน์ กรรตุการกของกริยา”ต้องการ”


๓. นักเรียนทั้งหลาย ต่าง ท่องบทเรียนของตน
ต่าง เป็น วิภาคสรรพนาม บุรุษที่ ๓ อลิงค์ พหูพจน์ วิกัติการก ของ “นักเรียน”


๔. นักเรียนทั้งหลายทำหน้าที่ต่างๆ กัน บ้าง ก็ทำการฝีมือ บ้าง ก็เขียนหนังสือ บ้างก็ท่องสูตรเลข
กัน เป็น วิภาคสรรพนามบุรุษที่ ๓ อลิงค์ พหูพจน์ วิเศษณการก ประกอบคำ “ต่าง
บ้าง ,, วิภาคสรรพนามบุรุษที่ ๓ อลิงค์ พหูพจน์ กรรตุการกของกริยา “ทำ” ใช้
แทนนาม “นักเรียน”
บ้าง ,, วิภาคสรรพนามบุรุษที่ ๓ อลิงค์ พหูพจน์ กรรตุการกของกริยา “เขียน”
ใช้แทนนาม “นักเรียน”
บ้าง ,, วิภาคสรรพนามบุรุษที่ ๓ อลิงค์ พหูพจน์ กรรตุการกของกริยา “ท่อง”
ใช้แทนนาม “นักเรียน”

ข้อยกเว้น
ประพันธสรรพนาม ทำหน้าที่ 3 ประกร คือ
1. แทนนาม หรือ สรรพนาม และขยายคำดังกล่าวข้างหน้า
2. ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหลักและประโยคย่อยของประโยครวม
3. ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของประโยคย่อย
วิภาคสรรพนาม ทำหน้าที่ดังนี้
ต่าง , บ้าง ทำหน้าที่ใช้แทนและขยายนามและสรรพนามข้างหน้า
กัน ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือรวมกับบุพบทขยายคำข้างหน้า