มูลเหตุ การปริวาสกรรม เรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญเข้ากรรม
ฮีตที่ ๑ บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง

        ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นกรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะเหตมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึงเรียกว่า บุญเดือนเจียง             
      " นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแกนและผีต่างๆ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง  เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน  อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว"
       บุญเข้ากรรมเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ
บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย ( เดือนเจียง ) จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือ พิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ( อาบัติ หนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม ( อยู่ไฟหลังคลอด ) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว

"ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน
อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว"

หนึ่งในฮีต 12 คือ บุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ความสำคัญอีกงานหนึ่ง เพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรมเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตาม คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน จะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์ ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

        โดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า
ผู้คนมีความเชื่อกันว่า
หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรม ของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปราชิก ทำพิธีวุฏฐานพิธีซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัต อันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัว หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษา หรือตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่าการคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมาณ

            มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ในสมัยพุทธกาล ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรม มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อย การทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อย เป็นอาบัติอย่างเบา จึงไม่แสดงอาบัติ แต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานาน แต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟัง เมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณะภาพลง บาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วย

จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้น เป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมาและยอมรับในการทำผิดนั้น มิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมา แต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในปัจจุบัน ชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา