ครงงาน

แบบรายงานประกอบผลงา

-แบบฟอร์มส่งผลงาน


1. ชื่อผลงาน
“ปัสสาวะมดเปลี่ยนสีธรรมชาติ, ทำเป็นน้ำส้มสายชู,แทนมะนาว”
2. ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4
3. วัตถุประสงค์ของหัวข้อที่ศึกษา
1. เพื่อเรียนรู้ในเรื่องของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ “มด”
2. เพื่อให้เข้าและเรียนรู้ในเรื่องของที่ต้องการศึกษาและสงสัย
3. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ของสัตว์เล็กๆ
4. กรดที่อยู่ในร่างกายมด มีความสามารถเปลี่ยนสีของดอกไม้ธรรมชาติได้
5. สามารถนำความรู้ต่างๆเข้าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. บทคัดย่อ
มดเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่มีสิ่งให้มนุษย์ได้เรียนรู้ศึกษามากมาย ไม่แพ้สัตว์ใหญ่ชนิดอื่นๆ เลย ซึ่งผู้จัดทำจึงอยากศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแมลงชนิดนี้ โดยทางผู้จัดทำมีความสนใจในเรื่องของกรดฟอร์มิก จะสามารถเปลี่ยนสีธรรมชาติของดอกไม้ได้จริงหรือไม่นั้นทางคณะผู้จัดทำจึงอยากศึกษาเรื่องดังกล่าว ซึ่งเมื่อศึกษาปฏิบัติและทดลองกรดดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่าสามารถเปลี่ยนดอกไม้ได้เพียงบางชนิดเท่านั้น โดยทางผู้จัดทำได้ทำรายการเปรียบเทียบดอกไม้ชนิดต่างๆ ทำให้พวกเราได้รู้และทราบว่ากรดดังกล่าวสามารถเปลี่ยนสีธรรมชาติได้ หากมีการวิจัยลึกซึ้งมากกว่านี้ คาดว่ากรดดังกล่าวจะสามารถนำไปพัฒนาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้ อาทิ นำส้มสายชู ย้อมผ้า ทนกระดาษลิตมัส ซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และทางคณะผู้จัดทำไคร่จะศึกษาเรื่องดังกล่าวให้ลึกซึ้งและนำประโยชน์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีววิตประจำวันของมนุษย์

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน และการแบ่งความรับผิดชอบของกลุ่มผู้พัฒนา

วันที่ปฏิบัติ ขั้นตอนปฏิบัติ ภาพประกอบการทำ ผู้รับผิดชอบ
ขั้นการเตรียมแผนการปฏิบัติโครงงาน

25 พ.ย. 2546 ปรึกษาเกี่ยวกับการทำโครงงาน สมาชิกกลุ่ม

30 พ.ย. 2546 ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับมด สมาชิกกลุ่ม

ขั้นการปฏิบัติงาน

20 ธันวาคม พ.ศ.2546

1.เตรียมดอกอัญชัน นางสาวมานัสวี ภูขามคม

2.ไปที่รังมดในเวลาสาย และนำตัวมดมาสาธิตในการทดสอบ นางสาวฐาลินี สังฆจันทร์

3. นำปัสสาวะมดหยดที่ดอกอัญชัน นางสาวศรัญญา เรืองวิชา

4. ดอกอัญชนจะทำปฏิกิริยากับปัสสาวะมด ดอกอัญชันเปลี่ยนสีกลายเป็นสีชมพูระเรื่อ สมาชิกทุกคน

5. เมื่อได้ผลแล้ว ทางคณะผู้จัดทำได้นำดอกไม้ชนิดต่างๆ มาเปรียบเทียบ เพื่อนำมาสรุปหาข้อเท็จจริงต่างๆ พร้อมบันทึกการทดลอง นางสาวคุณากร สายลวดคำ

ขั้นการจัดทำแผนงานลงบนอินเตอร์เน็ต
จัดทำรูปแบบและเตรียมส่งผลงานทางอินเตอร์เน็ต นางสาวปัณรวี เธียรเชาวน์และนางสาวสิรินธร เกตุเพชร

6. สารสนเทศของผลงานเสริมสร้างการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ
- วิทยาศาสตร์ นำความรู้เกี่ยวกับโครงงานที่กลุ่มศึกษามาประยุกต์ให้ผสมผสานสอดคล้องกับทางด้านวิทยาศาสตร์
- ภาษาไทย ใช้ในการทำสื่อเพื่อการสื่อสารลงในสื่ออินเตอร์เน็ต
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้มีการประสานงานกับหน่วยงาน ภาควิชา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อเก็บรายละเอียดในการทำงาน การทดลองต่างๆ
- ศิลปะ ใช้ในการตกแต่งลงบนเว็บ เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ

7. รายละเอียดของการพัฒนา
เครื่องมือและเทคโนโลยีที่คาดว่าจะได้ใช้
HTML Editor GifAnimation Window Media Maker กล้องวีดิทัศน์
มัลติมีเดียที่คาดว่าจะพัฒนา
วีดิทัศน์แสดงภาพการเคลื่อนไหวของมด
ภาพถ่าย/วีดิทัศน์ ของพฤติกรรมที่น่าทึ่งของมด เช่น การขนอาหาร การดำรงชีวิต
ภาพลำดับขั้นตอนการทดลองการเปลี่ยนสีของดอกไม้
โครงสร้างของเนื้อหา

8. บรรณานุกรม

• กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พานิชย์.2541.แมลง:การศึกษาทางมนุษยวิทยาโภชนาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป
• องุ่น ลิ่ววานิช.2531.แมลงกินได้.กสิกร 61(6):545-551.
•องุ่น ลิ่ววานิช.2534.พิพิธภัณฑ์แมลงของกรมวิชาการเกษตร.กสิกร 64(3):309-311.
•องุ่น ลิ่ววานิช.2540.การอนุรักษ์แมลงในประเทศไทย.ว.กีฏ.สัตว. 19(2):95-99.

9. ปัญหาที่พบการพัฒนาผลงาน และแนวทางการแก้ไข
ปัญหาที่พบในการพัฒนาผลงาน แนวทางการแก้ไข
ครั้งแรกค้นหาข้อมูลไม่ได้มากนัก เพราะมดเป็นสัตว์ที่เล็ก ไม่เป็นที่นิยมในการศึกษา - ทางคณะทีมงานไปติดต่อประสานงานกับทางคณะกีฏวิทยา เพื่อหาแหล่งความรู้ มาประยุกต์ทำโครงงาน ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้เป็นอย่างดี- ค้นหาแหล่งความรู้จากห้องสมุดประชาชน (สำนักวิทยบริการ)- ค้นหาแหล่งความรู้จากสื่อพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ซีดีสารคดี หนังสือเกี่ยวกับแมลงต่างๆ (โลกของสัตว์และพืช)
การทำงานของคณะงาน ยังล้าช้า ไม่มีจุดหมาย - มีการวางแผนการทำงาน - มีขั้นตอนการดำเนินงาน และแบ่งความรับผิดชอบของกลุ่มผู้พัฒนา
อุปกรณ์ในการทดลองหรือเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ เรานำเงินสนับสนุนการทำโครงงานครั้งนี้ ไปซื้ออุปกรณ์ในการทำโครงงานการทดลอง เพื่อสิ่งที่ต้องการค้นหาของคณะทำงาน